หากพูดถึงงานก่อสร้าง นอกจากโครงการหรืออาคารที่จะต้องสร้างแล้ว คนก็มักจะนึกถึงรถหรือยานพาหนะ รวมไปถึงเครื่องจักรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างด้วย
บทความนี้คาร์แทรค (CARTRACK) จะมาเล่าถึงประเภทของรถก่อสร้างว่ามีอะไรบ้าง แต่ละแบบมีชื่อเรียกว่าอะไร ใช้งานอย่างไร รวมถึงคำถามสำคัญว่ารถก่อสร้างที่มีอยู่หลากหลายนั้น แบบไหนสามารถติด GPS ติดรถ ได้บ้าง
รถก่อสร้างที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างมีมากถึง 13 รูปแบบ โดยมีชื่อเรียกและวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกันออกไป ดังนี้
รถเครน หรือ รถปั้นจั่น เป็นรถก่อสร้างสำหรับยกของหนักขึ้นระดับสูง เพื่อย้ายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตัวสลิงหรืออุปกรณ์ยกติดอยู่กับตัวยานพาหนะ
เครน มีทั้งแบบเป็นรถเครน และ เครนอยู่กับที่ โดยเครนอยู่กับที่คือ เครนที่มีเฉพาะเครื่องจักรกล ไม่มีล้อหรือไม่ใช่รถ ซึ่งมักไม่สะดวกในการเคลื่อนที่เข้าหรือออกพื้นที่ก่อสร้าง
รถเครน ยังแบ่งย่อยออกเป็นชนิดต่าง ๆ ที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น เครนตีนตะขาบ, เครน 4 ล้อ, เครนใหญ่, เครนสำหรับยกของหนัก, เครนยกพื้น, เครนลอยน้ำ, เครนสะพาน และ รถบรรทุกติดเครน
ส่วนมากนิยมนำเครนไปใช้ในงานยกสิ่งของหนักต่าง ๆ และงานตอกเสาเข็ม เป็นต้น การเลือกใช้เครนแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับพื้นที่งานก่อสร้าง
ต่อมาคือ รถขุด หรือเรียกกันอีกชื่อว่า รถแบคโฮ มาจากคำทับศัพท์ที่เรียกว่า Backhoe Loader หมายถึงรถที่ด้านหลังมีแขนกลที่ใช้สำหรับขุด
การใช้งานของรถแบคโฮมีค่อนข้างหลากหลาย เช่น ขุดล้อมต้นไม้ใหญ่ไปปลูกในที่ใหม่ ตักหินใหญ่เล็ก หรือตักย้ายขยะปฏิกูล หรือเกลี่ยพื้นที่เพื่อการชลประทานก็ได้เช่นกัน
รถแบคโฮ มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 5 ส่วนหลัก ๆ คือ
รถตักหรือรถขุดดิน เป็นอีกหนึ่งรูปแบบรถก่อสร้างยอดนิยม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้งานมากที่สุดในงานก่อสร้าง โดยรถตักจะมีส่วนที่เป็นปุ้งกี๋ตักติดอยู่กับตัวรถ ควบคุมการทำงานด้วยระบบไฮโดรลิก
วิธีใช้งาน คือ ใช้ขุดตักดินหรือวัสดุต่าง ๆ งานทำลายเกลี่ยสถานที่เพื่องานก่อสร้างใหม่ งานในพื้นที่ป่าไม้ งานทำเหมือง งานเคลื่อนย้ายกองวัสดุ ไปจนถึงงานขุดลอกคลองขนาดเล็ก
รถโฟล์คลิฟต์ เป็นรถยกอเนกประสงค์ที่ใช้ในงานยกของเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ เหมาะกับของที่หนักเกินกว่ากำลังคนจะยกไหว ซึ่งรถโฟล์คลิฟต์ก็เป็นรุ่นที่ธุรกิจนิยมติดตั้ง GPS ไว้ที่ตัวรถเช่นกัน
รถผสมปูน หรือ รถโม่ปูน คือมีหน้าที่เทปูน หรือผสมปูน โดยจะมีอุปกรณ์ผสมปูนและเทปูนอยู่บริเวณกลาง-ท้ายตัวรถ
