แค่พูดขึ้นมาว่า GPS ทุกคนคงคุ้นเคยกันอย่างดี ถ้าเอาแบบพื้นฐานง่ายๆ ทางความเข้าใจของคนทั่วไปแบบเราๆ ท่านๆ ที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญอะไรมากมายในเรื่องพวกนี้หรือไม่ได้รู้เบื้องลึกอะไรมาก GPS เปรียบได้กับแผนที่นำทางที่จะนำทางให้กับเราไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่ง GPS นั้นไม่ได้ทำหน้าที่แค่เรื่องของการนำทางเพียงอย่างเดียว แต่มันยังบอกถึงพิกัดบนโลกใบนี้ได้อย่างดีอีกด้วย
นี่คือความเข้าใจหลักๆ ทั่วไปที่เรารู้กัน .. อย่างไรก็ตามหากลองเจาะลึกลงไปถึงความเข้าใจแบบถ่องแท้ทั้งเรื่องของ GPS เอง หรือพิกัดต่างๆ ของ GPS จะรู้ว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องพื้นที่เพียงอย่างเดียวแต่มันยังมีสิ่งน่าสนใจให้ทุกๆ คนได้ค้นหา เรียนรู้ ทำความเข้าใจกันอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องราวของพิกัด GPS ที่อยากให้ทุกคนได้รับรู้ถึงอีกแง่มุมซึ่งอาจคาดไม่ถึงมาก่อนว่าจะเป็นแบบนี้ได้จริง ต้องบอกว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งน่าสนใจที่อยากให้คนเข้าใจมากขึ้น
เริ่มเข้าใกล้เกี่ยวกับเรื่องของ พิกัด GPS ขึ้นทุกที ส่วนนี้มาพูดกันถึงเรื่องระบบการทำงานของ GPS อย่างที่รู้กันแล้วว่าตอนนี้โลกของเราใช้ระบบ GPS ผ่านดาวเทียมบนอวกาศของสหรัฐฯ ชื่อว่า NAVSTAR มีดาวเทียมทั้งสิ้น 24 ดวง แบ่งออกเป็น 6 รอบวงโคจร การโคจรจะเอียง 55 องศา ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรในลักษณะการสานต่อกันเหมือนลูกตะกร้อ
แต่ละวงโคจรจะมีดาวเทียม 4 ดวง แต่ละดวงใช้เวลาในการโคจร 12 ชั่วโมง ด้านการทำงานจะทำโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง อันประกอบไปด้วยข้อมูลสำหรับระบุตำแหน่งพร้อมเวลาขณะมีการส่งสัญญาณ
ส่วนตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะทำการประมวลผลความแตกต่างของเวลาตอนรับสัญญาณมาเทียบกับเวลาจริงตอนนี้เพื่อทำการแปรให้กลายเป็นระยะทางระหว่างตัวเครื่องรับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง นั่นคือการระบุตำแหน่งสัญญาณเบื้องต้นที่พอเข้าใจกันได้
เพื่อให้ GPS มีความแม่นยำมากขึ้นในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียมทำให้ต้องมีดาวเทียมต่ำๆ 4 ดวง สำหรับการบอกตำแหน่งบนผิวโลกโดยใช้ระยะห่างดาวเทียม หากดาวเทียมห่างกันเท่ากับว่าให้ค่าความแม่นยำดีกว่าดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน ยิ่งมีตัวดาวเทียมรับสัญญาณมากนั่นหมายถึงความแม่นยำย่อมมีมากตามไปด้วย
เรื่องความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศอันประกอบไปด้วยความชื้น, อุณหภูมิ, ประจุไฟฟ้าและความหนาแน่น สิ่งเหล่านี้มีการแปรปรวนตลอด คลื่นเมื่อมีการตกกระทบกับวัตถุต่างๆ จะมีการหักเหส่งผลให้สัญญาณอ่อนลง
