ยังมีประเด็นหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียงกันมากในสังคมออนไลน์ ว่า การเปิดไฟหรี่รถยนต์ไม่ควรเปิดพร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้เป็นการเปลืองไฟ กินแบตเตอร์รี่รถยนต์ ซึ่งมีการสอบถามจากูรูด้านรถยนต์มาแล้ว ได้คำตอบว่า ในโรงงานผลิตรถยนต์นั้น จะต้องมีการถูกออกแบบมาแล้วอย่างดีเยี่ยม ว่าต้องใช้แบตเตอรี่เท่าใด
แบตเตอรี่ที่มีการคำนวณไว้ จะครอบคลุมการใช้ไฟหรี่รถยนต์อยู่เสมอ จึงไม่ต้องกังวล ว่าการเปิดไฟหรี่ จะทำให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี่ แต่อย่างใด ที่สำคัญ รถที่ผลิตในปีหลัง ๆ รุ่นใหม่ ๆ โดยเฉพาะที่ใช้ระบบพลังงานสะอาด หรือ อีโคคาร์ (ECOCAR) มักจะเป็นหลอดไฟแบบ LED ซึ่งเรียกได้ว่าประหยัดไฟอย่างที่สุด จึงตัดความกังวลส่วนนี้ได้เลย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อาศัยในต่างประเทศ หรือท่องเที่ยวต่างประเทศบ่อยครั้ง จะสังเกตได้ว่า ต่างประเทศจะนิยมเปิดไฟหรี่รถยนต์กันตลอดเวลา โดยเฉพาะทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมการขับรถข้อหนึ่ง ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยในการใช้ท้องถนนได้มาก
ยิ่งกว่านั้น คุณอาจพบว่า ชาวต่างชาตินิยมเปิดไฟหน้ารถยนต์ แทนการใช้ไฟหรี่รถยนต์ที่แสงเบากว่าด้วยซ้ำ เพราะมีความตระหนักเสมอว่าการขับรถในช่วงที่วิสัยทัศน์การมองเห็นระยะสั้นลง จะเสี่ยงต่ออุบัติภัยสูงมาก
เราอาจจะคิดว่า การเปิดไฟหรี่รถยนต์จะชดเชยด้วยการจอดรถใต้เสาไฟฟ้า หรือบริเวณที่มีแถบจราจรสะท้อนแสงอยู่แล้ว ก็จะรอดพ้นจากอุบัติภัยได้นั้น ก็ขอให้คิดเสียว่า การเปิดไฟหรี่รถยนต์เป็นการทวีคูณการเพิ่มความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของคุณ โดยเฉพาะรถที่มีเด็กเล็ก ๆ ที่นอกจากควรต้องติดป้าย “มีเด็กในรถ” แล้ว ก็ควรใสใจกับการเปิดไฟหรี่รถยนต์ให้มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ล่าสุด ยังมีความนิยม ติดไฟหรี่รถยนต์แบบแฟชั่น ที่เรียกกันติดปากว่า ไฟแบบไอติม หรือ ไฟไอติม เพราะมีสีสวยสะท้อนแสง ทั้ง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า ชมพูและน้ำเงิน แลดูคล้ายแท่งไอศกรีมติดท้ายรถ ซึ่งเรียกได้ว่า ให้ความสวยงามสะดุดตาและโดดเด่นมาก แต่ในทางกฎหมายนั้น ถือว่าเป็นเรื่องผิดเพราะว่าทำให้เกิดการรบกวนสายตา ต่อผู้ใช้ถนนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟแบบทั่วไป หรือ หลอดไฟแบบ LED ก็ตาม
ทั้งนี้ ความฮิตติดไฟหรี่รถยนต์ ชนิดไฟแบบไอติม ไม่แน่ชัดว่ามาจากวงการนักแต่งรถในสนามแข่ง หรือมาจากหนังภาพยนตร์เรื่องใด แต่ในชีวิตจริง เนื่องจากเป็นเรื่องไม่ยากที่จะติดตั้งแทนไฟหรี่รถยนต์ปกติ ที่ติดมากับรถยนต์จากโรงงาน เพราะเป็นหัวแบบ T10 และ T20
ยังมีการเก็บสถิติพบว่า การใช้ ไฟแบบไอติม ในการเป็นไฟหรี่รถยนต์นอกจากจะทำให้เกิดแสงสว่างรบกวนต่อสายตาผู้ที่ขับรถตามหลังมา เช่น ช่วงที่จอดรอจังหวะรถติด หรือรถที่ขับต่อกันเป็นสายยาว เวลาขึ้นทางด่วน ที่ไม่สามารถเลี่ยงเปลี่ยนเลนหนีได้ ทำให้เกิดการระคายเคืองตา ตาพร่า และส่งผลต่อการกะระยะการขับขี่ได้ ดังนั้น การไฟหรี่รถยนต์จึงไม่ควรเปลี่ยนไส้หลอดไฟ หรือเปลี่ยนสีหลอดไฟจากเดิมโดยเด็ดขาด
เพราะนอกจากจะมีการวิจัยมาแล้วในขั้นตอนการออกแบบว่า รูปแบบที่บริษัทเลือกคัดสรรมานั้นดีที่สุด ต่อความปลอดภัยและวิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนแล้ว ยังมีการควบคุมด้วยกฎหมาย เช่น ในไทย มี พรบ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่กล่าวถึงส่วนของไฟหรี่รถยนต์ต่าง ๆ ว่าโคมต่าง ๆ ต้องเป็นสีขาว หรือ สีเหลืองอำพันเท่านั้น ยกเว้น ไฟเบรกที่ต้องเป็นสีแดง และแม้แต่ไฟส่องป้ายทะเบียน หากมีการติดตั้งเปิดใช้ ก็ต้อง เป็นสีขาว และต้องงติดตั้งส่วนบังแสง หรือ โคม ไม่ให้เกิดแสงแยงตาผู้ขับขี่รถยนต์ตามมาด้วย
สำหรับคนที่ฝ่าฝืน เรื่องการเปลี่ยนไฟหรี่รถยนต์ปกติ ให้เป็นไฟแบบไอติมนั้น กฎหมายฉบับเดียวกัน คือ พรบ. รถยนต์ 2522 มาตรา 12 ได้ระบุไว้ใจความว่า การกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดอันตราย ต่อร่างกาย (เช่น อุบัติเหตุรถชนจากตาพร่ามัว และการกะระยะผิดพลาด) และส่งผลต่อจิตใจ คือสร้างความรำคาญอย่างต่อเนื่องต่อผู้ขับขี่คันอื่น จะส่งผลให้รถคันนั้นถูกบังคับให้หยุดใช้ จนกว่าจะแก้ไขไฟหรี่รถยนต์ให้กลับคืนสภาพปกติ และจำเป็นต้องมีการปรับ ไม่เกิน 2 พันบาท สำหรับผู้ที่ทำผิดกฎนี้ด้วย
การใช้ไฟหรี่รถยนต์ จึงควรใช้ตามวัตถุประสงค์ของการผลิตและออกแบบ ไม่ควรดัดแปลง จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติภัยในการใช้ท้องถนนร่วมกัน
สำหรับคนที่ขับรถ อาจสงสัยว่า ไฟหรี่รถยนต์ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร? เพราะคนส่วนใหญ่แทบไม่ได้เปิดใช้ แท้ที่จริงแล้ว ไฟหรี่รถยนต์ใช้ได้หลายกรณี