BLOGS

Coordinates แปลว่าอะไร เกี่ยวข้องยังไงกับ GPS

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

เรื่องราวของพิกัด การบ่งบอกตำแหน่งบนพื้นโลก มีการทำงานอย่างไร และเราจะได้ทราบว่า Coordinates แปลว่า อะไร และเกี่ยวข้องกับ GPS อย่างไร

ตามพจนานุกรมแล้ว Coordinates แปลว่า พิกัด, ระยะจากเส้นที่กำหนดไว้ มักใช้ในความหมายทางคณิตศาสตร์ว่าค่าของตัวเลขที่ใช้อธิบายตำแหน่งของจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ส่วนระบบพิกัดคือวิธีการให้ค่าคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับแทนตำแหน่งของแต่ละจุดบนระนาบหรือปริภูมิโดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบ ซึ่งคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับหนึ่งชุดจะหมายถึงตำแหน่งเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น แต่เรื่องของพิกัดนั้นไม่ได้ถูกใช้ในทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางภูมิศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากว่าโลกนั้นมีลักษณะเป็นทรงกลมการแสดงจุดต่างๆออกมาในแผนที่ซึ่งราบเรียบนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ระบบพิกัดแผนที่ หรือ Map Coordinates นั่นเอง

Map Coordinates แปลว่า การอ้างอิงตำแหน่งของโลกจริงที่มีทรงกลมแล้ววาดลงมาบนแผนที่ซึ่งมีลักษณะแบนราบ มีลักษณะเป็นตารางซึ่งเกิดจากเส้นตรงสองชุดในแนวตั้งและแนวนอนตัดกัน โดยมีการกำหนดจุดกำเนิดของพิกัดเอาไว้ สำหรับค่าของพิกัดนั้นจะอ่านโดยนับออกมาจากจุดกำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) เส้นหนึ่งเป็นเส้นเหนือ-ใต้และอีกเส้นเป็นเส้นตะวันออก-ตะวันตก ปัจจุบันระบบพิกัดที่นิยมใช้ด้วยกัน 2 ระบบคือ

1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)

เป็นการใช้การกำหนดพิกัดของจุดต่างๆบนโลกด้วยเส้นละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude) หรือที่คนไทยรุ้จักในชื่อเส้นรุ้งเส้นแวงนั่นเอง

เส้นละติจูด (Latitude) – เป็นเส้นสมมติที่เป็นวงแนวนอนรอบโลก มีเส้นเริ่มต้นคือเส้นที่พาดผ่านกลางโลก เป็นเส้นที่ยาวที่สุดในบรรดาเส้นละติจูดทั้งหมดที่เราเรียกว่าเส้นศูนย์สูตรหรืออิเควเตอร์ซึ่งเราถือว่าเป็น องศาที่ 0 และจะมีค่าสูงสุดที่ 90 องศา ตรงบริเวณขั้วโลก เส้นละติจูดนั้นกำหนดขึ้นมาเพื่อแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและใต้ โดยเส้นที่อยู่เลยเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปจะเป็นซีกโลกเหนือ ส่วนเส้นที่อยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตรจะเป็นซีกโลกใต้ ซึ่งเวลาอ่านค่าเส้นละติจูดนั้นให้อ่านค่าเป็น xx องศาเหนือ xx องศาใต้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเส้นที่อยู่บริเวณซีกโลกไหน

ส่วนเส้นลองจิจูด (Longitude) – เป็นเส้นสมมติในแนวตั้ง มีเส้นเริ่มต้นที่เส้นที่ลากผ่านตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็น 0 องศา และมีค่าสูงสุดที่ 180 องศา เส้นลองจิจูดนี้นอกจากจะกำหนดขึ้นเพื่อแบ่งซีกโลกออกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกแล้วยังใช้ระบุพิกัดแล้วยังใช้เพื่อแบ่งเขตเวลาอีกด้วย เวลาอ่านค่าเส้นลองจิจูดนั้นให้อ่านค่าเป็น xx องศาตะวันออก xx องศาตะวันตก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเส้นที่อยู่บริเวณซีกโลกไหนเช่นกัน

