แผนที่ดาวเทียม คือ แผนที่ที่ได้รับข้อมูลจากดาวเทียมแล้วนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่ธรณีวิทยา,แผนที่ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงช้าและข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า การใช้ที่ดิน เป็นต้น สำหรับในประเทศที่การใช้ประโยชน์จากแผนที่ดาวเทียมค่อนข้างจำกัด
แผนที่ดาวเทียมนั้นมาจากภาพถ่ายดาวเทียมที่มีการนำดาวเทียมมาติดตั้งกล้องที่สามารถขยายและจำแนกความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการสะท้อนรังสีความร้อนของสิ่งต่าง ๆ บนผิวโลก ข้อมูลจากดาวเทียมเป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ ณ สถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมภาคพื้นดิน ซึ่งกระจายอยู่ในบางประเทศทั่วโลก เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกมาเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพถ่ายดาวเทียม
ซึ่งเมื่อได้ภาพถ่ายดาวเทียมมาแล้วเราก็จะนำภาพถ่ายดาวเทียมนั้นมาวางต่อ ๆ กันเหมือนประกอบ จิ๊กซอว์กลายเป็นแผนที่ดาวเทียมที่ใช้กันในปัจจุบัน
แผนที่ดาวเทียมสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์รับรู้ได้ว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพราะ แผนที่ดาวเทียมจะแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลกมองเห็นพื้นน้ำ และพื้นดินได้ครบ 360 องศา อีกทั้งแผนที่ดาวเทียมยังสามารถบ่งพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย เวลาที่คุณไปท้องฟ้าจำลองคุณเคยลองหาหลังคาบ้านของตัวเองบ้างหรือไม่ แผนที่ดาวเทียมสามารถทำให้คุณมองเห็นหลังคาบ้านตัวเองได้ด้วย Streetview
แผนที่ดาวเทียมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนั้นก็คือ Google Maps ซึ่งคุณสามารถที่จะดูรูปภาพจากตำแหน่งต่างๆได้ และสามารถทราบถึงภูมิประเทศของสถานที่นั้นๆได้ ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถที่จะหาข้อมูลสภาพอากาศของสถานที่ที่คุณอยู่หรือสถานที่ที่คุณสนใจได้ผ่านการใช้งานแผนที่ดาวเทียมของ Google ด้วย หรือถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจแล้วต้องการให้คนสามารถหาตำแหน่งของบริษัทคุณเจอผ่านแผนที่ดาวเทียมของ Google เพียงแค่คุณทำการเพิ่มตำแหน่งสถานที่บริษัทของคุณบนแผนที่ดาวเทียม
ซึ่งจุดนี้จะเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้ แม้ว่าธุรกิจของคุณจะไม่ได้มีเว็บไซต์เพื่อการขายหรือโฆษณาที่ทำออกมาได้ดีนักเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่คุณยังสามารถที่จะรวมเว็บของธุรกิจคุณเพื่อแข่งขันได้ โดยไปเน้นที่จะแสดงเว็บของคุณกับตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทที่คุณระบุไว้บน
แผนที่ดาวเทียมของ Google วิธีนี้ถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้จักบริษัทและธุรกิจของคุณโดยไม่จำเป็นต้องไปทำเว็บไซต์เพื่อการขายหรือโฆษณาสำหรับสู้กับคู่แข่งโดยตรง อีกทั้งจะทำให้ลูกค้าที่หาข้อมูลของบริษัทเราสามารถที่จะหาตำแหน่งของบริษัทเราได้ด้วยบนแผนที่ดาวเทียม
ประโยชน์ในการนำแผนที่ดาวเทียมมาใช้ยังไม่หมดเท่านั้น ! เพราะแผนที่ดาวเทียมยังสามารถทำให้คุณได้เห็นรูปภาพจากต่ำแหน่งต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกได้ โดยคุณสามารถทราบถึงภูมิประเทศของสถานที่นั้น ๆ และสามารถที่จะหาข้อมูลสภาพอากาศของสถานที่ที่คุณสนใจได้อีกโดยผ่านการใช้งานของแผนที่ดาวเทียม
ยิ่งกว่านั้นหากคุณต้องการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ บนโลกคุณก็สามารถที่จะทำได้ด้วยการหาข้อมูลจากแผนที่ดาวเทียม เนื่องจากมีการปรากฏภาพแบบ Streetview ไว้ให้สำหรับคุณ เพียงคุณซูมแผนที่เข้าไปใกล้ ๆ คุณก็สามารถที่จะดูสภาพพื้นที่โดยรอบในแบบ Streetview ของสถานที่ที่คุณต้องการได้
ภาพที่ปรากฏนั้นจะมีรายละเอียดชัดเจนเสมือนว่าคุณไปอยู่สถานที่ตรงนั้น ณ เวลานั้น และคุณยังสามารถเลือกไปที่ถนนเส้นต่างๆและขับรถไปยังสถานที่นั้นได้ด้วยตัวคุณเอง นอกจากนี้ยังมีมุมมองแบบพาโนรามิคเพื่อให้คุณได้เห็นมุมมองในพื้นที่นั้นในมุมกว้าง และทราบว่าพื้นที่นั้นมีลักษณะอย่างไรอีกด้วย
ซึ่งแผนที่ดาวเทียมที่เราใช้อยู่เป็นประจำนั้นมีการอัพเดททุกสองครั้งต่อวัน (Near-Real-Time) โดยระบบ MODIS Rapid Response System ซึ่งมีความละเอียดตั้งแต่ 2 กิโลเมตร, 1 กิโลเมตร และ 250 เมตรต่อพิกเซล มีให้ดาวน์โหลดแล้ว ครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย และเมื่อไม่นานมานี้ทางบริษัท Apple ได้มีการอัพเดตแผนที่ดาวเทียมล่าสุดในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหลายจุด
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้แผนที่ดาวเทียมของบริษัทที่อยู่ในประเทศไทย ได้มีการเพิ่มสถานที่สำคัญ ๆที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น CentralPlaza WestGate, EmQuartier เป็นต้น ส่วนถนนสายใหม่ ๆ ได้แก่ส่วนต่อขยายถนนชัยพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก, สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ (สะพานนนทบุรี 1), ทางลงสุขุมวิท 50 และด่านอาจณรงค์ 3 ของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ซึ่งภาพจากแผนที่ดาวเทียมอัพเดตล่าสุดนี้ทางบริษัท Apple ใช้ภาพที่มีความละเอียดสูงมาก และหลายพื้นที่ที่แต่เดิมคุณภาพไม่ชัดและมีเมฆบังตอนนี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแล้ว
รึหากสนใจเริ่มต้นใช้งานจริง ในราคาเพียง 299 บาท เท่านั้น !
ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมแล้วนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น การใช้งานและประโยชน์ที่เราได้รับจาก แผนที่ ดาวเทียม