สังเกตง่าย ๆ เช่น ตอนที่เมฆมาก, พื้นที่โดนบดบังจากต้นไม้ใบไม้ในป่าใหญ่ นั่นหมายถึงสิ่งเหล่านี้มีผลต่อเรื่องของความแม่นยำในการกำหนด Positioning ของ GPS หากสัญญาณดาวเทียมเกิดการหักเหค่าที่คำนวณได้ตรงตัวรับสัญญาณจะไม่ได้เหมือนตอนปกติ
ท้ายที่สุดประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณว่ามีความรวดเร็วในการรับสัญญาณมากแค่ไหนรวมถึงความเร็วในการประมวลผลอาจคลาดเคลื่อนได้ด้วยเหมือนกัน
เรื่องความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศอันประกอบไปด้วยความชื้น, อุณหภูมิ, ประจุไฟฟ้าและความหนาแน่น สิ่งเหล่านี้มีการแปรปรวนตลอด คลื่นเมื่อมีการตกกระทบกับวัตถุต่างๆ จะมีการหักเหส่งผลให้สัญญาณอ่อนลง สังเกตง่าย ๆ เช่น ตอนที่เมฆมาก, พื้นที่โดนบดบังจากต้นไม้ใบไม้ในป่าใหญ่ นั่นหมายถึงสิ่งเหล่านี้มีผลต่อเรื่องของความแม่นยำในการกำหนด Positioning ของ GPS
หากสัญญาณดาวเทียมเกิดการหักเหค่าที่คำนวณได้ตรงตัวรับสัญญาณจะไม่ได้เหมือนตอนปกติ ท้ายที่สุดประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณว่ามีความรวดเร็วในการรับสัญญาณมากแค่ไหนรวมถึงความเร็วในการประมวลผลอาจคลาดเคลื่อนได้ด้วยเหมือนกัน
ตรงนี้เป็นเรื่องน่าสนใจมากๆ สำหรับคนที่ต้องการอยากรู้ว่าการบอกพิกัดหรือการทำงานของ GPS มีรูปแบบอย่างไรกันบ้าง สิ่งแรกที่ต้องมีคือผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ไม่ก็พวกอุปกรณ์นำทางต่างๆ
เมื่อมีการนำเครื่องออกไปใช้งาน จะต้องมีการเปิดรับสัญญาณพิกัด GPS ตัวโปรแกรมในเครื่องจะมีการแสดง positioning ล่าสุดของพื้นที่ที่เราอยู่ในปัจจุบัน แผนที่ใช้ในการนำทางจะเป็นแผนที่รูปแบบพิเศษที่มีการกำหนดสิ่งต่าง ๆ เอาไว้เพื่อให้คนใช้งานเข้าใจง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การจราจรชิดซ้าย, ชิดขวา, ข้อมูลเส้นทางเดินรถทางเดียว, จุดสำคัญต่าง ๆ ของทุกสถานที่, ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ฝังเอาไว้ในข้อมูลแผนที่
สิ่งเหล่านี้จะมีการสำรวจพร้อมตั้งค่าเอาไว้แบบตายตัวแล้ว มีการกำหนดเส้นทางจากจุดหมายไปยังเป้าหมายเพราะถูกกำหนดค่าเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นว่าที่เราใช้งานบอกพิกัด GPS กันอยู่ทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่ถูกตั้งค่าด้วยระบบอัตโนมัติทั้งสิ้น
เมื่อพูดถึงตัวพิกัด GPS ให้พอเข้าใจกันแล้ว หลายคนคงเริ่มสงสัยว่าแล้วเสียงที่เวลาเราได้ยินมันเป็นการนำทางที่สอดคล้องกันอย่างมาก เช่น เมื่อพิกัด GPS บอกว่าเส้นทางข้างหน้าต้องเลี้ยวขวา เสียงนำทางจะบอกต่อทันทีว่าให้เลี้ยวขวา