เมื่อนำค่าละติจูดและลองจิจูด มาประกอบเข้าด้วยกันเราก็จะได้จุดตัดของเส้นกลายเป็นพิกัดของสถานที่ต่างๆบนโลกขึ้นมา ซึ่งในการบอกค่าพิกัดนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

  1. แบบ องศา-ลิปดา ( ddd° mm.mmm′ ) เช่น N 17° 30.269′ , E 098° 03.371′
    อ่านว่า สิบเจ็ดองศา สามสิบจุดสองหกเก้าลิปดาเหนือ , เก้าสิบแปดองศา สาม จุด สาม เจ็ด หนึ่ง ลิปดาตะวันออก
  2. องศา-ลิปดา-พิลิปดา ( ddd° mm′ss.s ″ ) เช่น N 17° 30′ 16.1″ , E 098° 03′ 22.3″
    อ่านว่าสิบเจ็ดองศา สามสิบลิปดา สิบหกจุดหนึ่งฟิลิปดาเหนือ , เก้าสิบแปดองศา สามลิปดา ยี่สิบสองจุดสามฟิลิปดาตะวันออก
  3. องศาแบบทศนิยม ( ddd.ddddd° ) เช่น N 17.50448° , E 098.05618°
    อ่านว่า สิบเจ็ดจุดห้าศูนย์สี่สี่แปดองศาเหนือ , เก้าสิบแปดจุดศูนย์ห้าหกหนึ่งแปดองศาตะวันออก

2) ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)

ระบบพิกัดกริดแบบ UTM จะตีเส้นตารางขึ้นมาเพื่อเป็นเส้นสำหรับกำหนดพิกัด โดยจำเป็นต้องแบ่งโลกออกเป็นโซนต่างๆในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ารวมทั้งโลกแล้วถึง 1,200 โซน การกำหนดชื่อโซนนั้น โซนที่ 1 อยู่ระหว่าง 180 องศา กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองติจูด 177 องศาตะวันตก ในแนวนอนมีเลขกํากับในแต่ละโซนเป็น 1 ถึง 60 โดย ส่วนในแนวตั้งเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไป ทางเหนือ ให้ช่องแรกเป็นอักษร C และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X (ยกเว้น I และ O) เมื่อเราใส่ทั้งตัวอักษรและตัวลงไปจนครบเราก็จะได้ชื่อโซนทั้งหมด ซึ่งเวลาอ่านให้อ่านตัวเลขก่อนตัวอักษร เช่น 47Q ซึ่งหมายถึง ช่องที่อยู่โซนแนวตั้งที่ 47 และอักษรกำกับโซนในแนวนอนที่ Q นั่นเอง

สำหรับการใช้งานระบบพิกัดกริดแบบ UTM ที่ต้องแบ่งโลกออกเป็นโซนต่างๆ เนื่องจากระบบ UTM นั้น เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่กว้างนักจะให้ข้อมูลที่ละเอียดแม่นยำ การกำหนดโซนขึ้นแล้วหยิบมาใช้งานเฉพาะส่วนจึงมีความสำคัญมากไม่เช่นนั้นจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งส่วนมากระบบพิกัดกริดแบบ UTM มักจะใช้งานในหน่วยงานของทหารและราชการเพื่อให้เกิดความแม่นยำสูงในการปฏิบัติงานนั่นเอง

โดยสรุปแล้ว Coordinats แปลว่า พิกัด ซี่งในทางภูมิศาสตร์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยบอกตำแหน่งของสถานที่ต่างๆให้คนอื่นๆได้ทราบอย่างแม่นยำ เมื่อนำมาใช้งานร่วมกับระบบGPSก็จะทำให้สามารถบอกพิกัดของสถานที่ต่างๆได้ถูกต้องทำให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้เป็นสูงสุด

เรื่องราวของพิกัด การบ่งบอกตำแหน่งบนพื้นโลก มีการทำงานอย่างไร และเราจะได้ทราบว่า Coordinates แปลว่า อะไร และเกี่ยวข้องกับ GPS อย่างไร