BLOGS

การเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า ธุรกิจจะไปถึงจุดนี้อย่างไร?

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ควันจากท่อไอเสียของรถใช้น้ำมัน เป็นหนึ่งในต้นกำเนิดหลักของมลพิษทางอากาศ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฝุ่น PM ที่หลีกเลี่ยงได้ยากมาก และเป็นปัญหาหลักที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่

ซึ่งในบรรดาการรณรงค์และระดมความคิดหาหนทางการแก้ปัญหา “การเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า” คือไอเดียหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นวิธีที่บุคคลทั่วไปและองค์กรสามารถทำได้ และมีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำกว่ารถใช้งานปกติ 

ดูๆ ไปแล้ววิธีนี้จึงเป็นวิธีที่มีเส้นทางสดใสรออยู่ข้างหน้า และมีแต่ด้านดีที่เชื้อเชิญให้ลงมือปฏิบัติจริง หากแต่ว่า ก้าวแรกของวิธีนี้จะต้องทำอย่างไร 

เพราะสำหรับคนทั่วไปคงไม่ยาก แต่สำหรับบริษัทธุรกิจห้างร้านที่มีรถจำนวนมากกว่าจะต้องทำอย่างไร และที่จริงแล้วธุรกิจของเราเหมาะสมที่จะใช้รถไฟฟ้ามั้ย ค้นหาคำตอบในบทความคาร์แทรคตอนนี้กัน

รถไฟฟ้า คือ อะไร

รถไฟฟ้า หรือ รถพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle or EV) คือ ยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์ออกแบบมาโดยใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในการขับเคลื่อนยานพาหนะไปข้างหน้า

พลังงานไฟฟ้าของรถไฟฟ้าจะบรรจุอยู่ในแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟซ้ำได้ โดยรถไฟฟ้าที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันจะแบ่งเป็นสองอย่างคือ

  • รถไฟฟ้าแบบ BEV (Battery Electric Vehicles) คือ รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว
  • รถไฟฟ้าแบบ PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicles) คือ รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันเชื้อเพลิงก็ได้ แล้วแต่จะสลับแหล่งพลังงานไปใช้

รถไฟฟ้า คือ อะไร

การเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า

การเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล คือ การเปลี่ยนรถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แบบมีแผนการรองรับ โดยประโยชน์ของการเปลี่ยนแบบนี้คือ

1. ลดการปล่อยก๊าซพิษ ดีต่อสิ่งแวดล้อม

ตามตั้งแต่แรกที่บอกว่า สาเหตุหลักที่คนหันมาใช้รถไฟฟ้าเป็นเพราะเพื่อลดมลภาวะทางอากาศ ซึ่งรถไฟฟ้าจะไม่ปล่อยควันพิษจากรถเลย ซึ่งดีกับสิ่งแวดล้อม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีแผนการใช้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจในอนาคต

2. ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานทดแทน

การใช้รถไฟฟ้า คือ การใช้พลังงานทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ ซึ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการส่งเสริมนโยบายนี้ การเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า นับว่าเป็นก้าวแรกที่ตอบโจทย์ทั้งการทำงานและเชิงนโยบาย ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม เป็นต้น

3. ลดค่าเชื้อเพลิงยานพาหนะ

โดยเฉลี่ย ค่าเชื้อเพลิงยานพาหนะและเครื่องจักรคิดเป็น 40% ของต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นอัตราส่วนที่สูง ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ค่าน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่นับวันมีแนวโน้มหายากมากขึ้นเรื่อยๆ

ทว่า การลดการใช้น้ำมันด้วยการลดใช้ยานพาหนะหรือเครื่องจักร ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ธุรกิจเลือกทำ เพราะนั่นหมายถึงการลดลงของผลผลิตและรายได้ไปด้วย การใช้รถพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นทางเลือกทางรอดที่ดีกว่า และลดค่าใช้จ่ายได้จริงและอย่างยั่งยืน

4. ลดค่าซ่อมบำรุง

ระยะแรกของการเข้าสู่ตลาดของรถพลังงานไฟฟ้า หนึ่งในความกังวลของผู้ใช้งานคือ ค่าซ่อมบำรุงรถที่สูง เวลาที่นำรถเข้าศูนย์แต่ละครั้ง 

