คงจะรู้สึกคุ้นเคยกับคำว่า GPRS กันมามากพอสมควรเลยทีเดียวยิ่งคนยุคนี้ที่อะไรมันดูไฮเทค ใช้เทคโนโลยีเต็มไปหมดแค่คำๆ นี้ ใครไม่รู้จักคงเชยระเบิดแน่นอน แต่เอาเข้าจริงเมื่อถามรายละเอียดเบื้องลึกทำนองว่า GPRS คือ อะไร? คงเล่นเอางงกันไม่น้อย
เพราะแม้จะบอกว่ารู้จักแต่ส่วนใหญ่มักได้ยินแค่ชื่อที่มันคุ้นหู คุ้นเคย แต่ไม่ได้บ่งบอกว่าจะต้องรู้จักสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจัง นั่นจึงทำให้พอถามเข้าไปยันเบื้องลึกแล้วมีน้อยคนมากที่จะรู้ว่า GPRS คือ อะไร กันแน่
GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service ถือเป็นสิ่งธรรมดามากๆ ในวงการโทรคมนาคม มีการจัดให้ระบบนี้อยู่ในยุคทีเรียกว่า 2.5 G ซึ่งในอดีต 1 G หมายถึง มือถือทั่วไประบบอนาล็อก และ 2 G หมายถึง มือถือดิจิตอลยุคแรกเริ่ม
แม้ทุกวันนี้โลกของเราจะพัฒนาไปไกลในระดับ 3 G, 4 G แล้วก็ตาม แต่เรื่องของ GPRS ยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่มองไปคล้ายกับเป็นจุดกำเนิดของเทคโนโลยียุคใหม่นี้ก็ไม่ผิด
การใช้ระบบนี้เปรียบเสมือนการเริ่มต้นบริการอันแสนล้ำยุคของมือถือที่ไม่ได้มีการจำกัดเรื่องของการใช้เสียงเหมือนสมัยมือถือยุคแรกๆ ที่เราใช้งานกัน
ความสามารถพิเศษหลักๆ คือการส่งผ่านข้อมูลด้วยมือถือในความเร็วระดับ 172 Kbps เมื่อเทียบกับมือถือธรรมดายุคก่อนจะส่งผ่านข้อมูลด้วยมือถือได้แค่ 9.6 Kbps เท่านั้น
ความเร็วดังกล่าวจึงทำให้มือถือสามารถรองรับเรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ปัญหา ถือเป็นจุดเริ่มต้นสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายกันมากในสมัยนี้
สำหรับตัว GPRS พร้อมใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่เมื่อปี 2000 พอมาปี 2001 มีการทดสอบใช้บริการความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน จากแต่เดิมที่การรับส่งข้อมูลผ่านระบบ GSM และในตอนนั้นตัวเครื่องของ GSM เดิมยังไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้
ต่อมาอีกไม่กี่ปีโลกของเราก็เริ่มเข้าสู่ยุค 3 G จึงเรียกได้ว่า GPRS คือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ หลายด้าน ซึ่งหากให้สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นว่า GPRS คืออะไร สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเด็นหลักๆ ประกอบด้วย
นี่คือคำอธิบายจากคำถามที่ว่า GPRS คือ อะไร แบบเข้าใจง่าย ตรงประเด็นสุดๆ
ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปจริงๆ GPRS เปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารที่ช่วยให้โลกของเราแคบลงกว่าเดิมหลายเท่าแถมยังช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน
GPRS นับเป็นวิวัฒนาการการส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายเรียกว่า packet switching ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการสื่อสารข้อมูลแบบ CSD จากเครือข่าย GSM แรกเริ่มคือผู้ใช้งานมีทางเลือกใหม่ๆ สำหรับการสื่อสารแบบ packet-based
การขยายในส่วนขีดความสามารถของเครือข่าย CSD ให้มีการเพิ่มความสามารถในระบบ packet switching โดยข้อมูลต่างๆ ที่มีการรับส่งผ่าน GPRS จะถูกแบ่งออกเป็น packet ย่อยๆ อีก
แต่ละ packet จะมีข้อมูลระบบแหล่งที่มาอย่างสัมพันธ์กันเพื่อต้องการให้ประกอบกลับมาเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้ง
นึกภาพง่ายๆ เหมือนจิ๊กซอว์ที่ภาพมีการตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มาจากโรงงานบรรจุแพ็คเกจขายมา ทุกชิ้นส่วนจะคละเคล้ากันไปเมื่อถึงบ้านการต่อจะค่อยๆ ต่อทีละชิ้น สุดท้ายก็ได้ภาพออกมา การใช้งาน GPRS ก็มีลักษณะประมาณนั้น
เมื่อเข้าใจในรายละเอียดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของ GPRS กันแล้ว ขอมาพูดถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในช่วงก่อนจะมีการถือกำเนิด GPRS อย่างเป็นทางการ
ก่อนหน้านี้วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่เองได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านมือถือ รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า None Voice Application ตามมาอย่างต่อเนื่อง
