GPS ย่อมาจาก Global Positioning System โดยในตอนแรกเรียกว่า Navstar GPS เป็นระบบนำทางผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้ดาวเทียมเป็นหลัก ของรัฐบาลสหรัฐและถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศของสหรัฐ เป็นระบบนำทางผ่านดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่อยู่และข้อมูลของเวลาให้กับเครื่องรับสัญญาณ GPS ต่างๆที่อยู่ในทุกๆแห่งบนพื้นโลกหรือบริเวณใกล้เคียงกับพื้นโลกในที่ซึ่งไม่มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่นภูเขาหรือตึกสูงต่างๆเป็นจำนวนมากอยู่ในระยะเส้นสัญญาณการมองเห็นของดาวเทียม 4 ดวงหรือมากกว่านั้น
โปรเจค GPS นี้ถูกสร้างโดย แผนกกองกำลังป้องกันตนเองของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1973 เพื่อใช้ในทางการทหารสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ในปี 1995 และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้ในปี 1980 จากการพัฒนาของเทคโนโลยี และความต้องการใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นจากระบบที่มีอยู่ ทำให้เกิดความพยายามที่จะพัฒนาระบบใหม่ๆของ GPS รวมเข้ากับดาวเทียมดวงใหม่ และระบบควบคุมการปฏิบัติการตัวใหม่
อุปกรณ์ GPS ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้ผู้ใช้ส่งข้อมูลใดๆ และตัว GPS เองก็สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้สัญญาณโทรศัพท์หรือตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตต่างๆด้วย แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ก็สามารถเข้ามาช่วยให้การจับสัญญาณของ GPS ได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ระบบ GPS ช่วยในการระบุตำแหน่งสถานที่สำคัญต่างๆสำหรับใช้ในการทหาร ใช้งานเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา รวมถึงใช้ในเชิงพาณิชย์ให้แก่ธุรกิจทั่วทุกมุมโลก
GPS ที่เราใช้งานอยู่ทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน คือ GPS Navigation System และ GPS Tracking System
หรือจีพีเอสระบบนำทาง จะถูกใช้งานในรถยนต์ทั่วไป ซึ่งรูปแบบของมันนั้นจะเป็นการบอกแผนที่การเดินทางด้วยการป้อนข้อมูลของเป้าหมายลงไปในเครื่องนำทาง GPS แล้วระบบจะคำนวนเส้นทางหรือระยะห่างโดยรวมที่เราจะเดินทางให้ เพื่อเป็นการวางแผนการเดินทางได้
ถือว่าเป็นการใช้งาน GPS ในรูปแบบที่เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก เเละในปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชั่น หรืออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน GPS ในรูปเเบบนี้จำนวนมาก และเป็นประโยชน์อย่างมากหากใช้ในการเดินทาง หากต้องเดินทางในที่ที่ไม่รู้จัก หรือไม่เคยไปมาก่อน ก็มาสามารถนำทางไปยังจุดหมายที่เราตั้งเอาไว้ได้
จีพีเอสติดตาม ตามชื่อของมัน การใช้งานจะถูกนำไปใช้ในการติดตามยานพาหนะ รถยนต์ หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง โดยมากใช้เพื่อป้องกันการสูญหาย โดยเราสามารถแบ่งจีพีเอสติดตามได้ออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ อุปกรณ์จีพีเอสติดตามแบบออฟไลน์ (GPS Offline Tracking) สามารถตรวจสอบประวัติการเดินทางได้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันหรือ Real Time ได้
และแบบที่สองคือ อุปกรณ์จีพีเอสติดตามแบบ ออนไลน์หรือกึ่งออฟไลน์ (GPS Real Time Tracking) ซึ่งจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์เช่นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวแบบปัจจุบันได้ และยังสามารถดูประวัติการเดินทางย้อนหลังได้ทันทีอีกด้วย
ในปัจจุบันระบบสัญญาณ GPS ก็มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เนื่องจากมีจำนวนการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น มีการใช้ประโยชน์ของระบบสัญญาณ GPS ที่มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากทางการทหารแล้วก็ยังนำมาใช้ในมือถือหรือสมาร์ทโฟนในปัจจุบันเกือบทุกเครื่องเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว
เพราะการใช้แอพพลิเคชันต่างๆบนมือถือนั้น ส่วนใหญ่ล้วนต้องการข้อมูลจาก GPS เพื่อหาตำแหน่งของเรา เช่น facebook ที่ต้องการทราบว่าตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของเราอยู่ที่ไหน เพื่อจะได้ช่วยเราในการหาเพื่อนที่อยู่บริเวณใกล้ๆ
หรือการส่งตำแหน่งปัจจุบันของเราให้เพื่อนหรือครอบครัวทราบ แจ้งเหตุการณ์อันตรายต่างๆที่เกิดขึ้น รวมถึงการรับโฆษณาจากสื่อต่างๆได้ตรงกับตำแหน่ง อำเภอ หรือ จังหวัดที่เราอยู่ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
ตอนนี้ก็มีการพัฒนาเครื่องรับสัญญาณ GPS เครื่องใหม่ที่ใช้คลื่นความถี่ L5 เริ่มใช้งานได้ในปี 2018 ซึ่งมีความขาดหวังว่าจะมีความแม่นยำที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งของอุปกรณ์รับ GPS ภายในระยะ 30 เซนติเมตรหรือน้อยกว่า 1 ฟุต เรียกได้ว่าแม่นยำกว่าเดิมมากๆ
คำว่า GPS ที่เราได้ยินทุกวันนี้ มันคืออะไร GPS ย่อมาจาก อะไร ความหมายของ GPS ประโยชน์และหน้าที่ของ GPS ในแง่มุมต่างๆที่เราไม่รู้มาก่อน