BLOGS

อัพเดตผู้ขับขี่ไทย ตรวจ ตรอ ปี 2561

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ก่อนจะต่อภาษีรถประจำปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์สี่ล้อส่วนบุคคล ขนาดเล็ก-ใหญ่ ก็จำเป็นที่เจ้าของรถทุกคันต้องนำรถในครอบครองไปตรวจ ตรอ ให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้แน่ใจได้ถึงความพร้อมของรถส่วนบุคคล และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนสาธารณะ ตลอดจนผู้สัญจรไปมา โดยเฉพาะในปี 2561 นี้ ที่ทางการฯ มีความเข้มงวดในการตรวจเพื่อลดสถิติอุบัติภัยบนท้องถนนทั่วประเทศ

การตรวจ ตรอ ก่อนการต่อทะเบียนรถ หรือที่เรียกอย่างย่อ ๆ ว่า ตรอ. นั้น มาจาก คำว่า “ตรวจสภาพรถเอกชน” ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบก หรือ ขบ. ได้กำหนดไว้ว่า หากเป็นรถเอกชน ไม่ว่า รถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์สี่ล้อ หากผ่านการใช้งานนานกว่า 7 ปี จำเป็นต้องตรวจ ตรอ แม้ว่ารถคันนั้นจะแทบไม่ได้ใช้ หรือเป็นรถที่มีการซ่อมบำรุงอยู่แล้วสม่ำเสมอก็ตาม

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับวงการแพทย์แล้ว การตรวจ ตรอก็เทียบได้กับการเข้าโปรแกรมตรวจร่างกายประจำปี ที่แม้จะคิดว่าได้ออกลังกายสม่ำเสมอ ไม่เคยป่วยไข้หวัด ไม่เคยหน้าซีดเป็นลม แต่ยังตรวจพบโรคความดัน ไขมันเลือดสูงซ่อนอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม

สำหรับคนที่เพิ่งเป็นเจ้าของรถซื้อใหม่ ที่อายุรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์เพิ่งจะครบ 7 ปี ก็อาจไม่ทราบว่าการตรวจ ตรอจะต้องทำอย่างไรบ้าง? ต้องไปตรงวันที่ครบการจดทะเบียนเลยหรือไม่? เรามาดูกันว่า กฎหมายระบุไว้อย่างไรบ้าง?

เตรียมตัวยื่นเอกหรือตรวจสภาพรถอย่างไร?

การตรวจ ตรอ นั้น ที่จริงแล้ว สามารถนำรถและเอกสารต่าง ๆ ไปทำการขอตรวจล่วงหน้าก่อนวันที่จดทะเบียนฯ ได้ ในระยะไม่เกิน 90 วัน โดยต้องนำคู่มือทะเบียนรถไปขอตรวจด้วยตัวเอง (ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถเท่านั้น) เช่น นาย ก. ได้ จดทะเบียนรถ วันที่ 5 พ.ย.2554 ก็สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปตรวจ ตรอ ที่สถานที่ที่ ขบ. รับรองได้ ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 2561 เป็นต้น

โดยการตรวจ ตรอ สามารถเลือกตรวจในสถานที่ที่สะดวก ไม่จำเป็นต้องไปที่กรมการขนส่งทางบก ขอเพียงเป็นสถานที่ผ่านการได้รับการอนุญาตจาก ขบ. ให้ตรวจ ตรอ แก่ผู้มาใช้บริการได้ แต่ทั้งนี้ สำหรับนักแต่งรถหรือ ผู้ขับขี่ที่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขทั้งภายนอก เช่น สีรถ กันชน ฯลฯ และภายในรถ เช่น เครื่องยนต์ เลขตัวถัง ฯลฯ รวมถึงผู้ที่ขาดการต่ออายุทะเบียนรถมานานเกินกว่า 1 ปี ก็จำเป็นต้องไปตรวจ ตรอ ที่ ขบ. หรือ กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

ในกระบวนของการตรวจ ตรอ กฎหมายได้ระบุหลักการต่าง ๆ ไว้ว่าต้องเช็คความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน 3 ด้าน คือ