เหตุผลของการพัฒนาเพื่อต้องการให้เกิดการสื่อสารระหว่างเคลื่อนที่ได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด จะสื่อสารผ่านเสียงพูด ข้อมูลเนื้อหา ได้ทุกอย่าง
นั่นทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือหันมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มากขึ้นยิ่งกว่าเก่าแถมยังช่วยให้โลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องด้วย
โดยเทคโนโลยีดั้งเดิมก่อนการพัฒนามาเป็น GPRS และอื่นๆ เริ่มต้นมาจาก
กระนั้นผู้ใช้บริการมือถือเองได้มองเห็นว่าการถ่ายโอนเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ของมือถือยังมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของความเร็วในการรับส่ง บวกกับปริมาณของข้อมูล นั่นทำให้เริ่มมีการพัฒนาเพื่อปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ความพิเศษที่เหนือกว่าคือ GPRS สามารถติดต่อด้วยเสียงตอนที่เรากำลังติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ต
นั่นหมายถึงว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารพร้อมกันได้ 2 ระบบ ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่จะทำได้หรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับมือถือแต่ละรุ่นด้วยในยุคนั้นที่ทำการผลิตออกมา
ถือเป็นอีกการพัฒนาที่น่าสนใจสุดๆ ของระบบ GPRS จากตรงนี้เราเห็นได้ชัดเจนว่า ระบบการทำงานของเทคโนโลยี มีขั้นตอนการสร้างขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจ
หลายคนคาดไม่ถึงเหมือนกันว่า จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้จะทำให้ GPRS ได้พัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นระบบ 3G, 4G ให้เราได้ใช้กันทุกวันนี้นั่นเอง
ตอนนี้เราพอเข้าใจกันแล้วว่า GPRS ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้มือถือใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ แต่เรื่องต่อไปนี้จะมาทำความเข้าใจให้ลึกขึ้นอีกว่าการใช้งาน GPRS เพื่อให้เกิดการเชื่อมโลกอินเตอร์เน็ตบนมือถือเป็นอย่างไร
GPRS ไม่ใช่ตัวเครือข่ายหรือตัวให้บริการที่จะให้บริการด้วยตนเองได้ แท้จริงแล้ว ตัวของมันเป็นเพียงแค่เครือข่ายรองรับให้กับบรรดาแอปฯ ต่างๆ ที่มีความต้องการใช้งานความเร็วให้มากขึ้นกว่าระบบ GSM ซึ่งเป็นระบบการรองรับในอดีต เมื่อเลือกใช้งานระบบ GPRS ต้องมีการต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็นตัว IP Network อีกทอดหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่เปิดใช้งานในระบบ GPRS ได้ต้องมีการติดตั้งระบบเครือข่ายหลักๆ 2 หน่วยด้วยกัน ได้แก่
อธิบายง่ายๆ คือ ทั้ง 2 ระบบนี้จะมีการเชื่อมต่อให้เข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่นๆ เป็นตัวกลางใช้ Radio Interface จาก Base Station ผ่านตัวควบคุมอย่าง PCU หรือ Pocket Control Unit โดยติดตั้งเอาไว้ที่ BSC หรือ Base Station Controller นั่นเอง
ความหมายชัดเจนคือมันมี 2 ระบบนี้เป็นตัวกลางสำคัญในการทำให้ GPRS สามารถเชื่อมต่อกับโลกของมือถือได้อย่างที่เห็นกันนั่นเอง
หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ GPRS ถือว่ามีประโยชน์ต่อการใช้งานด้านเทคโนโลยีของคนเราอย่างมาก มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
เชื่อหรือไม่ว่า ระบบ GPRS ยังคงใช้งานอยู่ ในยุคนี้ใครๆ ต่างก็คิดว่าระบบ GPRS แทบไม่ได้มีความหมายในการใช้งานแล้ว
แต่ในความเป็นจริง ระบบ GPRS เป็นระบบรับส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต จึงยังคงมีความสำคัญในยุคนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
โดยเฉพาะการนำไปใช้ร่วมกับระบบ GPS ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าระบบทั้ง 2 นี้ เป็นระบบเดียวกัน
การทำงานร่วมกันระหว่างระบบ GPS กับ GPRS สามารถใช้งานร่วมกันได้เนื่องจากมี PDA Phone + GPS บางรุ่นเลือกใช้ความสามารถในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของ GPRS เพื่อทำการดาวน์โหลดไดร์ฟเวอร์ของ GPS ในตัวเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับ GPS ได้อีกทางหรือที่เรียกกันว่า GPS Tracking