หลักการทำงานอุปกรณ์ผสมปูน คือเกลียว ‘อาร์คิมิดีส’ ที่จะหมุนและผสมเนื้อปูนอยู่ด้านใน และสามารถเทปูนที่ผสมเสร็จแล้วออกมาเพื่อใช้งาน โดยอาจมีการติดตั้งเซนเซอร์การหมุนถังเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าถังปูนมีการทำงานตามปกติ ป้องกันการเสียหายของซีเมนต์ที่อยู่ภายใน
รถปูยาง หรือ รถปูยางมะตอย เป็นรถก่อสร้างที่มีหน้าที่ลาดยางมะตอย หรือเคลือบยางมะตอยถนน ทางเท้า และพื้นที่ ที่ต้องการให้พื้นผิวเรียบเสมอกัน
รถบด หรือ รถบดถนน คือรถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้งขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อขนาดใหญ่ 2 ล้ออยู่ข้างหลังสำหรับเคลื่อนที่
รถแทรกเตอร์ เป็นรถที่ใช้ในงานก่อสร้างที่ถูกออกแบบมาเพื่องานที่ใช้แรงฉุดลากโดยเฉพาะ โดยจะใช้ความเร็วต่ำในการทำงาน
คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า รถแทรกเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางการเกษตรอย่างหนึ่ง เพราะมักถูกนำไปใช้ในการเกษตร แต่อันที่จริง รถแทรกเตอร์ เป็นรถก่อสร้างประเภทหนึ่ง ที่ใช้ในงานเหมืองหรือการก่อสร้างก็ได้ด้วยเช่นกัน
รถแทรกเตอร์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ และ รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ
บางครั้งก็เรียก รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ รถดันดินหรือรถเกลี่ยดินมีหน้าที่ตามชื่อรถคือ ขุดหรือกดหน้าดินหรือพื้นที่ เครื่องมือด้านหน้าสามารถดันหรือขุดพื้นผิวหรือขยะออก และยกพื้นผิวที่ตักนั้นออกจากพื้นที่ได้
รถประเภทนี้มักถูกใช้ในงานก่อสร้าง ถางป่า หรืองานทางทหารก็ได้เช่นกัน
ประโยชน์ของรถขุดร่องลึก คือ ขุดดินหรือพื้นที่เพื่อสร้างทางระบายน้ำ ทางวางท่อ หรือการทำอุโมงค์หลบภัยสำหรับการสู้รบก็ได้
รถขุดร่องลึกหรือขุดร่องดิน มีหลายขนาดให้เลือกใช้เข้ากับระดับเนื้องานและบางครั้งอาจเรียกว่า เครื่องขุดร่องดิน แทนการใช้คำว่ารถ แต่วิธีการทำงานเป็นลักษณะเดียวกัน
ลักษณะของรถประเภทนี้ คือ รถเคลื่อนที่ที่มีลิฟต์บรรทุกของติดตั้งอยู่ อาจจะมีลักษณะเหมือนเครนที่มีพื้นที่บรรทุกของอยู่ปลายเครน หรือรถที่มีขาฐานบรรทุกที่ยืดหดเพื่อขึ้นหรือลงก็ได้
เหตุที่รถกระเช้ามีชื่อภาษาอังกฤษว่า Boom lift ก็ด้วยเพราะลักษณะของรถกระเช้าที่มีขาฐานบรรทุกยืดหดเหมือนกรรไกรนั่นเอง
รถลากไม้ หรือ สกิดเดอร์ ใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับไม้หรือต้นไม้โดยเฉพาะ เช่น ตัดไม้และย้ายออกจากพื้นที่ตัด เพื่อขนส่งต่อไป
รถกัดถนน ใช้ไถพื้นถนนเพื่อนำฟุตบาททางเดินออก หรือเอาคอนกรีตออกจากทางถนน