แต่จากรายงานผู้บริโภคปี 2020 จากเว็บไซต์แนะนำผู้บริโภคแบบไม่แสดงหาผลกำไร Consumer Report เผยว่า ผู้ใช้รถไฟฟ้าหรือ EV ประหยัดเงินค่าบำรุงรักษารถได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับรถใช้น้ำมันทั่วไป เนื่องจากรถ EV มีความจำเป็นที่ต้องเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงน้อยกว่า 

เป็นต้นว่า รถไฟฟ้ามีของเหลวที่ต้องได้รับการเติมอยู่ 3 จุด คือ น้ำหล่อเย็น น้ำเช็ดกระจก และน้ำยาเบรก เมื่อเทียบกับรถใช้น้ำมันที่มีเรื่องของน้ำมันหล่อลื่น หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่างๆ ซึ่งนั่นหมายถึงจำนวนครั้งของรถใช้น้ำมันที่ต้องเข้าศูนย์บำรุงรักษาที่มากกว่าด้วย

เหตุผลหรืออุปสรรค ที่รถไฟฟ้าไม่ได้รับความนิยม?

1. ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น

ไม่ว่าจะเป็น ค่าซื้อรถหรือค่าติดตั้งแท่นชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเหล่านี้มีตัวเลขสูงที่ทำให้ผู้ใช้รถหลายคนรู้สึกว่ารถไฟฟ้า “แพง” แต่เมื่อคำนวณในระยะยาวแล้ว ค่าใช้จ่ายของรถไฟฟ้าน้อยกว่าค่าใช้จ่ายของรถใช้น้ำมัน

2. จำนวนจุดชาร์จไฟ

หลายคนกังวลเรื่องของจุดชาร์จไฟที่มีน้อย ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาครัฐและเอกชนกำลังเพิ่มจำนวนและอัปเกรดความสะดวกสบายให้มากขึ้น เช่น แอปฯ จองจุดชาร์จ จุดนั่งรอ เนื่องจากรถไฟฟ้าต้องใช้เวลาชาร์จไฟที่นานกว่ารถเติมน้ำมัน ซึ่งทั้งเรื่องของจำนวนจุดและความสะดวกสบายกำลังมีแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดี

3. กลัวแบตรถหมดกลางทาง

ผลการศึกษาจากบริษัท KIA Motors ชี้ว่า 80% ของธุรกิจหรือผู้จัดการยานพาหนะ เลือกไม่ใช้รถไฟฟ้า เพราะกลัวว่ารถจะแบตหมดกลางทาง 

ซึ่งในปัจจุบัน หลายๆ แบรนด์รถ ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าสามารถบรรทุกและเดินทางถึงที่หมายระยะไกลได้จริง 

ตัวอย่างเช่น Volvo ที่รถบรรทุกรุ่น FH สามารถบรรทุกรวมลากน้ำหนักรถได้ถึง 44 ตัน พร้อมความจุไฟฟ้าเดินทางได้ไกลถึง 300 กม. ต่อเที่ยวเดินทางหนึ่งครั้ง ในขณะที่รถใช้น้ำมันทั่วไปที่บรรทุกรวมลากน้ำหนักรถ 44 ตัน เดินทางได้ 1,000 กม. แต่ต้องแวะเติมน้ำมันเป็นระยะๆ เช่นกัน 

ข้อเท็จจริงนี้สะท้อนให้เห็นว่า รถทั้งสองแบบมีกำลังการวิ่งและบรรทุก รวมถึงระดับพลังงานที่จำเป็นต้องใช้แทบไม่ต่างกันเลย

4. ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

แบตเตอรี่รถไฟฟ้าเสื่อมลงตามระยะเวลาที่ใช้งาน หรือความสามารถในการจุไฟฟ้าลดลง ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถเมื่อรถวิ่งไปได้ระยะหนึ่งแล้ว 

ซึ่งปัจจุบัน ราคาแบตเตอรี่จะอยู่ที่ราว 30-57% ของราคารถทั้งคัน แต่ก็คาดการณ์ว่า ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ราคาแบตเตอรี่ลดลงได้ในที่สุด

เหตุผลหรืออุปสรรค ที่รถไฟฟ้าไม่ได้รับความนิยม

ระบบจัดการรถไฟฟ้า: ตัวช่วยการเปลี่ยนผ่านรถน้ำมันสู่รถไฟฟ้า..ที่ง่ายขึ้น

การติดตามการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้า อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ใช้รถใช้น้ำมันมาเป็นเวลานาน บางรายเป็นหลายสิบปี การใช้ “ระบบจัดการรถไฟฟ้า” เป็นเครื่องมือติดตามรถไฟฟ้าที่ใช้งาน จึงเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจและต่อยอดจัดการรถหลายๆ คันได้แบบไร้รอยต่อไม่สะดุด

ระบบจัดการรถไฟฟ้า ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง?