นั่นเพราะโปรแกรมได้มีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าเช่นกันว่าจะมีคำสั่งเตือนด้วยเสียงก่อนจุดเลี้ยวที่ระยะเวลาเท่าไหร่ เช่นเดียวกับการแสดงทิศทางที่มีการบอกเอาไว้ล่วงหน้าขึ้นอยู่กับจะกำหนดตำแหน่งบอกไว้กี่จุด ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมในการใช้บอกทาง บางโปรแกรมบอกแค่จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดสองจุด หรือคนใช้งานสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้กำหนดกี่จุด
สำหรับการกดเลือกเส้นทางเวลาเรากดใช้งานจะเกิดการคำนวณเส้นทางให้ทันทีโดยหลัก ๆ จะมีระบบการคำนวณเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดพร้อมเส้นทางอื่น ๆ ที่ระยะเวลาการถึงใกล้เคียงกัน 2-3 เส้นทางขึ้นอยู่กับว่ามีทางมากน้อยเพียงใด เมื่อกำหนดได้แล้วและเมื่อมีการเริ่มต้นออกเดินทาง โปรแกรมทุกตัวจะมีการแสดงสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาให้ได้เข้าใจกันตามที่อยู่จริง ๆ ที่กำลังอยู่ นั่นคือการแสดง positioning แบบชัดเจน
กรณีที่มีการออกนอกเส้นทางจาก GPS กำหนดไว้ จะมีการแจ้งเตือนเพื่อระบุให้รู้ว่าตอนนี้ตำแหน่งที่คุณกำลังไปไม่ถูกต้อง แต่ถ้าหากเลยจากระยะการหันหลังกลับได้ GPS จะมีการคำนวณค่าตำแหน่งใหม่เพื่อให้รถวิ่งไปตามเส้นทางใหม่จนถึงจุดหมายให้ได้ นี่คือสิ่งที่ทุกคนสามารถพบเจอได้เมื่อเริ่มต้นใช้งาน GPS
อีกจุดน่าสนใจสำหรับการใช้งานพิกัด GPS คือ เมื่อเรามีการคำนวณเส้นทางระหว่างต้นทางไปจนถึงปลายทาง ผู้ใช้งานทุกคนสามารถดูสรุปเส้นทางต่างๆ พร้อมกำหนดระยะเวลาเบื้องต้นที่ GPS กำหนดมาให้ได้เลย ขณะที่โปรแกรมนำทางบางโปรแกรมสามารถกำหนดจุดแวะตามที่ตนเองต้องการได้ด้วย
ลักษณะแบบนี้การนำทางจะพยายามสร้างเส้นทางให้เหมาะสมที่สุด เช่น ต้องการเดินทางไปปลายทางแห่งหนึ่งแต่มีจุดแวะคนละเส้นทาง พิกัด GPS จะบอกเราว่าหากต้องการไปจุดแวะก่อนต้องวิ่งเส้นทางไหนแล้วจากจุดแวะไปยังปลายทางต้องใช้เส้นทางไหน เป็นการระบุรายละเอียดที่คำนวณเอาไว้ล่วงหน้า
จุดนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายต่อการเดินทางมากที่สุด หรือบางโปรแกรมก็มีความล้ำหน้าขึ้นไปอีก เช่น เลือกได้ว่าต้องการผ่านหรือไม่ผ่านทางหลวง , ค่าผ่านทาง , ทางเลี่ยงเมือง , ทางกลับรถเยอะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการทำงานของระบบบอกพิกัด GPS ซึ่งทำให้คนยุคนี้เดินทางกันง่ายมากขึ้นเยอะ ไม่ต้องศึกษาแผนที่เองหลงเองเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป เพียงแค่เปิดระบบบอกพิกัด GPS เท่านั้น ก็เดินทางไปได้ทุกเส้นทาง
ปกติการใช้งานระบบบอกพิกัด GPS จำเป็นต้องมีเครื่องรับสัญญาณพร้อมหน่วยประมวลผล โปรแกรมแผนที่ ปิดท้ายด้วยข้อมูลของแผนที่ ทั้งหมดนี้มักขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการเลือกนำไปใช้งานตามรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม เรื่องค่าใช้จ่ายในการรับสัญญาณจากดาวเทียมไม่มี
