GPS เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลผลิตของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 และกว่าจะสำเร็จสามารถใช้งานได้ก็อีกประมาณ 25 ปีต่อมา หรือในปี ค.ศ. 1983 แรก ๆ ระบบ GPS นี้จะถูกใช้งานอยู่แต่เฉพาะในวงการทหารเท่านั้น ภายหลังเหตุการณ์ระทึกขวัญ ที่รัสเซียยิงเครื่องบินพาณิชย์ของเกาหลีใต้ตกทำให้ผู้โดยสารทั้งลำเสียชีวิตทั้งหมด เนื่องจากระบบการนำทางบกพร่อง
หลังจากนั้นระบบการทำงานของ GPS จึงได้ถูกพัฒนาให้ใช้ได้กับภาคเอกชนมาจนถึงทุกวันนี้ การทำงานของ GPS ต้องทำงานคู่กับดาวเทียมที่โคจรอยู่ในระบบของ GPS เองโดยเฉพาะเพื่อการระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของบนพื้นโลก รวมถึง GPS เพื่อการติดตามยานพาหนะ คน สิ่งของ ฯลฯ โดยต้องมีตัวรับสัญญาณหรือเครื่องรับสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่ง GPS จะทำหน้าที่คำนวณผลความแตกต่างของเวลากับสัญญาณจริงหรือเวลาที่ได้รับจริงเพื่อทำการเปรียบเทียบ และสามารถระบุตำแหน่งที่เป็นจริงบนผิวโลกได้อย่างชัดเจน
รู้จักกันเบื้องต้นแล้วว่า GPS คืออะไร คราวนี้ลองมารู้จักประเภทของ GPS 2 ชนิดที่เรารู้จักกันดี และมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายอยู่ทุกวันนี้ คือ
1. GPS Navigator หรือ GPS นำทาง เป็นอุปกรณ์หรือระบบนำทางที่เราใช้ในการหาตำแหน่งวัตถุหรือสถานที่
2. GPS Tracking หรือ GPS ติดตาม คือ อุปกรณ์หรือระบบติดตามตัวยานพาหนะ บุคคล หรือสัตว์เลี้ยง
สมัยก่อนการเดินทางไปในที่ต่างถิ่นที่เราไม่รู้จัก ซึ่งเราต้องการหาตำแหน่งพิกัดของสถานที่ สิ่งที่เรามักจะนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แผนที่ แต่ในปัจจุบันเราอาจต้องคิดใหม่เพราะมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่รู้จักกันดีถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งก็คือ ระบบ GPS นั่นเอง โดยอุปกรณ์จีพีเอสถือเป็นตัวเลือกที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบ GPS เข้าใจการทำงานของมันมากขึ้น คาร์แทรคจะพาทุกคนไปรู้จักการทำงานของ GPS ในบทความตอนนี้กัน
ระบบการทำงานของ GPS จะทำงานผ่านดาวเทียม GPS ซึ่งจะโคจรเอียงทำมุม 55 องศากับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวง โดยจะแบ่งเป็น 6 รอบวงโคจร การโคจรจะสวนทางหรือสานกันคล้ายลูกตะกร้อ แต่ละวงจะประสานกับดาวเทียมจำนวน 4 ดวง
โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะต้องใช้เวลาในการโคจรรอบโลกดวงละประมาณ 12 ชั่วโมง และจะอยู่ห่างหรือสูงขึ้นไปในอวกาศถึง 12,600 ไมล์ ซึ่งการทำงาน GPS จะรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ประกอบด้วยการระบุตำแหน่งและเวลาในการส่งสัญญาณ
ในขณะเดียวกันตัวรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลในความแตกต่างของเวลาเพื่อเปรียบเทียบกับเวลาจริง ในการแปลงเป็นระยะทางกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุตำแหน่งมาแล้วกับสัญญาณ เพื่อให้การค้นหาและติดตามตำแหน่งเป็นไปได้อย่างแม่นยำ การทำงานของ GPS จำเป็นต้องอาศัยดาวเทียม 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก
โดยดาวเทียม 3 ดวงจะระบุตำแหน่งในพื้นราบของผิวโลก แต่ในความเป็นจริงพื้นผิวโลกมีความโค้ง เนื่องจากโลกมีสัณฐานทรงกลม จึงต้องเป็นหน้าที่ของดาวเทียมดวงที่ 4 ซึ่งจะทำให้การคำนวณตำแหน่งของวัตถุถูกต้องมากขึ้น ดาวเทียมแต่ละดวงจะสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำในการระบุตำแหน่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเทียมนั้น ๆ กล่าวคือถ้าดาวเทียมที่กำลังใช้งาน และอยู่ในระยะที่ห่างกันจะบอกตำแหน่งได้ดีและแม่นยำกว่าดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน และถ้ามีจำนวนดาวเทียมมากก็จะทำให้ความแม่นยำยิ่งขึ้นนั่นเอง
