นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของเหล่ามวลมนุษยชาติ เพราะเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่มีการส่งนักบินอวกาศขึ้นจากผืนแผ่นดินอเมริกา และเป็นครั้งแรกที่ถูกส่งโดยบริษัทเอกชนนามว่า SpaceX ในความร่วมมือกับ องค์การนาซ่า (NASA) ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี GPS อย่างไร? วันนี้ Cartrack จะมาเล่าให้ทุกคนฟัง
เรื่องมีอยู่ว่า องค์การนาซ่า (NASA) มีโครงการพัฒนายานและจรวดลำใหม่สำหรับส่งนักบินอวกาศของตัวเองขึ้นสู่อวกาศ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมพัฒนา และหากทำสำเร็จทางองค์การนาซ่าก็จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ทำหน้าที่ขนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่ท้องฟ้าต่อไป เพราะก่อนหน้านี้ในอดีตทาง NASA ต้องใช้กระสวยอวกาศลักษณะคล้ายเครื่องบินติดกับจรวดสองข้าง ซึ่งก็มีอายุการใช้งานมานานมากแล้วจึงถูกปลดประจำการไปเมื่อปี 2011 นับแต่นั้นมา..นาซ่าก็ไม่เคยส่งนักบินอวกาศของตัวเองขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เองอีกเลย ต้องหันไปพึ่งบริการของจรวดโซยูซของประเทศรัสเซียให้เป็นคนส่งให้ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายมหาศาลและเสียหน้าหน่อยไม่น้อย
ทำให้บริษัท SpaceX ของ CEO มหาเศรษฐีอย่าง อีลอน มัสก์ ได้ทำการพัฒนาจรวดและยานอวกาศรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยทดลองขนส่งคนขึ้นสู่อวกาศมาก่อน โดยยานลำนี้มีชื่อว่า “Crew Dragon เวอร์ชั่น 2” ซึ่งจะถูกนำพาขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดที่ชื่อว่า “Falcon-9” โดยเป็นภารกิจทดสอบครั้งแรกที่จะมีการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปกับยานด้วย ถ้าหากทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยดี ก็จะถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลกที่บริษัทเอกชนจะเป็นผู้ส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เอง
ยานอวกาศ “Dragon 2” อยู่ที่ด้านบนสุดของจรวด จะเป็นที่อยู่สำหรับนักบินอวกาศทั้ง2คน ซึ่งแน่นอนว่ายาน Dragon 2 ลำนี้คงไม่สามารถทะยานขึ้นสู่อวกาศได้ด้วยตัวเอง จะต้องอาศัยจรวดที่มีชื่อว่า “Falcon-9” เป็นตัวให้แรงขับดันขึ้นสู่อวกาศอีกทีหนึ่ง
ความคูลของจรวด Falcon-9 นี้ คือเทคโนโลยีสุดล้ำของ SpaceX ที่ยังไม่มีบริษัทไหนทำได้! คือหลังจากที่ปล่อยจรวดขึ้นไปส่งยาน Dragon ถึงวงโคจรแล้ว ตัวจรวด Falcon สามารถบังคับให้กลับมาลงจอดบนพื้นโลกเองได้ เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกครั้ง
โดยจรวด Falcon-9 นั้นมี2ท่อน คือ ส่วนแรก 1st stage booster ทำหน้าที่ให้แรงขับดันในช่วงแรกของการปล่อย เมื่อเชื้อเพลิงใกล้หมด จรวดส่วนนี้แหละที่สามารถแยกตัวออกมาแล้วบังคับให้กลับมาลงจอดบนโลกได้ หลังจากการแยกตัวแล้ว จรวดส่วนที่สอง 2nd stage booster ก็จะเข้ามาทำงานให้แรงขับดันส่งยาน Dragon ขึ้นสู่วงโคจรต่อไป
ซึ่งจรวด Falcon-9 ในส่วนแรก ‘1st stage booster’ นั้นจะทำการร่อนกลับมาลงจอดบนเรือโดรนที่ลอยอยู่กลางน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเรือลำนี้มีชื่อสุดหวานแหววว่า “Of Course I Still Love You” ซึ่งบนเรือติดตั้งเทคโนโลยีต่างๆ และรวมไปถึงระบบรับส่งสัญญาณ GPS ความแม่นยำสูง ที่จะคอยสื่อสารตำแหน่งกับตัวจรวด Falcon-9 ตลอดเวลา เพื่อทำการปรับตำแหน่งของตัวเองให้พอดีกับจรวดให้มากที่สุด เป็นนวัตกรรมสุดล้ำที่มีการนำเทคโนโลยี GPS มาใช้ในการบังคับให้กลับมาลงจอดบนโลกได้
วันที่ 31พฤษภาคม เวลา 02.22 น. (ตามเวลาของประเทศไทย) จรวด Falcon-9 และยาน Dragon2 พร้อมสองนักบินอวกาศทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ9ปีที่นักบินอวกาศถูกส่งขึ้นจากผืนแผ่นดินอเมริกา และเป็นครั้งแรกที่ถูกส่งโดยบริษัทเอกชน SpaceX ในความร่วมมือกับองค์การ NASA
และยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ เทคโนโลยี GPS ที่ถูกพัฒนาและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ ซึ่งในอนาคตเชื่อว่า GPS นั้นจะมีแนวโน้มในการใช้งานและพัฒนานวัตกรรมนี้ไปอย่างก้าวไกลมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจต่างๆได้อย่างมหาศาล
อีกหนึ่งความสำเร็จของ NASA & SpaceX ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี GPS อย่างไร? วันนี้ Cartrack จะมาเล่าให้ทุกคนฟัง