ลักษณะคือเป็นตัว GPS Hardware + GPRS วิธีการแบบนี้คือ จะส่งสัญญาณพิกัดของตนเองเข้าไปในอินเตอร์เน็ต ผ่านตัวระบบ GPRS ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ หรือคนเป็นเจ้าของ GPS Tracking
หัวใจหลักของการทำงานร่วมกันของ 2 ระบบ คือ เพื่อให้ระบุว่าสิ่งที่ตัว GPS Tracking เกาะติดตามไปนั้นเวลานี้อยู่ตรงไหน มีความเร็วในการเคลื่อนที่เท่าไหร่
GPS Tracking ที่มีเรื่องของ GPRS เข้ามาเกี่ยวข้องจึงมักนิยมใช้กับเรื่องการขนส่ง เช่น รถขนเงินธนาคาร, รถขนน้ำมัน, รถขนสินค้าของบรรดาบริษัทใหญ่ๆ
แต่ปัญหาคือ ระบบดังกล่าวนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมากๆ แถมยังมีเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติเข้ามาเป็นตัวเกี่ยวข้องอีก
อย่างไรก็ตามหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งได้เริ่มมีการใช้งานระบบดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่กำลังออกเดินทางไปส่งจะถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ไร้กังวล
ยิ่งในยุคนี้สิ่งที่เราพบเห็นกันมากเมื่ออินเตอร์เน็ตกลายเป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ คือ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ ถ้าหากเป็นสินค้าทั่วๆ ไป ราคาไม่ได้แพงมากมันคงไม่มีปัญหา
แต่สำหรับสินค้าบางชนิดที่มีราคาสูงการใช้บริการบริษัทขนส่งที่มีมาตรฐานตรงนี้จะช่วยทำให้มั่นใจได้ทั้งผู้ส่งกับผู้รับว่าไม่มีปัญหาแน่นอน
เนื่องจากระบบตรงนี้จะช่วยให้รู้ความเคลื่อนไหว ทำงานได้ง่ายมากขึ้น
สำหรับการเลือกระบบนี้มาใช้งานของบริษัทขนส่งหลายๆ แห่ง เรามักสังเกตได้ชัดเจนอีกอย่างคือระบบ GPRS ดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้เพื่อตรวจสอบรถยนต์นั้นจะมีในรถบรรทุกหรือรถส่งของ เป็นส่วนใหญ่
แต่นอกจากรถเหล่านี้จริงแล้วยังสามารถนำไปใช้งานกับรถจักรยานยนต์, เรือ หรือแม้แต่การทำงานของเครื่องจักรอย่างเครื่องโม่ปูน เครนยก ก็ทำได้เช่นกัน
อย่างที่กล่าวเอาไว้ในเรื่องก่อนหน้าว่าแม้ระบบ GPRS อาจถูกมองว่าไม่ค่อยได้รับความสนใจเหมือนเมื่อก่อนมากนัก เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น
แต่กระนั้นเรายังคงเห็นกลุ่มคนที่นำประโยชน์ตรงนี้ไปใช้งานได้อย่างน่าสนใจอย่างการนำไปใช้ในงานด้านการขนส่ง เช่น
ทุกวันนี้การใช้งานตัว GPS Tracking จะมีด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบเสียเงินแบบรายเดือนกับระบบซิมการ์ด เอาไว้ใช้ทำงานร่วมกับสัญญาณมือถือหรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ตรงนี้เองที่ GPRS จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมาก สามารถแยกความน่าสนใจของการทำงานออกมาได้ดังนี้
นี่คือเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ GPRS เป็นเรื่องราวความน่าสนใจดีๆ ที่นำมาฝากกันสำหรับคนยุคใหม่ที่ยังคิดอยู่ว่า GPRS กับ GPS มันคือหลักการใช้งานเดียวกันอยู่
เมื่ออ่านจบแล้วคงพอจะทำให้รู้ทันทีว่า GPRS คืออีกเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นมาจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีหลายส่วน
GPRS อาจไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดในโลกแต่ถ้าเราไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากตรงนี้เลยทุกวันนี้ คงไม่เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ไร้ความสะดวกสบายเหมือนได้รับอย่างทุกวันนี้แน่นอน
อยากทราบระบบ GPS Tracking พร้อมระบบจัดการยานพาหนะรอบด้าน ทั้งความปลอดภัย การดูแลคุณภาพสินค้า มาตรฐานการทำงาน และที่สำคัญการลดต้นทุนธุรกิจ ติดต่อคาร์แทรค 02-136-2929 หรือคลิกกรอกข้อมูล ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับฟรีที่ปุ่มด้านล่างนี้
GPRS คืออะไร ต่างกับ GPS ยังไง มาทำความรู้จักกับ GPRS อย่างละเอียด ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้หรือคาดไม่ถึงกัน!