แต่กรณีใช้งานลักษณะประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายส่วนแผนที่นั้น ๆ ต่างกันออกไป ทั้งนี้อยู่ที่บริษัทผู้ทำแผนที่ขึ้นมา สำหรับประเทศไทยเองมีค่ายดัง ๆ เช่น GARMIN , POWER MAP , SpeedNavi แต่ละค่ายจะมีจุดเด่นในการนำแผนที่มามีส่วนร่วมกับการใช้งานต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถนำแผนที่ต่างค่ายมาใช้งานร่วมกันได้
เนื่องจากตัวแผนที่เองมีความเฉพาะตัวซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานคนละประเภทกัน พูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือ เราไม่สามารถใช้แผนที่จากตัวหนึ่งไปใส่กับอีกตัวหนึ่งได้ หากต้องการใช้จริงๆ ต้องแจ้งทางบริษัทแล้วทางบริษัทจะมีการให้รหัสมาเพื่อเอาไว้ใช้งาน
จุดเริ่มต้นของการสร้างแผนที่มาจากการใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียมมาต่อซ้อนๆ กันลักษณะคล้ายกับการต่อจิ๊กซอว์ เหตุผลเพื่อต้องการให้เห็นภาพรวมของภูมิประเทศ จากนั้นมีการนำไปกำหนดจุดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์กลายมาเป็นค่าพิกัดดาวเทียม ต่อมาเกิดการสร้างข้อมูลต่างๆ ใส่ลงไป เช่น สถานที่สำคัญ , ถนน , จุดสนใจ เป็นต้น
เมื่อครบถ้วนแล้วจะนำมาประกอบกันกลายเป็นแผนที่นำทาง อย่างไรก็ตามเรื่องของการสร้างข้อมูลด้านภูมิศาสตร์จำเป็นต้องใช้บุคลากรกับทรัพยากรอย่างมากสำหรับสำรวจภาคสนาม อีกประเด็นคือมันจำเป็นต้องทำประจำเนื่องจากบนโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ต้นทุนสูงมาก สิ่งเหล่านี้ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นระบบที่เราเห็นและใช้งานกันอยู่ปัจจุบัน
แต่ทุกวันนี้เรามักเห็นว่าการบอกพิกัด GPS ในเครื่อง จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครันในตัวอยู่แล้ว ถือว่าสร้างความสะดวกสบายในการใช้งานอย่างมาก อีกทั้งมีความเสถียรสูงทั้ง PND (Personal / Portable Navigation Device) กับอีกแบบเป็นการใช้ GPS Receiver ร่วมกับ PDA (Personal Digital Assistant / Pocket PC / Notebook / Smartphone) เป็นต้น
ขณะเดียวกันถ้าเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ จะมีรูปแบบของพิกัด GPS ให้เลือกใช้งานหลายรุ่น ช่วยสร้างความสะดวกสบายต่อการใช้งานอย่างยิ่งโดยเฉพาะคนที่ไม่ชินเส้นทางหรือมีปัญหาหลงทางบ่อย ๆ หรือต้องการไปยังสถานที่ที่ตนเองไม่เคยไปมาก่อน
อีกความน่าสนใจคือยังมีอุปกรณ์เสริมบางตัว อาทิ เสารับสัญญาณภายนอกแบบติดเครื่องต่อเครื่อง , ตัวกระจายคลื่น สิ่งเหล่านี้จะช่วยบอกพิกัด GPS ได้ในกรณีอยู่ตรงพื้นที่อับสัญญาณ เช่น พื้นที่ในป่าลึก , พื้นที่ต่างจังหวัด , นั่งในรถที่ติดฟิล์มอันมีส่วนผสมของสารโลหะหนักประกอบอยู่ (สารโลหะหนักที่เรามักเรียกติดปากว่า ฟิล์มฉาบปรอท)
