กลัวการขับรถ เป็นอาการของคนเพิ่งขับรถใหม่ๆหรือไม่กล้าขับรถ โดยเฉพาะเวลาต้องขับออกถนนใหญ่ หรือทางด่วนที่ต้องใช้ความเร็ว เป็นต้น มาดูกันว่าจะมีวิธีแก้อย่างไร
เชื่อว่าหลายคนที่ไม่ได้ขับรถเอง ส่วนใหญ่ก็คงมีความหลังฝังใจเกี่ยวกับการขับรถอย่างแน่นอน ซึ่งคุณอาจจะไม่สามารถเอาชนะตัวเองในการลองขับรถแต่ละครั้งได้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณก้าวขึ้นไปนั่งหลังพวงมาลัย ก็จะเกิดความ Panic ความประหม่า ความกลัว ความวิตกกังวล วิตกจริตอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งอาการเหล่านั้นเราเรียกรวมๆ ว่า “อาการของโรคกลัวการขับรถ” แม้จะเป็นโรคที่หลายคนรู้สึกว่ามันน่ากลัว และไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่จริงๆ แล้วก็มีเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้คุณเลิกกลัวได้เช่นกัน
อาการกลัวการขับรถ เป็นหนึ่งในโรคของอาการแพนิคที่มีหลายคนเป็นกันมาก ส่วนใหญ่ก็จะกลัวในสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันไป ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวการขับรถ ก็จะเกิดอาการกลัวทุกครั้งที่ได้ลองขับ โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งได้ลองจับพวงมาลัยเป็นครั้งแรก ก็จะรู้สึกประหม่า รู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ หวาดกลัวเมื่อสตาร์ทรถ และต้องเหยียบคันเร่งไปข้างหน้า เวลามีรถมาขนาบข้าง ก็จะรู้สึกวิตก จนหนักเข้าถึงกับต้องหยุดรถกะทันหัน เพื่อให้รถคันข้างๆ พ้นไปก่อน หรือบางประเภทก็อาจจะประหม่าเวลาที่รถขึ้นสะพาน หรือทางชัน ทำให้เกิดอาการใจเต้นรัว ทุกครั้งที่ต้องผ่านทางในลักษณะนี้
ทุกครั้งที่คุณต้องขับรถ คุณอาจจะรู้สึกกลัว รู้สึกคิดล่วงหน้าไปเองว่าจะเกิดอันตราย ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะหัวใจเต้นแรง เหงื่อตก หายใจหอบถี่ และขนลุกทุกครั้งเวลาได้ขับรถ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ดูใหญ่โตสำหรับคุณ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีหนทางแก้เสมอไป โดยเราก็ได้รวบรวมเคล็ดลับง่ายๆ ในการแก้โรคกลัวการขับรถมาแนะนำกันดังนี้
เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายในการขับรถของคุณ สิ่งที่จำเป็นก็คือ เสื้อผ้าที่คุณสวมใส่ต้องให้ความรู้สึกสบาย โดยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่รัดรูปจนเกินไป และทำให้คุณขับรถได้ง่ายขึ้น
นอกจากจะสวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ แล้ว บรรยากาศในรถก็ต้องสบายเช่นเดียวกัน โดยคุณอาจจะสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายด้วยการเปิดเพลงจังหวะชิลๆ ฟังคลอไปด้วยขณะที่กำลังขับรถก็ได้ ซึ่งผลวิจัยบอกว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเบาสบายจะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะ Panic หรืออาการกลัวต่างๆ ได้ดี
ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจำเป็น แต่การฝึกหายใจถือเป็นตัวช่วยที่ดี ที่ทำให้คุณหลุดพ้นจากภาวะ Panic ได้เป็นอย่างดี เพราะภาวะโรคกลัวการขับรถ จะทำให้เรารู้สึกอึดอัดในลำคอและช่องท้อง ซึ่งการฝึกหายใจเข้า-ออกทางจมูกอย่างช้าๆ จะช่วยลดอัตราความอึดอัดดังกล่าวนั้นได้ โดยวิธีการฝึกหายใจที่ถูกต้อง ให้คุณเน้นหายใจเข้าแบบช้าๆ จนเต็มปอด ก่อนจะปล่อยลมออกมาอย่างช้าๆ จนรู้สึกเริ่มผ่อนคลาย ซึ่งอาจจะทำสลับไปมาหลายๆ เซ็ต จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
อาการ Panic ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการที่คุณคิดล่วงหน้าไปเอง โดยความคิดดังกล่าวนั้น เกิดจากความคิดด้านลบเป็นส่วนมาก คุณจึงต้องฝึกให้ตัวเองเป็นคนคิดบวกมากขึ้น พร้อมเปลี่ยนแนวความคิดซะใหม่ และอย่าลืมให้กำลังใจตัวเองด้วยว่า “เราต้องทำได้!”
นี่คือ คติที่คนขี้กลัวจะต้องผ่านไปให้ได้ ไม่ว่าคุณกลัวสิ่งใด ความกล้าในการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นจะสามารถทำให้คุณเอาชนะมันไปได้ เช่นเดียวกับการขับรถ คุณอาจจะมีอดีตที่ฝังใจ แต่อดีตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณทุกครั้งอย่างแน่นอน เพียงแค่คุณมีสติ มีกำลังใจ มีความกล้าในตัวที่อยากเอาชนะ ทุกอย่างก็จะสามารถผ่านไปได้ หากคุณเป็นคนกลัวการขับรถ คุณก็แค่จะต้องขับมันให้ได้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้ตัวเองเห็นว่า คุณสามารถชนะความกลัวได้ด้วยความกล้าที่คุณสร้างขึ้นมา
แน่นอนว่าการขับรถจะต้องมาพร้อมปัญหาต่างๆ ที่คุณไม่คาดคิด แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะต้องวิตก เพราะปัญหาส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหาพื้นฐานที่ผู้ขับขี่รถต้องเจอ ให้คุณท่องไว้ว่าจะต้องแก้ไขไปทีละขั้น ทีละอย่าง และต้องเรียนรู้ในการขับขี่อยู่เสมอให้ชิน เพียงแค่คุณขับขี่ถูกต้องตามกฎหมายจราจรอย่างปลอดภัย คุณก็สามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ขับรถที่ดีในอนาคตได้แล้ว
ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ขับรถมือใหม่ที่กำลังตั้งใจจะขับรถให้เป็นแต่เกิดอาการกลัว สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นใจการขับรถให้กับตัวเองได้ เชื่อได้เลยว่าหากคุณผ่านจุดนั้นของชีวิตไปได้แล้ว คุณก็จะเกิดความภูมิใจเป็นอย่างมาก เมื่อย้อนกลับมามองจุดที่คุณเคยกลัวอีกครั้ง
และถ้าถึงวันนั้นหากคุณขับรถคล่องแล้วละก็ อย่าลืมสิ่งจำเป็นในการขับรถบนท้องถนนเพื่อความปลอดภัยกันด้วย นั่นก็คือ GPS ติดรถยนต์นั่นเอง ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยทำให้คุณขับขี่ได้อย่างสบายใจ สามารถนำทางให้คุณขับขี่ไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็ว พร้อมแจ้งเตือนอุบัติเหตุตลอดเส้นทาง
กลัวการขับรถ เป็นอาการของคนเพิ่งขับรถใหม่ๆหรือไม่กล้าขับรถ โดยเฉพาะเวลาต้องขับออกถนนใหญ่ หรือทางด่วนที่ต้องใช้ความเร็ว เป็นต้น มาดูกันว่าจะมีวิธีแก้อย่างไร