BLOGS

แม่หัวไวใช้จีพีเอสตามหาลูกที่หายไปกับรถสำเร็จ

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ผู้ที่มีสมาชิกในบ้านเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะหลงลืม จะทราบกันดีว่า สมาชิกกลุ่มนี้ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลาหรืออย่างน้อยก็ห่างกันได้ไม่เกินครึ่งวัน เพราะถ้าขาดการติดต่อไปนานๆ อาจมีความเสี่ยงคนที่รักพลัดหลงหรือหายตัวไปโดยไม่ทราบได้ จนหลายคนแทบจะใช้ จีพีเอสติดตามตัว กันทีเดียว

แต่สำหรับเรื่องจริงคาร์แทรคเคสนี้ ลูกค้าเลือกใช้ จีพีเอสรถ ช่วยลูกชายตามตัว จนสำเร็จ ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่ คาร์แทรค ปลื้มใจมาก จนได้ขออนุญาตนำเรื่องนี้มาบอกเล่าเป็นวิทยาทานกับคนอื่นๆ ต่อไป

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา ทางศูนย์บริการลูกค้า 24 ชั่วโมง ของคาร์แทรค ได้รับแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจากคุณ อร (นามสมมติ) ลูกค้ารายหนึ่งของเรา ให้ช่วยตามหาลูกชายของเธอที่ขับรถยนต์ออกจากบ้านไป เป็นรถยนต์รุ่น Mazda 2 สีขาว ที่ใช้บริการ GPS คาร์แทรค อยู่

จากข้อมูลของลูกค้าแจ้งว่า เหตุที่ต้องขอข้อมูลจาก คาร์แทรค เพื่อตามหา เพราะลูกชายมีปัญหาสุขภาพจิต และการขับรถออกไปเป็นการแอบขับออกไปแบบไม่บอกกล่าว และคุณแม่ไม่สามารถติดต่อได้ หรือขาดการติดต่อกันไป

ด้วยความตกใจและความเป็นห่วงลูกว่าจะเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายขึ้น จึงรีบโทรติดต่อขอความช่วยเหลือมายังทีมงานคาร์แทรค

ทางทีมงานคาร์แทรค ตรวจสอบพิกัดของรถ ติดตามพิกัดต่อเนื่องเป็นระยะ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่รถเดินทางอยู่

จากข้อมูลพบว่า รถวิ่งเคลื่อนที่อยู่ตลอดตั้งแต่เวลา 17.21 น. ที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี วิ่งต่อไปยัง ถ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ณ เวลา 19.51 น. จากนั้นรถวิ่งเข้า เขตลาดกระบัง กทม. ตอน 20.25 น. จนกระทั่งเมื่อเวลา 22.32 น. รถจอดอยู่ที่พิกัดหนึ่งใน ต. บางตีนเป็ด อ. เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

การติดตามพิกัดอย่างต่อเนื่องทำให้ในที่สุด ลูกค้าที่เป็นคุณแม่รายนี้สามารถติดตามลูกชายและรถยนต์กลับมาได้สำเร็จและปลอดภัยทั้งคนและรถ

ภายหลังลูกค้าเปิดเผยว่า..

“รู้สึกซึ้งใจและขอบคุณทีมงาน Cartrack Thailand ที่น่ารักทุกคน ที่คอยให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี บริการรวดเร็วทันใจเป็นคนในครอบครัว ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ ให้คะแนน 10 ดาวเต็ม!”

สุขภาพจิตกับการขับรถ ดูแลได้ไม่พึ่ง จีพีเอสติดตามตัว

สุขภาพจิต เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดเลยว่า บุคคลนั้นสามารถหรือสมควรที่จะขับขี่ยานพาหนะหรือไม่

แต่คนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่า ปัญหาสุขภาพจิตแบบไหนบ้าง ที่ควรเลี่ยงการขับขี่รถหรือยานพาหนะที่ติดเครื่องยนต์แบบต่างๆ ได้ Mind องค์กรสุขภาพจิตในอังกฤษ ได้สรุปภาวะสุขภาพจิตสำคัญที่ควรเลี่ยงการขับขี่ในทุกพื้นที่ไว้ดังนี้

  • ภาวะไบโพลาร์ โรคอารมณ์แปรปรวนสองด้าน
  • จิตเภท หลงผิดจากโลกความเป็นจริง
  • ไม่สามารถควบคุมความคิด การพูด เหม่อลอย เหมือนหลุดออกจากห้วงความรู้สึกความนึกคิดอยู่เสมอ ไม่ดูแลตัวเอง
  • ซึมเศร้า
  • ซึมเศร้าและเกิดภาวะประสาทหลอนผสมกัน

หากเป็นการขับขี่รถส่วนบุคคล คนภายในครอบครัวก็สามารถดูแลหรือควบคุมการขับรถได้ใกล้ชิด

แต่หากเป็นการขับขี่รถเชิงอาชีพ ผู้ขับขี่ต้องทำความเข้าใจหรือรู้สัญญาณสุขภาพของตัวเอง หรือผู้จ้างต้องคอยสังเกตและจัดการตามความเหมาะสม เพราะการขับขี่ทั้งที่มีปัญหาสุขภาพนั้น เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติหลายเท่าตัวมาก

อีกหนึ่งทางที่จะทำได้คือ ผู้ทำงานร่วมกับคนขับรถอาชีพ เช่น บริษัท หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้โดยสาร ที่ช่วยกันสังเกตพฤติกรรมที่น่าสงสัยและแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องได้

สำหรับลูกค้าระดับองค์กรของ Cartrack สามารถเข้าระบบติดตามรถ GPS และดึงข้อมูลการขับขี่มาตรวจสอบได้ว่า พฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานคนขับรถขนส่งของเราเป็นอย่างไร มีจุดที่น่าสังเกตตรงไหนหรือไม่

เช่น ชอบเข้าโค้งแรงๆ เบรกกระทันหันบ่อยๆ หรือแม้แต่จอดแช่แบบผิดสังเกตในจุดที่ไม่ใช่ถนนที่จะอ้างเหตุรถติดได้

พฤติกรรมเหล่านี้ หากพูดคุยกันแล้วยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะต้องติดตามต่อว่า ต้นตอที่แท้จริงของพฤติกรรมคืออะไร โดยไม่จำเป็นต้องทะเลาะหรือเลิกจ้างกระทันหันซึ่งไม่ส่งผลดีกับทุกฝ่าย

เพราะเป็นไปได้สูงว่า มันอาจเป็นสิ่งที่บริษัทเจ้าของรถหรือแม้แต่ตัวคนขับเองไม่รู้มาก่อนเหมือนกันก็เป็นได้ ซึ่งลูกค้า GPS คาร์แทรค มีเบาะแสการขับขี่ดีๆ ที่อยู่ใกล้ตัวตลอดอย่างข้อมูลอย่างละเอียดจากระบบ Telematics ที่ลูกค้าสามารถเรียกดูได้นานถึง 5 ปีเลยทีเดียว

ใช้ระบบ Telematics ของคาร์แทรค ได้ประโยชน์อะไร? ต้องการทราบข้อมูลเฉพาะธุรกิจของคุณ คลิกกรอกข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้ หรือโทรคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรงที่ 02-136-2921

เรื่องจริงเตือนใจครอบครัวที่มีสมาชิกที่มีภาวะจิตใจเปราะบางหรือมีประเด็นสุขภาพจิต ต้องทำอย่างไรถ้าคนกลุ่มนี้ขับรถหายไปติดต่อไม่ได้?