BLOGS

GNSS คืออะไร??

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

GNSS ย่อมาจากคำว่า Global Navigation Satellite System ซึ่งเป็นคำที่ทั่วโลกใช้เรียกระบบดาวเทียมที่มีการเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และระบบดาวเทียมที่มีการวางแผนจะเปิดให้บริการในอนาคต ซึ่งดาวเทียมต่าง ๆ ในระบบ GNSS ประกอบด้วย

  1. GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบแรกของโลกที่ออกแบบโดยประเทศสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมทั่วโลกทั้งหมด 28 ดวง
  2. GLONASS เป็นระบบดาวเทียมของประเทศรัสเซียมีดาวเทียมทั่วโลกทั้งหมด 24 ดวง
  3. Galileo เป็นระบบดาวเทียมของสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งระบบจะมีดาวเทียมทั่วโลกทั้งหมด 30 ดวง ภายในปี 2020

GNSS เป็นระบบนำทางด้วยดาวเทียม เป็นคำมาตรฐานทั่วไปที่ใช้เรียกแทนคำว่า Satellite Navigation System (Sat Nav) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลพิกัดบนผิวโลกโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับสัญญาณเพื่อคำนวณและแสดงพิกัดตำแหน่ง ณ จุดที่ตัวรับสัญญาณตั้งอยู่ ส่วน GPS ที่ทุกคนรู้จักว่าเป็นระบบนำทางนั้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ GNSS

ในปี 1990 สหภาพยุโรปได้มีการพัฒนาระบบนำร่อง GNSS (Global Navigation Satellite Systems) โดยแบ่งออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสที่ 1 มีชื่อเรียกว่า GNSS – 1 หรือ EGNOS (European Geostationary Navigation Overlay Service) สำหรับเฟสที่ 2 ถูกเรียกว่า GNSS – 2 หรือ Galileo

GNSS – 1 หรือ EGNOS

เป็นระบบนำร่องที่ใช้ดาวเทียมสื่อสาร 3 ดวงโคจรในวงโคจรค้างฟ้าทำการส่งสัญญาณและข้อความนำร่องที่มีความแม่นยำสูงให้กับผู้ใช้ในทวีปยุโรปโดยเฉพาะ การทำงานของระบบเริ่มต้นจากสถานีภาคพื้นดินทำการรับสัญญาณ GPS แล้วนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้ศูนย์ควบคุมหลัก Master Control Centre เพื่อประมวนค่าความผิดพลาดของสัญญาณ GPS แล้วทำการแก้ไข และส่งข้อความที่มีความแม่นยำขึ้นสู่ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อทวนสัญญาณดังกล่าวให้กับผู้ใช้

GNSS – 2 หรือ Galileo

เป็นระบบนำร่องสำหรับพลเรือนที่มีศักยภาพเทียบเท่า หรือดีกว่า GPS ระบบ Galileo ประกอบด้วยดาวเทียม 30 ดวง โคจรใน 3 วงโคจร ที่ความสูง 23,222 กิโลเมตร และสามารถให้บริการครอบคลุมได้ถึงละติจูดที่ 75 องศาเหนือ ระบบนำร่อง Galileoได้ถูกออกแบบให้บริการได้ถึง 4 ประเภท

เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้พลเรือนที่มีความหลากหลาย และสนับสนุนภารกิจด้านการค้นหาและช่วยชีวิต จากความต้องการที่หลากหลาย ทำให้ช่องสัญญาณที่ต้องถูกแพร่โดยดาวเทียม Galileo มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยรวมแล้วมีทั้งสิ้น 11 สัญญาณ

โดยแบ่งได้เป็น 10 สัญญาณสำหรับการนำร่องและ 1 สัญญาณสำหรับสนับสนุนภารกิจด้านการค้นหาและช่วยชีวิต SAR แถบความถี่ของสัญญาณ Galileo ทั้ง 11 สัญญาณ บางสัญญาณใช้ความถี่ร่วมกับระบบ GPS อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีและการใช้งานการที่ระบบทั้งมีการใช้ความถี่ร่วมกันไม่น่าจะประสบปัญหาเนื่องจากใช้การเข้ารหัสที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ในระบบ GNSS ยังจะประกอบไปด้วยระบบ GLONASS ชื่อเต็มคือ Global Navigation Satellite System เป็นของสหพันธรัฐรัสเซีย ประกอบด้วยดาวเทียม 30 ดวง ที่วงโคจรสูง 19,130 กม. GLONASS เป็นระบบนำทางที่ใหญ่ที่สุดที่จะสามารถช่วยให้คุณติดตามตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ

โครงการ GLONASS เปิดตัวในปี 1982 และยังคงมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ระบบ GLONASS คือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยหลักการ Satellite-based radio navigation เช่นเดียวกับระบบดาวเทียม GPS หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลระบบ GLONASS คือ Ministry of Defense of Russian Federation

