BLOGS

ขนส่งโลจิสติกส์ อย่างไรให้ลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้ด้วย?

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ขนส่งโลจิสติกส์ เป็นส่วนสำคัญของทุกองค์กร บริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือเล็ก อยู่ในแวดวงธุรกิจอะไร หรือเป็นธุรกิจเฉพาะขนาดไหน เพราะโลจิสติกส์เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้าไปจนถึงผู้รับปลายทาง

โลจิสติกส์ กับ ขนส่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน?

ระบบโลจิสติกส์หรือขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics) ไม่ใช่เรื่องเดียวกับ ขนส่ง (Transport) โดยโลจิสติกส์ คือ กระบวณการนำสินค้าส่งถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเพื่อผลิต

เมื่อวัตถุดิบกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จแล้ว ก็ดำเนินการขนส่งถึงมือผู้รับ หรือจากมือผู้รับตีกลับมาที่ผู้ผลิต ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ 

ขณะที่ระบบขนส่ง คือ การเคลื่อนย้ายสิ่งของจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง ไม่ได้มีการวางแผนที่ซับซ้อน และระบบขนส่ง คือ ส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์อีกทีหนึ่ง

ระบบจัดการโลจิสติกส์เพื่อธุรกิจ เพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้อย่างไร?

ระบบจัดการโลจิสติกส์เพื่อธุรกิจ ช่วยให้การขนส่งสินค้าและบริการขององค์กร เคลื่อนที่ได้โดยง่ายขึ้น เช่น ลดขั้นตอนการทำงาน หรือลดเวลาการทำงานของแต่ละขั้นตอน 

ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่ต้นทุนธุรกิจที่ลดลงและกำไรเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป

ทั้งนี้ คุณสามารถสังเกตได้ว่า ระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่มีมีประสิทธิภาพหรือไม่ ผ่าน 7 ปัจจัยดังนี้

  1. ค้นหาแหล่งวัตถุดิบ
    เมื่อนำระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในขั้นตอนค้นหาแหล่งวัตถุดิบ การค้นหาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านการทำงานที่มีระบบมากขึ้น
    เช่น การคำนวณและจัดการปัจจัยภายนอก เช่น ความล่าช้าของการจัดส่งสินค้าแบบพรีออเดอร์ ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมที่ไม่คาดคิด ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากระยะทางหรือตามกฎหมายจราจร ค่าโกดังเก็บของ ฯลฯ
    การวางระบบในการค้นหาแหล่งวัตถุดิบ จะช่วยให้เข้าใจปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งเมื่อเข้าใจก็จะทำงานได้อย่างมีกลยุทธ์ ที่ช่วยลดต้นทุนหรือเวลาได้อย่างมาก
  2. การขนส่ง
    เพื่อให้การขนส่งที่เป็นหัวใจสำคัญของโลจิสติกส์ เกิดขึ้นอย่างเต็มประสิทธิภาพ ธุรกิจจะต้องเลือกวิธีขนส่งที่เหมาะที่สุดสำหรับสินค้า และเลือกผู้บริการขนส่งที่เหมาะที่สุดโดยดูจากค่าใช้จ่าย ความเร็ว และระยะทาง
    ซึ่งธุรกิจควรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเส้นทางการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งที่ต้องใช้ผู้บริการขนส่งหลายเจ้าเพื่อทำการขนส่งให้สำเร็จในแต่ละครั้ง
    หากเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ผู้ให้บริการขนส่งยังควรมีความเชี่ยวชาญเรื่องศุลกากร กฎหมายหรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
  3. การจัดส่งตามคำสั่งซื้อ (Order)
    การจัดส่งตามคำสั่งซื้อหรือออเดอร์ มีตั้งแต่ขั้นตอนการหยิบสินค้าที่ถูกต้องตามสั่ง แพ็ก ติดฉลาก และส่งถึงที่อยู่ที่ระบุ ซึ่งเมื่อทำเสร็จครบทุกขั้นตอนจึงจะนับว่าการจัดส่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์
    โดยขั้นตอนเหล่านี้สามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการกำหนดเวลาแต่ละขั้นตอนและบันทึกเมื่อกระทำเสร็จในระบบจัดส่ง
  4. การเก็บสต็อกในโกดัง
    การเก็บสต็อกของในโกดัง มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะมีเทคโนโลยีการขนส่งที่เรียกว่า ระบบจัดการโกดัง หรือ Warehouse Management System (WMS) ที่ช่วยวางแผนการจัดเก็บหรือใช้พื้นที่
    ด้วยการคำนึงถึงสภาพและความจำเป็นจัดเก็บสินค้าประเภทต่างๆ เช่น สินค้าเน่าเสียได้ สินค้าที่ต้องแช่เย็นหรือควบคุมอุณหภูมิ หรือแม้แต่ที่ตั้งของโกดังที่ต้องเข้าถึงช่องทางการขนส่ง เช่น ทางรถไฟ เป็นต้น
  5. การคาดการณ์ความต้องการสินค้า
    ระบบโลจิสติกส์ ช่วยคาดการณ์ความต้องการสินค้าได้ ช่วยให้ธุรกิจขายสินค้าได้ไม่ขาดตลาด รู้ว่าตลาดต้องการสินค้าเท่าไหร่และเมื่อไหร่
    หรือรู้ว่าสินค้าประเภทไหนที่ควรลดเพราะได้รับความนิยมน้อย ช่วยลดอัตราการขาดทุนได้มากขึ้น
  6. การจัดการสินค้าสำหรับขาย
    ระบบโลจิสติกส์ จะบันทึกข้อมูลการขายที่ผ่านมา ที่ช่วยให้ธุรกิจรู้ว่า สินค้าใดจะมีความต้องการมากขึ้น ควรลดราคาสินค้าบางตัวช่วงไหน สินค้าตัวหนึ่งมีความต้องการมากหรือน้อยในพื้นที่ใด ฯลฯ
    ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนผลิตและกระจายสินค้าได้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนสิ้นเปลืองได้ดีขึ้น
  7. การจัดการซัพพลายเชน (Supply chain)
    ซัพพลายเชน คือ เครือข่ายของธุรกิจ บริษัท หรือผู้คน ที่ทำงานร่วมกันเพื่อผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า
    การจัดการซัพพลายเชนที่ดี จะสามารถสะท้อนในรูปแบบของผู้ผลิตที่รู้ว่าต้องผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าอะไร ปริมาณเท่าไหร่ และเมื่อใด ธุรกิจที่รู้ว่าต้องสั่งผลิต และต้องไปรับวัตถุดิบหรือสินค้าเมื่อใด ไปจนถึงผู้ขนส่งที่รู้ว่าต้องไปรับของจากผู้ผลิตเมื่อใด เป็นต้น

