BLOGS

4G LTE คืออะไร เร็วต่างกันยังไง??

สนใจใช้งาน GPS ติดรถ Cartrack วันนี้ ปรึกษาฟรี!

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

4G LTE คือสัญญาณโทรศัพท์ตัวเดียวกันหรือเปล่า? เรามาดูกันว่ากูรูทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้เฉลยว่า 4G LTE คือ อะไรกันแน่?

โลกยุคการสื่อสารในปัจจุบัน จะหันไปทางไหนใคร ๆ ก็ต้องใช้มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารทางเทคโนโลยีอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น สำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์ การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ส่งข้อมูลทางอีเมล แชตคุย หรือการเก็บข้อมูลบน “เมฆ” หรือ “Cloud” ซึ่งล้วนจำเป็นต้องอาศัยความรวดเร็วฉับไวจากระบบที่รองรับขั้นเทพ แม้แต่ระบบที่ใช้กับยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก หรือรถจักรยานยนต์ อย่าง GPS ติดตาม ก็ได้รับความนิยมในการใช้งานเพิ่มขึ้นเช่นกัน

แม้ว่าหลายคนได้ยินคำว่าสัญญาณไวด้วยระบบ 4G หรือ ระบบ LTE กันมาบ้างจากสื่อโฆษณาต่าง ๆ แต่ก็อาจยังไม่ทราบว่าที่จริงแล้วคำทั้งสองนี้ มีความหมายสื่อถึงอะไร ทั้งยังมีหลายคนที่ข้องใจอยู่ว่า 4G LTE คือ สัญญาณโทรศัพท์ตัวเดียวกันหรือเปล่า? คาร์แทรคชวนมาดูกันว่ากูรูทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้เฉลยว่า 4G LTE คือ อะไรกันแน่?

ความเร็วที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4G LTE คือ เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ ที่เกิดจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี IT ที่นับได้ว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อเทียบกับเมื่อประมาณ 15 – 20 ปีที่แล้ว ซึ่งนับว่าขณะนั้นเป็นยุคการสื่อสารแบบ “ตำนาน” คือระบบ 1G หรือ ระบบ GPRS ที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า General Packet Radio Service ซึ่งมีความเร็วสูงสุด หรือ Max Speed ที่ 53.6 kbits ต่อวินาที ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ระยะ 2G หรือ เทคโนโลยี EDGE หรือ Enhanced Data Rated for GSM Evolution

ที่มีการขยับความเร็วขึ้นเป็น 4 เท่าของ 1G คือ มาเป็นที่ความเร็วสูงสุด 217.6 kbits ต่อวินาที ต่อมาก็ก้าวเข้าสู่ระยะที่สาม หรือ 3G (the third generation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า UMTS หรือ Universal Mobile Telecommunications System ที่อัปเกรดความแรงขึ้นมาเป็น 384 kbits ต่อวินาที

4G และเทคโนโลยี High Speed Packet Access

จนกระทั่งก้าวเข้ามาสู่ยุค 4G ที่เราคุ้นหูกันในปัจจุบัน ซึ่งหากเราสังเกตที่มุมจอด้านบนของโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารในมุมล่าง จะเห็นเป็นรูปเครื่องหมายโค้ง ๆ รับสัญญาณ พร้อมกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น H หรือ H+ นั่นก็แปลว่ากำลังรับสัญญาณเทคโนโลยี 4G อยู่นั่นเอง

ทั้งนี้ ระบบ 4G ที่ปรากฏเป็น H หรือ H+ นั้น หากเป็นอีกชื่อหนึ่งที่เป็นภาษาเทคนิค ก็คือ ระบบเทคโนโลยี HSPA และ HSPA+ ตามลำดับ โดยย่อมาจากคำว่า High-Speed Packet Access ซึ่งปัจจุบันมีความเร็วในการส่งข้อมูล Download ข่าวสารได้ราว ๆ 42.2 Mbits ต่อวินาที ซึ่งเรียกได้ว่าสูงมาก และเพียงพอต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป

แล้ว LTE ล่ะ? คืออะไร?

สำหรับคนที่มีการเดินทางบ่อยข้ามประเทศ อาจสังเกตได้ว่าสัญญาณในไทย จะใช้คำที่ต่างจากต่างประเทศได้ เช่น ขึ้นว่า 4G ที่ไทย แต่ที่ต่างประเทศจะขึ้นว่า LTE แทน สาเหตุที่เป็นชั้นนั้น กูรูทาง Computer กล่าวว่าเป็นผลจากการตั้งชื่อ หรือ Setting ในระบบการสื่อสาร จึงไม่มีผลต่อการใช้งานเครื่องมือสื่อสารแต่อย่างใด

ดังนั้น สำหรับคนทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะคนไทยเราเกิดการจดจำจากการโฆษณาและได้ฟังตามสื่อต่าง ๆ จนติดปากชินหู ว่าระบบ 4G จึงเรียกได้ว่า 4G LTE คือ เทคโนโลยีตัวเดียวกัน ความเร็วในการใช้งานเครื่องมือสื่อสารทางเทคโนโลยีไม่มีความต่างกัน แต่หากให้ตอบตามหลักวิชาการเชิงลึกทางทฤษฎีแล้ว LTE จะเป็นเทคโนโลยีที่ “ล้ำเหนือกว่า” 4G ขึ้นไปเล็กน้อย โดย LTE ย่อมาจากคำว่า Long-Term Evolution ซึ่งแยกย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ เทคโนโลยี LTE-A และ เทคโนโลยี WiMAX

