รับประกันว่า ถ้าเจ้าของรถและผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทำได้ตามนี้ จะสามารถป้องกันการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และควบคุมต้นทุนด้านขนส่งได้แน่นอน
รถบรรทุก คือ ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มากกว่ารถยนต์ทั่วไป ฐานของตัวรถบรรทุกจึงควรได้รับการดูแลรักษามากกว่ารถยนต์ปกติ โดยเฉพาะ “ยางรถบรรทุก”
เพราะยางรถบรรทุกต้องรองรับน้ำหนักทั้งตัวรถและสิ่งของอยู่บนตัวรถบรรทุกเป็นระยะเวลานาน ๆ พร้อมกับรองรับแรงเสียดทานจากพื้นผิวถนนในระหว่างการขับเคลื่อนตลอดเวลา
ยางรถบรรทุกจึงมักถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ทั้งขนาด ความหนาและลักษณะของดอกยาง
แต่หากต้องการให้สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าเป็นระยะเวลานาน ยางรถยนต์บรรทุกก็ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม มาติดตามวิธีที่ถูกต้องในการดูแลยางรถไปกับผู้นำด้านระบบติดตามยานพาหนะอย่างคาร์แทรค (Cartrack) กันเลย
ลมยาง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานยางของรถบรรทุกเป็นอย่างมาก และยังส่งผลต่อความปลอดภัยในระหว่างการขับเคลื่อนของรถบรรทุกได้โดยตรง
ระดับลมยางควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะหากลมยางน้อยเกินไป ยางของรถบรรทุกจะมีลักษณะบวมล่อนได้ง่าย
อายุการใช้ยางของรถบรรทุกลดลง ดอกยางจะสึกได้ง่าย ทั้งลักษณะการสึกที่ขอบยางข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หรือเกิดการสึกที่ไหล่ยางหรือที่ปลายดอกยาง
เมื่อดอกยางสึกหรือมีปัญหา จะทำให้เกิดแรงฝืดระหว่างการขับขี่ได้มากทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับรถบรรทุกมากกว่าปกติ
หรือหากลมยางมากเกินไป ยางรถบรรทุกจะเปราะเมื่อได้รับแรงกระแทกก็จะระเบิดได้ง่าย ทำให้อายุการใช้งานลดน้อยลงเช่นกัน
ดอกยางโดยเฉพาะบริเวณกลางหน้ายางจะสึกหรอมาก ความสามารถในการถ่ายเทความสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกเข้าสู่ตัวรถลดลง จนขาดความนุ่มนวลในระหว่างรถขับเคลื่อน
การสูบลมยางที่ดีควรทำให้เสมอกันในลักษณะของล้อคู่ การสูบลมและรักษาแรงดันลมในยางล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก
มิฉะนั้นยางเส้นจะไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากเพียงพอ เส้นที่สูบลมยางน้อยกว่าจะรับน้ำหนักได้น้อย ส่งผลให้การสึกของยางไม่สม่ำเสมอกันหรือเกิดการสึกที่ผิดปกติ
อ่านเพิ่มเติมกันเลย : เทคนิคการเติมยางรถกระบะที่ถูกต้องด้วยตัวเอง
ทฤษฎีการสลับตำแหน่งล้อยางรถบรรทุกนั้น ใกล้เคียงกับกรณีของรถยนต์ทั่วไป
แต่เนื่องจากยางของรถบรรทุกมักมีลักษณะของยางล้อคู่ ดังนั้นตำแหน่งในการสลับยางจึงแตกต่างกับรถยนต์ทั่วไป ส่วนมากจะต้องทำการสลับยาง เมื่อใช้งานยางไปประมาณ 5,000 – 10,000 กม.
การสลับตำแหน่งยางของรถบรรทุกที่ถูกต้อง จะช่วยยืดอายุการใช้งานยางให้ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะบริเวณล้อหน้าที่มักเกิดการสึกของดอกยางได้ง่ายกว่าล้อบริเวณอื่น
การสลับยางจะช่วยให้ลักษณะการสึกสม่ำเสมอกันทุกล้อ และเป็นการสลับเพื่อให้ยางได้หมุนกลับทิศทางในการขับเคลื่อน ลดปัญหาการสึกที่ไม่สม่ำเสมอกันได้ดี
การนำยางล้อหลังที่รองรับแรงกรุย (ล้อที่ช่วยขับเคลื่อน) ไปเป็นล้อหน้า ก็จะยืดอายุยางรถบรรทุกให้ยาวนานขึ้นได้
วัตถุประสงค์การใช้งานรถบรรทุกนั้นแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการตั้งศูนย์ถ่วงล้อจึงไม่มีลักษณะตั้งตรงตามแนวดิ่ง หรือขนานกับตัวรถเหมือนรถยนต์ทั่วไป
แต่จะมีลักษณะเอียงทำมุมกับตัวรถ เพื่อช่วยให้รถสามารถวิ่งตามทิศทางที่กำหนดได้ดีขึ้น และยังสะดวกในการบังคับรถเวลาหักเลี้ยว
มุมล้อหรือศูนย์ล้อรถบรรทุกจึงจำเป็นต้องอยู่ในระดับที่มาตรฐานกำหนดควรมีการตรวจสอบศูนย์ล้อและช่วงล่าง ทุก ๆ ครั้งที่เปลี่ยนยางรถบรรทุกใหม่ หรือควรทำทุกๆ 6 เดือน
หากศูนย์ล้อรถบรรทุกมีความผิดปกติจะทำให้ยางสึกแบบขรุขระ สึกเร็ว จนทำให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้ยาก รถอาจเสียการทรงตัวได้ง่ายกว่าปกติ โดยมากปัญหาศูนย์ล้อของรถบรรทุกจะเกิดกับล้อคู่หน้าได้มากกว่าล้อคู่หลัง