เทคโนโลยีการขนส่ง ที่สร้างระบบขนส่งโลจิสติกส์ประสิทธิภาพสูงได้

ผลของการวางแผนโลจิสติกส์ไม่ดี อาจจะกระทบการดำเนินงานของบริษัทชั่วคราวหรือสร้างความเสียหายทางการเงินอย่างมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจรู้ตัวและปรับตัวเร็วหรือช้ามากน้อยแค่ไหน

โชคดีที่ปัจจุบัน โลกมีเทคโนโลยีการขนส่งที่ช่วยวางแผนขนส่งโลจิสติกส์ให้กับธุรกิจมาอย่างดีแล้ว สำหรับ Cartrack Delivery ระบบจัดการงานขนส่งเพื่อธุรกิจ เป็นผู้ช่วยจัดการงานขนส่งที่เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาดและทุกประเภท เติมเต็มหน้าที่งานขนส่งที่จำเป็นในธุรกิจ เช่น

  • วางแผนรับ-ส่งสินค้าในแต่ละวัน
  • วางแผนงานขนส่งให้พนักงานที่มีได้ดีขึ้น
  • ปรับปรุงเส้นทางการขนส่งให้ลดเวลา เพิ่มรอบวิ่งรถได้มากขึ้น
  • ติดตามการขนส่งและแจ้งขั้นตอนการขนส่งให้ผู้รับแบบ Real-time
  • บันทึกหลักฐานการจัดส่ง (ลายเซ็น, ภาพถ่าย) เข้าสู่ระบบ

ระบบ Delivery สามารถจัดการงานได้พร้อมกันโดยใช้เวลาไม่นาน ช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและเงินทุน เพิ่มกำไรธุรกิจได้ระยะยาว 

และเทคโนโลยียังมีความสามารถอัปเดตต่อได้ในอนาคต ด้วยการพัฒนาและเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีแบบ Artificial Intelligence (AI) และ Internet of Things (IoT) ของ Cartrack ที่ตอบโจทย์การดำเนินงานของธุรกิจที่ก้าวหน้าไปข้างหน้าอยู่เสมอ

ต้องการข้อมูลเทคโนโลยีการขนส่งของ Cartrack พร้อมบริการหลังการขายเพื่อความมั่นใจในการใช้งาน สอบถามได้ที่โทร 021362920 , 021362921 หรือทัก LINE Cartrack GPS ที่ @udi4517q

ขนส่งโลจิสติกส์ เป็นส่วนสำคัญของทุกองค์กร บริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือเล็ก อยู่ในแวดวงธุรกิจอะไร หรือเป็นธุรกิจเฉพาะขนาดไหน เพราะโลจิสติกส์เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้าไปจนถึงผู้รับปลายทาง