ในชั้นบรรยากาศตามธรรมชาติจะมีความแปรปรวนซึ่งเมื่อสัญญาณตกกระทบจะมีการหักเห อาจทำให้สัญญาณอ่อนลงหรือเพี้ยนไปได้ ยิ่งถ้ามีการบดบังของวัตถุอื่นก็ยิ่งจะทำให้สัญญาณไม่แน่นอน ทั้งนี้ก็ต้องประกอบด้วยประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณด้วยว่ามีความไวต่อการรับสัญญาณเพียงไร และการประมวลผลด้วย
สูตรการคำนวณการวัดระยะห่างระหว่างดาวเทียมและเครื่องรับสัญญาณจะคำนวณโดยการใช้สูตร ระยะทาง = ความเร็ว x ระยะเวลา ซึ่งการแทนค่าจะเป็นในรูปนี้
ระยะทาง คือ เวลาที่คลื่นวิทยุส่งจากดาวเทียมมายังเครื่องรับสัญญาณ (เครื่อง GPS)
ความเร็ว ได้แก่ ระยะทางที่เครื่องรับอยู่ห่างจากดาวเทียม โดยวัดจากนาฬิกาของดาวเทียมซึ่งมีความแม่นยำสูง ตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวงได้ถูกกำหนดไว้แล้วล่วงหน้าก่อนถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ สถานีควบคุมจะคอยตรวจสอบความถูกต้องทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา
การทำงานของอุปกรณ์ GPS ต้องทำงานผ่านเครื่องมือรับสัญญาณจากดาวเทียม หรือต้องมีอุปกรณ์การนำทาง ขณะใช้เครื่องมือดังกล่าวต้องมีการเปิดรับสัญญาณ GPS ซึ่งตัวรับสัญญาณจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันปรากฏให้เห็นบนหน้าจอในรูปของแผนที่ซึ่งเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น การจราจรที่มีการกำหนดให้ชิดซ้าย หรือชิดขวาในการขับยานพาหนะของแต่ละประเทศ หรือข้อมูลการใช้รถใช้ถนนในระบบพิเศษ เช่น การเดินรถในระบบวันเวย์หรือเดินรถทางเดียว เป็นต้น
ในแผนที่ของระบบนำทางแสดงจุดสำคัญต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภูเขา แม่น้ำลำคลอง ซึ่งในแผนที่ GPS ดังกล่าวจะทำการกำหนดไว้ให้แล้วในข้อมูลของระบบ เพื่อให้ตัวโปรแกรมของ GPS ได้เชื่อมต่อระหว่างเส้นทางจนไปได้ถึงจุดหมาย การทำงานบอกตำแหน่งของระบบ GPS จะประกอบด้วยเสียงที่ทำงานอย่างสอดคล้องกับการเลือกเส้นทาง เช่นถ้ามีการเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางด้านขวา เสียงก็จะบอกเตือนให้เลี้ยวขวา เป็นต้น
โดยในแต่ละโปรแกรมจะมีการบอกเตือนด้วยเสียงก่อนที่จะถึงจุดกำหนด ในส่วนของเส้นทางก็จะมีการบอกด้วยเสียงเตือนก่อนถึงเส้นทางที่กำหนดเช่นกัน โดยโปรแกรมจะมีการให้เลือกกำหนดว่าจะกำหนดจุดไว้ 2 หรือ 3 จุดก็ได้ หรือแม้แต่การเลือกจุดที่กำหนดได้ตามความพอใจของผู้ใช้หรือตามต้องการก็ได้
การคำนวณเส้นทางตามโปรแกรมนี้จะถูกคำนวณไว้ให้อย่างสมบูรณ์ และเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่การเลือกโปรแกรมทั้งเส้นทางและเสียงเตือน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดโปรแกรมเท่านั้น ในการเดินทางคงไม่มีอะไรที่จะแสดงแผนที่ได้ดีไปกว่าระบบ GPS แต่เราต้องสามารถใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งก็คงไม่ยากไปกว่าความสามารถของมนุษย์เรา