ความเร็ว และการรับส่งข้อมูลของ LTE

ซึ่งเทคโนโลยี LTE-A มีอีกชื่อว่า LTE-Advanced เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลที่ช่วง 100 – 1000 Mbps ต่อวินาที (ซึ่งสูงกว่า 4G แต่การใช้งานทั่วไป ใช้ความเร็วสูงสุดส่วนใหญ่ที่ 3G ก็เพียงพอแล้ว) โดยเครือข่ายโทรศัพท์ของไทยแบรนด์ AIS เป็นเจ้าแรกที่เปิดให้บริการด้วย การใช้คำว่า 4G Advanced นั่นเอง

ทั้งนี้ กูรูหลายท่านให้ทัศนะว่า 4G Advanced หรือ LTE-Advanced เทียบได้กับ 4.5G ยังไม่เข้าขั้นเป็น 5G ที่ต้องมีควรเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ไม่น้อยกว่า 450 Mbps ต่อวินาที ซึ่งหากเป็นคนที่ทำงานคลุกคลีในวงการทาง IT ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเป็นประจำของระบบ 5G หรือ 6G อย่างองค์การนาซ่า NASA (ระบบเทคโนโลยี 6G ต้องมีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลหรือ Data ไม่ต่ำกว่า 10 Gbps ต่อวินาที) ก็จะบอกได้ถึงความแตกต่างและความจำเป็นที่ต้องใช้คลื่นความแรงขนาดที่มากกว่า การฉายรังสี X-ray ถึง 3,500 เท่า!

เราจำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแค่ไหน?

จึงกล่าวได้ว่า แม้ว่า 4G LTE คือ เทคโนโลยีตัวเดียวกันในทางปฏิบัติ (ของคนทั่วไป) แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันร้อยเปอร์เซ็นต์ในทางทฤษฎี!!! แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไปว่าสำหรับคนวัยเรียน-วัยทำงานที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลส่งอาจารย์ หรือสืบค้นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ การแชต การดาวน์โหลดหนังภาพยนตร์ หรือแม้แต่เล่นหุ้นผ่านระบบ Streaming ก็ไม่จำเป็นต้องเน้นความเร็วที่สูงมากถึงขั้น 5G อย่างแน่นอน!!

อย่างไรก็ตาม มีความกังวลใจอยู่บ้าง สำหรับคนทั่วไปที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสื่อสารที่มีความเร็วสูง ๆ ว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่? ประเด็นนี้ มีการเคลียร์ข้อสงสัยด้วยการเปรียบเทียบความแรงของรังสีในระบบ 6G ที่องค์การนาซ่าใช้ ว่าจะปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นหมันอย่างถาวรได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยเทียบตัวเลขความแรงไว้ว่าสำหรับผู้ชายจะอยู่ที่ 3.5 – 6 Gy ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ 2.5 -6 Gy ซึ่งเทียบได้กับการฉายรังสีเอกซเรย์ ที่จะได้รับรังสีที่ 0.0007 Gy

ส่วนการใช้เครื่องมือสื่อสารทั่วไปในระบบที่ต่ำกว่า 6G ยังไม่พบข้อมูลเด่นชัดนัก ว่าทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหมันหรือป่วยด้วยตัวคลื่นรังสี แต่พบว่ามักเกิดปัญหาโรคทางกล้ามเนื้ออักเสบ ตาแห้ง และการได้รับความร้อน จากการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ยาวนานเกินไปนั่นเอง

รับข้อมูลไวไม่มีพลาดไปกับเทคโนโลยีระบบจัดการยานพาหนะ และ GPS ติดตาม จาก Cartrack

ไม่เพียงแต่โทรศัพท์มือถือเท่านั้นที่ใช้สัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการทำงาน แต่ระบบจัดการยานพาหนะ หรือ Fleet Management และระบบ GPS สำหรับติดตามตำแหน่งรถจาก Cartrack ก็ใช้เทคโนโลยีนี้เช่นกัน เพื่อความแม่นยำและรวดเร็วในการส่งข้อมูลยานพาหนะสำหรับคุณ

หากคุณสนใจรับคำแนะนำหรือขอคำปรึกษาฟรีกับเจ้าหน้าที่ Cartrack เกี่ยวกับการใช้งาน GPS ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด โทรติดต่อเข้ามาหาเราด้วยตนเองได้ที่ 021362920 หรือ 021362921 หรือกรอกแบบฟอร์มด้านบนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการของเราติดต่อหาคุณ ในช่วงเวลาทำการ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 17.30 น.

อย่าพลาดโอกาสในการทดลองใช้งานระบบ GPS ฟรี กับ คาร์แทรค (Cartrack) : ทดลองใช้ฟรี !

รู้จัก 4G LTE คืออะไร 4G และ LTE ต่างกันยังไง หรือว่าใช่สัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตตัวเดียวกันหรือเปล่า? ตัวไหนที่มีการนำมาใช้กับระบบ GPS ติดตาม