ระบบจัดการรถไฟฟ้า คือ ระบบบริหารจัดการยานพาหนะที่มีระบบเทเลเมติกส์เป็นองค์ประกอบสำคัญ 

โดยระบบเทเลเมติกส์นี้จะบันทึกข้อมูลที่ได้จากการติดตามรถ เช่น ความเร็ว การเบรก การจอดแช่ ระดับพลังงานที่ใช้ ฯลฯ และประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลแบบรายงานสรุปที่ทีมงานหรือบริษัทสามารถนำไปใช้ต่อยอด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถ การทำงานของคนขับ การใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ให้ดียิ่งขึ้นและดีที่สุดเท่าที่การทำงานจะมอบให้ได้

สำหรับระบบจัดการรถไฟฟ้า จะครอบคลุม:

  1. ติดตามประสิทธิภาพแบตเตอรี่
  2. ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่า เพราะระบบจะบันทึกและแสดงรูปแบบการใช้พลังงานอย่างชัดเจน ช่วยวางแผนเส้นทางการขับขี่ และกำหนดช่วงเวลาบำรุงรักษารถได้ ทั้งหมดนำไปสู่การควบคุมต้นทุนได้อย่างชัดเจน

ระบบจัดการรถไฟฟ้า ที่ทันสมัยและตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการใช้รถไฟฟ้า

ระบบบริหารจัดการรถพลังงานไฟฟ้า Cartrack เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพการติดตามและจัดการการใช้รถสูง และครอบคลุมการใช้รถรอบด้าน ที่สำคัญคือสามารถแก้ปัญหาสำคัญของการใช้รถไฟฟ้า อย่างเช่น

1. ลดความกังวลเรื่องแบตฯ หมดกลางทาง

ตามเนื้อหาก่อนหน้านี้ที่ “กลัวแบตหมดกลางทาง” เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั่วไปหรือธุรกิจไม่ใช้รถไฟฟ้า ระบบจัดการรถไฟฟ้า สามารถช่วยวางแผนเส้นทางการขับขี่ ที่เห็นภาพเส้นทางที่จะเกิดขึ้นและวางแผนเส้นทางการขับขี่ที่เหมาะสมกับพลังงานแบตเตอรี่

นอกจากนี้ระบบจัดการรถไฟฟ้า ยังรวบรวมจุดชาร์จไฟฟ้าในแผนที่ภายในระบบจัดการรถไฟฟ้า ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ว่า สามารถชาร์จไฟรถได้ที่จุดใดบ้าง และบันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไว้ในระบบอัตโนมัติด้วย

2. จัดรถเข้าศูนย์ดูแลซ่อมบำรุงได้ง่าย

ระบบจัดการรถไฟฟ้า จะติดตามการใช้รถแต่ละคันอย่างละเอียด ทำให้สามารถแจ้งเตือนการส่งรถเข้าศูนย์ได้อย่างเหมาะสม และชี้ได้ว่า ส่วนใดที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

เมื่ออนาคตคือพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนน้ำมันที่กำลังจะหมดไป มาเปลี่ยนตัวเองก่อนที่โลกจะเปลี่ยนคุณ สอบถามข้อมูลระบบจัดการรถไฟฟ้า พร้อมดูระบบใช้งานจริงก่อนได้ที่โทร 02-136-2920 และ 02-136-2921 หรือคลิกแอดไลน์ที่นี่พร้อมแจ้งความต้องการของคุณ เพื่อให้เจ้าหน้าที่คาร์แทรคติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

ดูๆ ไปแล้ววิธีนี้จึงเป็นวิธีที่มีเส้นทางสดใสรออยู่ข้างหน้า และมีแต่ด้านดีที่เชื้อเชิญให้ลงมือปฏิบัติจริง หากแต่ว่า ก้าวแรกของวิธีนี้จะต้องทำอย่างไร