หลายท่านที่ออกไปดื่มในงานเลี้ยงหรืองานปาร์ตี้อาจคิดว่าตัวเองขับรถกลับบ้านเองได้ ทว่าในความเป็นจริงแล้วแอลกอฮอล์ทำให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมองช้าลง ทำให้การตัดสินใจช้าลง นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังยับยั้งสารเคมีบางอย่างไม่ให้ไปสู่สมอง ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นและการได้ยินลดลง การขับรถในสภาวะดังกล่าวจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
การเมาแล้วขับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก แต่กลับถูกหลาย ๆ คนมองข้าม ไม่ปฏิบัติตาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโทษเมาแล้วขับเบาเกินไป ในวันที่ 4 มกราคม 2560 คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจราจรทางบกฉบับใหม่ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอร่าง โดยปรับอัตราโทษความผิดฐานเมาแล้วขับขึ้น
แม้ร่างจะผ่านตั้งแต่ปี 2560 แต่ต้องผ่านกระบวนการมากมาย กระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีการประกาศใช้ พ.ศ. 2561 นี้เรายังใช้พระราชบัญญัติเดิมกันอยู่ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม มาดูกันสักหน่อยดีกว่าว่าร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบกฉบับใหม่นี้ มีความผิดฐานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมา ตลอดจนกฎหมายใหม่จะปรับโทษขึ้นหรือคงโทษเดิมในแต่ละฐานไว้อย่างไรบ้าง
ความผิดฐานนี้คือเมาแล้วขับเฉย ๆ ยังไม่ได้ชนใคร ยังไม่ได้ทำให้ใครบาดเจ็บ โดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) บัญญัติไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (1)… (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (3)…” มาดูโทษเมาแล้วขับกัน
โทษเดิม: จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
โทษที่จะปรับใหม่: จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่และยึดรถที่ใช้ไม่เกินเจ็ดวัน
อันนี้แปลว่าเมาแล้วขับ จากนั้นไปชนคนอื่นจนเขาบาดเจ็บ การบาดเจ็บแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบแรกบาดเจ็บทางกาย ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก และแบบที่สองบาดเจ็บทางจิตใจ การบาดเจ็บทางจิตใจไม่ใช่อารมณ์ แต่เป็นการบาดเจ็บทางสมอง การทำงานของสมอง หรือระบบประสาท เช่น สลบ ความจำเสื่อม เป็นลมชัก ดังนั้นถ้าขับรถขณะเมาชนไปเฉี่ยวคน ไม่โดนอะไรเลยนอกจากอากาศ แล้วคน ๆ นั้นดันตกใจและโกรธมาก การตกใจหรือโกรธเป็นเพียงอารมณ์ ไม่ใช่อันตรายแก่จิตใจ คนขับยังไม่ผิดฐานนี้ แต่ไปฐานเมาแล้วขับเฉย ๆ ตามข้อ 1. สำหรับโทษเมาแล้วขับจนทำให้คนอื่นบาดเจ็บเป็นอย่างไรมาดูกัน
คงโทษเดิมเอาไว้ : จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
อันนี้คือเมาแล้วขับ จากนั้นชนคนจนเป็นอันตรายสาหัส ส่วนอะไรคือสาหัสหรือไม่สาหัสนี่ คุณผู้อ่านไม่ต้องคิดเอง เพราะประมวลกฎหมายอาญาเขากำหนดไว้ให้แล้ว มีทั้งหมด 8 ประการด้วยกันคือ
โทษเมาแล้วขับชนิดนี้จะหนักกว่าชนคนบาดเจ็บธรรมดา ๆ ตามข้อ 2.
คงโทษเดิมเอาไว้: จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 – 120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
กรณีนี้คือเมาแล้วขับ จากนั้นก็ไปชนคนตาย กรณีคนถูกชนบาดเจ็บแล้วไปตายที่โรงพยาบาลก็เข้าฐานนี้เหมือนกัน สำหรับอัตราโทษเมาแล้วขับจนชนคนตายแต่เดิมแรงมากพออยู่แล้วเลยไม่มีการปรับเปลี่ยน
คงโทษเดิมเอาไว้: จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ดังนั้นสิ่งที่คุณ ๆ จะต้องเตรียมรับสำหรับโทษเมาแล้วขับ คือ เมาแล้วขับเฉย ๆ ไม่ได้ชนใคร หากคุณมองว่าค่าปรับ 10,000-20,000 เป็นเรื่องเล็ก ลองคิดว่าคุณต้องนอนห้องขังในโรงพักอย่างน้อย 1 คืน ไปรอฟังคำพิพากษาในศาลที่มีนักโทษทุกประเภทนั่งรวมกันอยู่ แถมโดนยึดรถด้วย อย่างนั้นมันคุ้มกันหรือเปล่า นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องที่อาจจะต้องติดคุกอีก 1 ปีนะ ร่างกฎหมายผ่าน ครม. แล้ว รอแค่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเดียว ไม่นานคนไทยได้ใช้กฎหมายใหม่แน่นอน
การเมาแล้วขับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก แต่กลับถูกหลาย ๆ คนมองข้าม ไม่ปฏิบัติตาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโทษเมาแล้วขับเบาเกินไป