ซึ่งเราสามารถทำความรู้จักกับ GPS นำทาง <<คลิก ได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับระบบ GPS ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและติดตามตำแหน่ง เช่น GPS ติดรถ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถในธุรกิจโลจิสติกส์ รถเช่า รถตู้ หรือแม้แต่รถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลก็ตาม ต่างก็ใช้รูปแบบการทำงานเช่นเดียวกับ GPS นำทาง คือ จะมีการเก็บข้อมูลโดยอาศัยตำแหน่งของดาวเทียมมาใช้ในการอ้างอิง แต่ต่างกันตรงที่อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่ยานพาหนะ คน หรือสิ่งของต่าง ๆ นั้นจะเป็นตัวกล่อง GPS ที่มักจะมีขนาดเล็กและมีเสาสัญญาณ เพื่อใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อรับและส่งข้อมูลพิกัด ตำแหน่งของวัตถุ ไปจนถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถเก็บบันทึกได้ โดยเงื่อนไขในการบันทึกข้อมูลนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่คุณสมบัติของผู้ให้บริการแต่ละราย
ข้อมูลเรียลไทม์เหล่านี้จะถูกส่งไปรวบรวมไว้ที่ Server ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเรียกดูข้อมูลได้ตามต้องการตลอดเวลาอีกด้วย
ในขณะที่ GPS แบบติดตามจะมีรูปแบบการแจ้งเตือนที่แตกต่างออกไป โดยข้อมูลที่แจ้งเตือนนั้นจะถูกบันทึกไว้ในระบบ ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลการใช้รถของผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งระยะทาง ความเร็วที่ใช้ การเปลี่ยนแปลงทิศทางรถกะทันหัน การเบรก การเร่งเครื่อง หรือการเข้าโค้งกะทันหัน การวัดระดับน้ำมันว่าสัมพันธ์กับการใช้งานหรือไม่ ไปจนถึงการจอดแช่ติดเครื่องนานเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการเผาผลาญน้ำมัน สิ้นเปลืองต้นทุนของธุรกิจได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ GPS ติดตาม สามารถเก็บบันทึกข้อมูลให้เราทราบได้เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงแก้ไขการทำงานของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการใช้งานรถและมีผู้ขับขี่หลายคน
CARTRACK ในฐานะผู้ให้บริการการจัดการยานพาหนะและ GPS ติดตามรถ ซึ่งใช้เทคโนโลยีมาตรฐานสูงสุด เพื่อให้ทราบผู้ใช้งานเข้าถึงตำแหน่งของยานพาหนะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งรถบรรทุก รถตู้ รถขนส่ง รถส่งของ รถที่ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ รถเช่า รถยนต์ ฯลฯ ได้อย่างแม่นยำ มีความละเอียดสูงด้วยการแจ้งเตือนแบบ Event Based สามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือผ่านทางแอปพลิเคชันได้ รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
นอกจากนี้ยังเพิ่มความอุ่นใจในการใช้งาน GPS Tracking อีกระดับ ด้วยระบบแจ้งเตือนหากเกิดการโจรกรรม เจ้าหน้าที่ของ CARTRACK มีบริการสายด่วนบริการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังที่เกิดเหตุช่วยในการกู้รถของคุณได้
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องระบบ GPS และระบบจัดการยานพาหนะ สามารถขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ฟรี 10 นาทีที่เบอร์ 021362920, 021362921 ในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.30 น. หรือคลิกทักไลน์ที่นี่เพื่อแจ้งชื่อ จำนวนรถที่ต้องการติดตั้ง และหมายเลขติดต่อกลับ หรือกรอกข้อมูลที่แบบฟอร์มด้านบน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบของ CARTRACK ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
ลงลึกรายละเอียดว่า GPS Tracking และ GPS นำทาง ทำงานอย่างไร ทำความรู้จักกับประเภทของการใช้งาน และ รูปแบบการทำงานของ GPS ทั้งระบบนำทางและระบบติดตาม ต่างกันอย่างไร