องค์ประกอบของแผนที่ โดยส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ภูมิประเทศในรูปแบบต่างๆ อย่างภูเขา ป่าไม้ ทะเล เเม่น้ำลำธาร และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองต่างๆ เส้นทางคมนาคม พื้นที่ทำการเกษตร โดยจะเเบ่งออกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
เป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่ใช้กับเรื่องอะไร เเสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อเเผนที่จะมีคำอธิบายกำกับไว้ด้วย เช่น เเผนที่ประเทศไทยเเสดงส่วนระดับความสูงของพื้นที่ภูมิประเทศ แผนที่โลกเเสดงเส้นทางการเดินเรือโดยสารและพาณิชย์ เป็นต้น
เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้เลยในการองค์ประกอบของแผนที่ทุกชนิด เพราะมีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ใดๆ โดยจะกำกับด้วยทิศทั้งสี่ทิศ ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก และจากการอ้างอิงจากเข็มทิศ ซึ่งจะชี้ไปยังทิศเหนือตลอดเวลา ให้เเผนที่จะเเสดงทิศเหนือไว้ด้านบนของแผนที่เสมอ จะช่วยให้ง่ายต่อการค้นหาทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้องในแผนที่ได้
แผนที่ทุกชนิดจำเป็นต้องมีขอบระวาง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่เเสดงบนเเผนที่นั้นๆ ซึ่งจะบอกด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำเเหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียน เพื่อเเสดง ลองติจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆบนแผนที่ผิวโลก รวมไปถึง สีในแผนที่ ที่จะบอกคุณลักษณ์ต่างๆของภูมิประเทศในส่วนนั้นด้วย
เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าน แปล และเข้าใจความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้แผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
แน่นอนว่าในแผนที่ เราคงไม่สามารถที่จะเเสดงทุกอย่างตามขนาดจริงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องย่อส่วนลงมาจากระยะทางจริงในภูมิประเทศ ตามมาตราส่วน ซึ่งจะเเสดงมาตราส่วนว่าย่อลงมาเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่คือ อัตราส่วนของระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบบนภูมิประเทศจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเขียนได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น 1×70,000 หรือ 1/70,000 หรือ 1:70,000 การคำนวณนั้นก็ทำได้ง่ายดังนี้ : มาตราส่วน = ระยะบนแผนที่ x ระยะภูมิประเทศ นั้นเอง
นั้นประกอบด้วย เส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่จะกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์อย่างเป็นสากลเเละมาตรฐาน ไว้ใช้เพื่ออ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย
เป็นระบบที่จะบอกตำแหน่งของที่ตั้งหรือสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงบนแผนที่ 2 เส้น ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ตัดกันเป็นจุดต่างๆ โดยจะอ่านค่าจาก เส้นละติจูด (เส้นขนาน และเส้นลองติจูด (เส้นเมริเดียน) ซึ่ง ละติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นขนาน และลองติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน
แต่ในปัจจุบัน การอ่านแผนที่หรือการหาพิกัดบนพื้นผิวโลก ทำได้ง่ายและแม่นยำโดยใช้จีพีเอส (GPS : Global Positioning System) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีขนาดเล็ก สามารถพกพาหรือนำไปติดกับวัตถุหรือยานพาหนะก็สามารถทำได้สะดวก อีกทั้งยังให้ข้อมูลได้แม่นยำและตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีการใช้จีพีเอสในรูปแบบต่างๆมากมาย เช่น ใช้ในการเดินทาง เดินเรือ การท่องเที่ยว การเดินป่า ติดตามรถยนต์ เดินทางด้วยรถยนต์ แถมยังใช้งานง่ายดายอีกด้วย จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
และ GPS คาร์แทรค ใช้แผนที่ GPS ของ Google Maps ที่มีความเสถียรและเข้าใจง่าย ในการติดตามรถ ดังนั้นคุณไม่ต้องกังวลในการอ่านแผนที่ หรือความกังวลที่จะเข้าใจแผนที่ได้ยาก เพราะใช้งานง่ายและเป็นแผนที่ที่อัพเดทใหม่อยู่เสมอ หากสนใจ GPS ติดตามรถ จากคาร์แทรค สามารถ ติดต่อเรา ได้ทันที
องค์ประกอบแผนที่ คือสิ่งที่เราควรทราบ เพื่อใช้ในการอ่านแผนที่อย่างถูกต้อง มาทำความเข้าใจและรู้คำอธิบายของสัญลักษณ์ที่อยู่บนแผนที่ในแบบต่างๆ