โดยเมื่อสมบูรณ์แล้วระบบจะประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 24 ดวง โคจรในระนาบ 3 ระนาบที่ทำมุม 64.8° กับระนาบศูนย์สูตร ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับ GPS แต่เนื่องจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจได้ส่งผลให้จำนวนดาวเทียม GLONASS จำนวนหนึ่งที่ถูกสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้รับงบประมาณให้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ทำให้ระบบ GLONASS ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้เทียบเท่ากับระบบ GPS

วงโคจรของดาวเทียม GLONASS อยู่ที่ระดับความสูง 19,130 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระบบดาวเทียม GPS อยู่ 1,000 กิโลเมตร ดาวเทียม GLONASS มีรอบวงโคจรใช้เวลา 11 ชั่วโมง 15 นาที 44 วินาที หรือ 8/17 ของเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ

ซึ่งทำให้ดาวเทียม GLONASS ดวงเดิมจะมาอยู่ ณ ตำแหน่งเดิมบนพื้นดินโลกจะต้องใช้เวลานานถึง 8 วันหรือใช้เวลาโคจรรอบโลก 17 รอบ ในเดือนกันยายน 2015 มีดาวเทียม GLONASS ทั้งสิน 28 ดวง แต่สามารถเปิดงานได้ 24 ดวง คลื่นสัญญาณของดาวเทียมในระบบ GLONASS ใช้การส่งคลื่นในรูปแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) ทำให้ดาวเทียมในระบบ GLONASS ทุกดวงมี C/A Code และ P – Code เหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่ช่วงความถี่

นอกจากสหรัฐอเมริกา (GPS) รัสเชีย (GLONASS) และกลุ่มสหภาพยุโรป (EGNOS และGalileo) แล้วที่มีระบบดาวเทียมนำร่องเป็นของตนเอง ประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ อาทิเช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ก็ล้วนประกาศออกมาแล้วว่าจะดำเนินการสร้างระบบดาวเทียมนำร่องตนเองขึ้น โดยมีชื่อที่เรียกขานแตกต่างกันออกไป ได้แก่ Beidou หรือ Compass ของประเทศจีน QZSS (QuasiZenith Satellite System) ของญี่ปุ่น และ IRNSS (Indian Regional Navigational Satellite System) ของอินเดีย

ความแตกต่างระหว่างระบบ GPS และ ระบบ GLONASS

  • ระบบดาวเทียมนำร่อง GPS ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ระบบดาวเทียมนำร่อง GLONASS นั้นถูกพัฒนาขึ้นในสหภาพโซเวียต
  • ยังไม่มีข้อได้เปรียบที่แน่ชัดในเรื่องของความแม่นยำ ว่าระบบ GPSจะมีความแม่นยำกว่า ระบบ GLONASS แต่ถ้าเมื่อใช้เพียงแค่ระบบ GLONASS จะไม่มีความสามารถพอที่จะครอบคลุมเหมือนกับระบบ GPS แต่เมื่อไหร่ที่ใช้ด้วยกันทั้งคู่จะเป็นการช่วยเพิ่มความแม่นยำพร้อมทั้งการครอบคลุมที่มากพอ เช่น เมื่อสัญญาณ GPS ขาดหายระหว่างที่อยู่ในตึกใหญ่ๆหรือบริเวณรถไฟใต้ดิน จะสามารถตรวจจับได้โดยดาวเทียมของระบบ GLONASS อย่างแม่นยำ
  • ดาวเทียมนำร่องระบบ GLONASS จะใช้งานได้ดีกว่าเมื่อใช้ในบริเวณพิกัดที่อยู่ในด้านละติจูดเหนือ

นิยามหรือคำจำกัดหรือความหมายของ “GNSS” โดยภาพรวมแล้วจะหมายถึง ระบบดาวเทียมนำร่อง หรือระบบนำร่องโดยใช้กลุ่มดาวเทียม ซึ่งระบบดังกล่าวจะให้บริการระบุตำแหน่งของผู้ใช้ที่อยู่บนพื้นผิวโลกครอบคลุมทั้งโลกในขณะที่ GLONASS เป็นระบบหนึ่งที่อยู่ในระบบดาวเทียม GNSS เป็นระบบที่ใช้สำหรับนำทางเช่นเดียวกับระบบ GPS นั่นเอง

GNSS คือ ระบบนำร่อง โดยใช้ดาวเทียมในการรับส่งข้อมูลพิกัด ตำแหน่ง รวมไปถึงระบบการสื่อสาร พัฒนาโดยสหภาพโซเวียต ชื่อเต็มว่า Global Navigation Satellite System