แม้แต่ในอาคารบางแห่งที่พื้นที่ปิดสนิทมาก ไม่สามารถหาสัญญาณได้ ตัวช่วยเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากกับการติดตัวไว้ใช้งาน
หากคิดเพียงเผิน ๆ เราคงคิดว่าพิกัด GPS มีหน้าที่ไว้แค่บอกเส้นทางให้เราเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ถูกต้อง ปลอดภัย ไร้ปัญหาด้านการเดินทาง แต่ใครจะคาดคิดว่าการใช้งาน GPS มันมีดีมากกว่าเรื่องราวเหล่านี้อีกเยอะ คือทั่วไปแล้วมันก็คือการบอกพิกัดต่าง ๆ เพียงแต่เรื่องของการบอกพิกัดดังกล่าวนี้มันยังสร้างประโยชน์อื่น ๆ จากการนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจมาก ๆ จะมีเรื่องอะไรบ้างมาตามดูกันได้เลย
สิ่งเหล่านี้คือวิธีนำเอาพิกัด GPS มาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างสิ่งที่มองภาพได้ชัดเจนมากคือการใช้กับงานธุรกิจประเภทขนส่ง การมี GPS นอกจากทำให้คนเป็นเจ้าของสบายใจแล้ว ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเองยังอุ่นใจด้วยเมื่อสามารถตรวจสอบเส้นทางของรถได้ตลอดเวลา
ไม่ต้องมานั่งเครียด ปวดหัว ว่าสินค้าจะถึงมือผู้รับหรือไม่ ตอนนี้ตกค้างบริเวณใดหรือเปล่า นับเป็นสิ่งดี ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นเพื่อให้คนทั่วไปได้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ใช่แค่การนำทางทั่วไปเหมือนแต่ก่อน นับว่าช่วยสร้างสิ่งดีๆ ให้กับเราเยอะมากเลยทีเดียว
ธุรกิจขนส่งในยุคที่การติดต่อสื่อสารไวยิ่งกว่าจรวด มีการซื้อขายสินค้าผ่านโลกออนไลน์มากมายโดยคนซื้อกับคนขายเองไม่จำเป็นต้องพบหน้ากัน ดังนั้นคนกลางในการทำให้สินค้าดังกล่าวรับจากผู้ขายไปส่งยังมือผู้ซื้อได้ก็คือ ‘กลุ่มงานขนส่ง’
ความน่าสนใจก็คือในอดีต เวลาเราสั่งซื้อของแล้วมีของมาส่ง บางครั้งมันไม่ตรงกับเวลาที่เราต้องการ ตรวจสอบสถานะต่างๆ ก็ไม่ได้ ทำให้ทั้งคนขายและคนซื้อเองต่างก็เกิดความกระวนกระวายใจไม่น้อย เพราะเป็นใครคงไม่อยากให้เกิดปัญหาผิดพลาดต่าง ๆ ตามมา ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานขนส่งจำนวนมากเลยนิยมเลือกเอาวิธีการบอกพิกัด GPS ของรถที่กำลังเดินทางอยู่เป็นตัวช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น ติดตามงานได้ง่ายมากขึ้น เพราะเมื่อติดตั้งไปแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่ารถคันนี้วิ่งอยู่ตรงส่วนไหน ตรงกับเส้นทางจริงที่ให้ไปส่งหรือไม่ เมื่อใดก็ตามที่วิ่งออก
เรื่องราวของพิกัด และ พิกัด GPS ว่ามีที่มาอย่างไร รายละเอียดเกี่ยวกับพิกัดที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน รวมไปถึงวิธีการทำงานของระบบ GPS