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือ รถที่ใช้ในงานก่อสร้าง ที่เราควรรู้จักและมักพบเห็นในงานก่อสร้างอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งนอกจากนี้ยังมียานพาหนะเครื่องจักรกล หรือ รถก่อสร้าง อีกหลายชนิด หลายประเภท ตามจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ทำงานก่อสร้างหรือแม้แต่งานขนส่ง เพื่อสามารถเลือกนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไป
เมื่อพูดถึง GPS ติดตามรถ หลายคนอาจเข้าใจว่ากล่อง GPS นี้สามารถติดตั้งได้กับยานพาหนะที่มีคนขับตลอดเวลาเท่านั้น เช่น ใช้ติดตั้งเป็น GPS รถยนต์ GPS ติดรถบรรทุก GPS รถสิบล้อ ซึ่งถูกต้องเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เพราะจริง ๆ แล้ว GPS ติดรถ สามารถติดรถที่ใช้ในการก่อสร้างได้ทุกรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึงเครื่องจักร เพื่อใช้ติดตามตำแหน่งว่าเครื่องจักรหรือยานพาหนะดังกล่าว มีการใช้งานหรือไม่ หรือถูกเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ทำงานหรือไม่
รวมถึงยังสามารถติดระบบจีพีเอสให้ทำงานร่วมกับการติดกล้องหน้ารถได้ด้วย โดยกล้องติดรถจาก CARTRACK เป็นกล้อง AI อัจฉริยะ เก็บภาพและรายงานผลได้แบบเรียลไทม์ ให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสในการติดตามความเคลื่อนไหวในการใช้ยานพาหนะและเครื่องจักร
หากต้องการระบบติดตามและจัดการรถก่อสร้าง ยานพาหนะ เครื่องยนต์ และเครื่องจักร GPS รถบรรทุก CARTRACK ให้บริการระบบจัดการยานพาหนะ Fleet Management พร้อมทีมงานดูแลลูกค้าตลอด 24 ชม. ระบบ CARTRACK ช่วยให้ธุรกิจ
ลงทุนสร้างระบบจัดการที่มีมาตรฐานกับธุรกิจของคุณตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะเห็นได้ถึงผลลัพธ์ตอบแทนหรือกำไรธุรกิจที่มากขึ้น ชัดเจนตั้งแต่เดือนแรกที่ติดตั้ง!
ติดต่อรับข้อมูลระบบพร้อมโปรโมชันจำนวนจำกัดกับเจ้าหน้าที่ Cartrack ที่หมายเลข 02-136-2920 , 02-136-2921 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 17.30 น. หรือกรอกข้อมูลที่ฟอร์มด้านบน หรือคลิกทดลองใช้ฟรี
โปรโมชันสำหรับลูกค้าคนพิเศษของเรา รับทันที! โปรโมชันติดตั้ง GPS ติดรถ จ่าย 10 เดือน ใช้ต่อเนื่อง12 เดือน* (* เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ติดตาม Cartrack (คาร์แทรค) เพิ่มเติมได้ที่
Facebook: Cartrack Thailand
Instagram: @cartrack.thailand
LINE: https://page.line.me/udi4517q?openQrModal=true หรือเข้าแอปฯ LINE เลือกเพิ่มเพื่อน เลือกค้นหา พิมพ์ @udi4517q ที่ ID และแอดเพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ทันที
รถก่อสร้าง หรือรถที่ใช้ในงานก่อสร้าง ธุรกิจก่อสร้าง มีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบเรียกว่าอะไร รถก่อสร้างแบบไหนที่ติด GPS ติดรถ หรือ GPS ติดรถบรรทุกได้บ้าง