การบรรทุกสินค้าในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือสมดุล ควรจัดเรียงสินค้าให้น้ำหนักส่วนมากอยู่ที่จุดศูนย์กลางของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นด้านยาวหรือด้านกว้างของรถ
เพราะหากจัดเรียงไม่เหมาะสมศูนย์กลางของน้ำหนักไม่อยู่ในลักษณะที่สมดุลก็จะส่งผลเสียต่อศูนย์ล้อได้
การรับแรงน้ำหนักของยางล้อรถบรรทุกแต่ละข้างไม่เหมาะสม จนเกิดการเสื่อมสภาพของยางรถบรรทุกได้ ทั้งยังส่งผลต่อความสามารถในการขับเคลื่อนรถบรรทุกด้วย
อย่างในกรณีที่รถต้องเข้าทางโค้งหรือหักเลี้ยว ก็เสี่ยงที่รถจะเสียการควบคุมจนเกิดอุบัติเหตุได้
นอกจากการวางสินค้าหรือสิ่งของในรถบรรทุกให้ถูกจุดแล้ว การบรรทุกน้ำหนักที่เหมาะสมกับความสามารถของรถก็สำคัญมาก
เพราะการที่รถบรรทุกแบกรับน้ำหนักที่เกินพิกัดจะส่งผลเสียต่อยางรถบรรทุก ยางจะแบกรับแรงเสียดสีมากกว่าปกติ ส่งผลให้ดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็ว
การบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดยังส่งผลต่อความปลอดภัยด้วย เพราะโครงผ้าใบบริเวณขอบยางที่รับน้ำหนักมาก ๆ อาจหักง่าย และยางยังอาจผิดรูปเกิดเป็นลักษณะบวมล่อน จนเกิดการระเบิดได้ง่าย
เนื่องจากศูนย์ถ่วงของรถบรรทุก แตกต่างจากรถยนต์ประเภทอื่น จึงควรขับขี่ด้วยความเร็วที่พอดี
การขับขี่รถบรรทุกด้วยความรวดเร็วมากเกินไป นอกจากจะไม่ปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลเสียต่อยางของรถบรรทุกด้วย
เพราะจะเกิดระยะห่างในการเบรกเพื่อหยุดรถบรรทุกเพิ่มมากขึ้น ดอกยางจึงเกิดการสึกหรอเร็วมากขึ้น เกิดความร้อนภายในยางรถบรรทุกมากขึ้น ยางเกิดลักษณะบวมล่อน จนเกิดการระเบิดได้ง่าย
นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อการใช้พลังงาน สิ้นเปลืองน้ำมันในการขับเคลื่อนในปริมาณมาก
การใช้งานรถบรรทุก รถขนส่ง ซึ่งเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ มักจะมีการใช้งานที่หนักกว่ารถประเภทอื่นอยู่แล้ว เนื่องจากการใช้งานรถรูปแบบนี้มักจะเป็นการเดินทางไกลในระยะทางหลายร้อยไปจนถึงหลานพันกิโลเมตรต่อเนื่องหลายวัน
ดังนั้นเจ้าของรถจึงไม่ควรละเลย หมั่นนำรถเข้าตรวจสอบสภาพยางรถ และซ่อมบำรุงตามรอบอยู่เสมอ หรือใช้ตัวช่วยในการแจ้งเตือนความจำ เช่น ติดตามยานพาหนะ GPS ระบบจัดการยานพาหนะ กรณีที่มีรถในความดูแลหลายร้อยคัน ซึ่งอาจทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อไม่ให้ตกหล่นการดูแลรถคันใดคันหนึ่งไป
การดูแลรักษายางรถบรรทุกให้ดี มีปัจจัยหลายด้านที่ต้องตรวจสอบและปฏิบัติ แต่รับประกันว่าถ้าเจ้าของรถบรรทุกทำได้ตามนี้ จะสามารถป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และควบคุมต้นทุนด้านขนส่งได้ ไม่มากก็น้อยแน่นอน
การควบคุมต้นทุนด้านขนส่งอย่างวัดผลตัวเลขได้ CARTRACK มีระบบบริหารจัดการต้นทุนยานพาหนะ และ MiFleet ที่นำข้อมูลติดตามรถ มาประมวลและสรุปเป็นข้อมูลการใช้งานยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน
ช่วยให้เจ้าของรถหรือเจ้าของธุรกิจทราบว่าควรจะปรับลดต้นทุนและเพิ่มการทำงานให้ได้เนื้องานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้อย่างไรบ้าง
นอกจากนี้เรายังเชี่ยวชาญเรื่องการติดตั้งเครื่อง GPS ติดตามรถ ซึ่งเป็น GPS ติดรถแบบซ่อนขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ติดตั้งในจุดที่ไม่บดบังทรรศนะของผู้ขับขี่ คุณจึงสามารถติดตามพฤติกรรม การใช้งานรถได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เหมาะสำหรับติดตั้งกับรถทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถเทรลเลอร์ รถขนส่งห้องเย็น รถขนส่งสินค้าประเภทต่าง ๆ
สนใจสอบถามข้อมูล GPS ขนส่ง และโปรโมชันระบบ โทรคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรงที่ 02-136-2920 หรือ 02-136-2921 ระหว่างเวลา 08.30 - 17.30 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ หรือคลิก ทดลองใช้ฟรี ! เพื่อกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
รักษายางรถบรรทุกให้ใช้งานได้นานต้องมีเทคนิค แต่สำหรับธุรกิจที่มีรถใช้งานจำนวนมาก การมีผู้ช่วยแจ้งเตือนซ่อมอย่าง ระบบติดตามยานพาหนะ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