  1. ด้านตัวสัญญาณไฟต้องสมบูรณ์ เช่น ไฟหรี่หน้ารถ ต้องไม่เป็นไฟไอติม (ที่ใช้หลอด LEDสะท้อนแสง ที่รบกวนต่อการขับขี่ผู้อื่น) ไฟกระพริบ ไฟสูง ไฟหน้า ต้องพร้อมใช้และให้แสงสว่างหรือวิสัยทัศน์ที่ระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
  2. ด้านระบบการเบรกของรถ ไม่ว่ารถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ ต้องสมบูรณ์ทั้งล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง
  3. ด้านมลพิษทางอากาศ หรือควันจากท่อไอเสีย เจ้าหน้าที่จะเช็คว่าควันดำผิดปกติหรือไม่ ด้วยการใช้กระดาษกรอง หรือ Filter Smoker Meter ในการวัดควัน หากควันดำเกินกว่าเกณฑ์คือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ก็จะไม่ผ่านการตรวจ ตรอ

ดังนั้น ควรวางแผนช่วงเวลาที่จะนำรถของท่านไปตรวจ ตรอ โดยควรตรวจเสียแต่เนิ่น ๆ (แต่ไม่เกิน 90 วันก่อนวันครบอายุฯ) เพราะหากมีจุดใด 1 ใน 3 ด้านที่ “ไม่ผ่าน” ก็จะต้องถูกนำกลับมาแก้ไข แล้วนำไปตรวจซ้ำภายใน 15 วัน เท่ากับต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ เมื่อตรวจ ตรอ เสร็จ เจ้าหน้าที่จึงจะออกใบรับรองฯ “ผ่าน” การตรวจสภาพรถ ซึ่งสามารถนำไปสู่ขั้นตอนต่อทะเบียนรถในลำดับต่อไป

สำหรับ การเตรียมค่าใช้จ่ายในการตรวจ ตรอ กฎหมายได้ระบุเกณฑ์ไว้ตามชนิดของรถ เช่น

  1. รถมอเตอร์ไซค์ คิดค่าธรรมเนียม 60 บาท
  2. รถยนต์ทั่วไป ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 พันกิโลกรัม หรือ 2 ตัน คิดคันละ 200 บาท
  3. รถยนต์ขนาดใหญ่ น้ำหนักเกิน 2 ตันขึ้นไป จะมีราคาเรทสูงที่สุด คือ 300 บาทต่อคัน

โดยหากไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจ ตรอ ที่ในรอบแรก แล้วมาตรวจรอบสองจะเสียค่าใช้จ่ายลดลง คือ จ่ายเพียงครึ่งเดียว แต่ต้องเป็นการตรวจซ้ำในสถานที่ตรวจ ตรอ เดิม เพราะหากเลือกไปตรวจ ตรอ ที่ใหม่ หรือปล่อยให้เวลาผ่านไปนับจากการตรวจรอบแรกแล้ว มากกว่า 15 วัน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจ ตรอ เต็มอัตราที่แจ้งไว้ เช่นเดียวกับการตรวจรอบแรก

ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะนำรถไปตรวจ ตรอ ควรทำการตรวจสอบสภาพรถทั้งสามด้าน ด้วยตัวเอง หรือให้ช่างที่เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบให้ก่อน ซึ่งโดยทั่วไป ที่ตรวจ ตรอ กันแล้วไม่ผ่านนั้น ก็มักมาจากประเด็นที่ สาม คือ ควันดำเกินเกณฑ์ซึ่งสามารถแก้ไขได้ 3 วิธี คือ

  1. เช็คตัวไส้กรอง นำออกมาทำความสะอาด หรือเปลี่ยนตัวไส้กรองเสียใหม่
  2. รีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
  3. ตั้งหัวฉีดน้ำมันเสียใหม่ ให้มีแรงดันที่เหมาะสม

เพียงเท่านี้ ก็มีโอกาสสูงจะผ่านการตรวจ ตรอ ซึ่งอย่าลืมว่าวัตถุประสงค์ของการตรวจตรวจ ตรอ คือ เพื่อการเช็คคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่ต้องสมบูรณ์ในการใช้งานอย่างปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุทั้งของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทางถนนร่วมกัน หลังการตรวจ ตรอ จึงไม่ควรนำรถไปดัดแปลงจนทำให้ผิดเพี้ยนไปจากวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ก่อนต่อภาษีรถประจำปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์สี่ล้อส่วนบุคคล ขนาดเล็ก-ใหญ่ จำเป็นต้องนำรถไปตรวจ ตรอ หรือ “ตรวจสภาพรถเอกชน” ก่อน