“อยู่ตรงไหน แชร์โลมาเดี๋ยวไปหา” เราคงพูดกับเพื่อนกันบ่อยๆเมื่อนัดเจอกันในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือหากันไม่เจอ นับตั้งแต่ Smartphone ติดตั้งระบบ GPS เข้าไปในตัวเครื่องมือถือ ก็ทำให้เราสามารถรับและส่ง ”โล” หรือเรียกเต็มๆว่า GPS Location กันได้โดยผ่านแอปลิเคชันต่างๆกันได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การนัดพบกัน หรือมองหากันไม่เป็นเรื่องยากอย่างสมัยก่อนที่ต้องทั้งหาจุดสังเกต บอกทิศทางกันวุ่นวาย แต่ GPS Location นั้นไม่ได้มีประโยชน์เพียงการแชร์ ”โล” มาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆได้อีกด้วย ไม่ว่าจะด้านการท่องเที่ยว กีฬา การประชาสัมพันธ์หรือการกู้ภัยเป็นต้น
พูดได้เต็มปากว่า ระบบ GPS จำเป็นมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากทุกอย่างในยุคนี้ ทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ตในรูปแบบออนไลน์ และง่ายดายมากขึ้นจากมือถือ หรือสมาร์ทโฟน ผู้คนรู้จักสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เที่ยว ที่กิน หรือสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆเยอะมากขึ้นจากรีวิวบ้าง จากโฆษณาบ้าง ทำให้เกิดการตามไปยังสถานที่่ต่างๆได้สะดวก เพราะร้านค้า หรือโฆษณาเหล่านั้น จะกำกับสถานที่ ในรูปแบบ แผนที่ GPS ที่สามารถกดเข้าดูตำแหน่งที่ตั้งโดยละเอียด และเดินทางตามไปได้ง่ายมากๆ ทำให้การแชร์โลเคชั่น หรือการแชร์สถานที่ที่เราต้องการให้ผู้อื่นทราบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้มากมายหลายอย่าง ทีนี่ก็ไม่ต้องกลัวหลงหรือต้องมานั่งจำชื่อถนนยากๆอีกต่อไป แค่เราเดินทาง หรือเดินรถไปตามเส้นทางของ แผนที่ GPS ที่ถูกแชร์ GPS Location เอาไว้ ทีนี่ก็สบายหมูล่ะ
GPS Location ที่เรานำมาแชร์กันนั้นมักจะปรากฏเป็นรูปหมุดปักอยู่บนแผนที่เพื่อแสดงพิกัดให้เห็น แต่ในความจริงGPS Location เกิดจากการแปลงค่าของพิกัดละติจูดและลองจิจูดออกมาแล้วแสดงตำแหน่งบนแผนที่เป็นหมุดปักอีกทีนึง ซึ่งระบบพิกัดที่นิยมใช้กันนั้นจะเป็นพิกัดภูมิศาสตร์ซึ่งมีหน่วยเป็น องศา ( ° ), ลิปดา ( ´ ) และ ฟิลิปดา ( ̋ ) โดย 1 องศา = 60 ลิปดา และ 1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา ซึ่งการแสดงผลนั้นจะเริ่มจากการแสดงค่าละติจูดก่อนว่าเป็นทางซีกโลกเหนือ (N) หรือใต้ (S) แล้วจึงตามด้วย การแสดงค่าลองจิจูดว่าอยู่ทางตะวันออก (E) หรือตะวันตก (W) ตามหลัง แล้วเราจะได้จุดที่เส้นทั้งสองตัดกันกลายเป็น GPS Location นั่นเอง
สำหรับรูปแบบการแสดงผลของพิกัดภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้นั้นจะมีด้วยกัน 3 แบบ ซึ่งเป็นการหาค่าพิกัด ที่มาจากการคำนวณค่าองศา ลิปดา ฟิลิปดา ดังนี้
1. แบบ Decimal Degree (ddd.ddddd°)
2. แบบ Degree and Decimal Minute ( ddd° mm.mmm′)
3. แบบ Degree Minute and Decimal Second (ddd° mm′ss.s ″)
ซึ่งค่า GPS Location เหล่านี้เรามักกำหนดการแสดงค่าในตัวเครื่องรับ GPS ได้ว่าต้องการให้แสดงผลแบบไหน แต่หากเป็นในแอปลิเคชันนำทางยอดนิยมอย่าง Google Maps และ แอปลิเคชัน Social Network อื่นๆเช่น Facebook , Line จะถูกกำหนดให้แสดงค่าเป็นแบบ Decimal Degree มาอยู่แล้ว
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พิกัด หรือการอ่านค่าพิกัดองศาตามตัวอย่างข้างบน สามารถตามไปอ่านกันต่อได้ที่ GPS Coordinates หรือ หาพิกัดสถานที่
เมื่อเราทราบวิธีการอ่านค่า GPS Location ต่อไปเรามีดูการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากการรู้ค่าพิกัดกัน
นอกจากประโยชนที่กล่าวมาแล้ว GPS Location ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับการใช้ในสถานการณต่างๆ ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคต่างๆเริ่มถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นทั้งการต่อ Wifi , GPS หรือ Bluetooth ทำให้เราสามารถใช้ GPS Location กับสิ่งต่างๆได้มากมาย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตของเราอย่างมากทีเดียว
สมัยนี้การใช้ GPS Location เป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้ว ไม่ว่าจะนัดเพื่อนเที่ยว ไปที่ที่ไม่เคยไป หาร้านอาหารตามโลเคชั่นที่ระบุด้วย GPS ล้วนง่ายดาย