BLOGS

CARTRACK อบรมวิธีใช้เทคโนโลยีช่วยขนส่งวัตถุอันตราย ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

CARTRACK จับมือ 2 องค์กรใหญ่ ให้ความรู้ขนส่งวัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยี

CARTRACK (คาร์แทรค) แท็กทีมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อ ขนส่งวัตถุอันตราย อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

บริษัท คาร์แทรค เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมเป็นวิทยากรพิเศษใน “หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์สินค้าอันตรายเพื่อการขนส่งข้ามแดนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CLMVT)” ด้วยรูปแบบการฝึกอบรมทางไกลหรือออนไลน์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

โครงการให้ความรู้โลจิสติกส์เฉพาะทางนี้ เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของ 2 องค์กรสำคัญในวงการขนส่งและแรงงาน ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานฯ

ซึ่งจะเชิญธุรกิจที่เกี่ยวข้องระดับชั้นนำเข้าร่วมให้ความรู้กับผู้เข้าอบรมด้วย โดยในโอกาสนี้ CARTRACK ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเฉพาะทางในหัวข้อ “สมาร์ท เทคโนโลยี (Smart Technology) เพื่องานขนส่งสินค้าอันตราย”

แนวความรู้ด้าน ขนส่งวัตถุอันตราย น่าสนใจจากหลักสูตรฯ

  1. ขนส่งวัตถุอันตราย บนทางบก มีความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุและความปลอดภัย ในระดับใกล้เคียงกันกับการขนส่งวัตถุประเภทอื่นๆ แต่ความเสียหายมากกว่า เนื่องจากเป็นวัตถุอันตราย
  2. การควบคุมผู้ขับขี่และการใช้ยานพาหนะจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  3. ระบบจัดการยานพาหนะ หรือ Fleet Management ซึ่งเป็น Telematics สามารถช่วยบริหารได้อย่างเป็นระบบ และบันทึกข้อมูลเพื่อปรับปรุงการทำงานต่อได้
  4. การบริหารผู้ขับขี่ เช่น จับและแจ้งเตือนพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หาวง่วงนอน สูบบุหรี่ ใช้โทรศัพท์ เหม่อลอย ขับจี้รถคันหน้า ฯลฯ ต่อผู้ขับขี่ทันทีที่เกิดพฤติกรรม และส่งภาพวิดีโอพร้อมรายละเอียดเข้าสู่ระบบข้อมูลยานพาหนะ
  5. การบริหารยานพาหนะ เช่น ควบคุมเวลาการใช้รถและผู้ใช้งาน เพื่อดูแลยาพาหนะไม่ให้ใช้งานเกินกำหนด และระดับความปลอดภัยของการใช้รถเพื่อขนส่งวัตถุอันตราย ซึ่งมีขีดจำกัดที่เข้มงวดกว่ารถขนส่งหรือรถบรรทุกวัตถุทั่วไป
  6. การบริหารผู้ขับขี่และยานพาหนะ จะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนที่สำคัญอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการขนส่งวัตถุอันตราย หรือเจ้าหน้าที่ที่บริหารยานพาหนะ ดึงข้อมูลมาใช้ประเมินคุณภาพการขนส่ง ทั้งในด้านผู้ขับขี่และยานพาหนะที่ใช้

สรุปประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อขนส่งวัตถุอันตราย

  1. ลดอุบัติเหตุ ซึ่งเท่ากับความเสียหายในด้านต้นทุนเงิน เวลา และบุคคล
  2. พัฒนาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและมีระบบที่จัดการได้ง่าย และส่งต่องานกันได้ง่าย เพราะหัวใจของการบริหารงานอยู่ในระบบเทคโนโลยีทั้งหมด
  3. เพิ่มผลกำไรต่อการลงทุน (ROI) โดยเฉพาะภาคธุรกิจหรือเอกชน ที่แนวโน้มการเพิ่มผลประกอบการในปัจจุบัน คือ การลดต้นทุนหรือค่าเสียหาย
  4. เพิ่มโอกาสการขยายธุรกิจหรือการลงทุน เมื่อการจัดการง่ายและเข้าที่เป็นระบบแล้ว การต่อยอดก็ทำได้ง่าย ทั้งเพื่อการพัฒนาเชิงภาครัฐและภาคเอกชน

CARTRACK ขอขอบคุณ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (HASLA) และ กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อีกครั้งในที่นี้ ที่มอบโอกาสการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่อง เทคโนโลยี Fleet Management เพื่อพัฒนาการขนส่งวัตถุอันตราย

หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนใด สนใจต้องการข้อมูลเทคโนโลยี Fleet Management เพื่อการใช้งานเฉพาะทาง CARTRACK ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือหรือคำปรึกษา โดยสามารถติดต่อฝ่ายการตลาดของ CARTRACK ได้ที่โทร 02-136-2929

Cartrack จับมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ความรู้ขนส่งวัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดด้วยการใช้เทคโนโลยี