จากข่าวสารในปัจจุบัน พบว่ามีปัญหาการโจรกรรมรถยนต์กันมากขึ้น โดยเฉพาะรถป้ายแดงหรือรถใหม่ที่ยังไม่จดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกอย่างเป็นทางการ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เนื่องจากเรียกง่าย ๆ ว่ายังไม่มีชื่อในระบบ หากสูญหายไปก็เป็นเรื่องยากที่จะติดตามได้พบและจับตัวผู้กระทำผิด
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนำ ป้ายทะเบียนปลอมมาจำหน่าย โดยจะเป็นป้ายแดงแบบผิดกฎหมาย หรือป้ายแดงขายออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลต่อการยากลำบากในการติดตามตัวผู้กระทำผิด หากเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น รถเฉี่ยว รถชน ทำให้ผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการชดเชยจากผู้กระทำความผิด
ล่าสุดหน่วยงานราชการอย่างกรมการขนส่งทางบกได้พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภายใต้อำนาจของกระทรวงคมนาคม โดยให้มีการรวบกฎหมายสองฉบับ คือ พรบ ขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รวมเข้ากับ พรบ.รถยนต์ ปี 2522 โดยให้กลายเป็นกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ทันสมัย สมกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยมากขึ้น โดยจะใช้ชื่อว่าพรบ ขนส่งทางบกฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการให้ผู้มีหน้าที่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณาเพื่ออนุมัติสู่ขั้นตอนต่อไป หรือต้องเพิ่มเติมแก้ไขส่วนใดก่อนการเสนอขึ้นใหม่
ทั้งนี้ หากผ่านขั้นตอนตรวจสอบของ สนช. แล้ว พรบ ขนส่งทางบกฉบับใหม่นี้ จะถูกนำไปประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะยังไม่ให้ผลบังคับในทันที อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จะเกิดผลทางกฎหมายได้หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปี
จะเห็นได้ว่า กรมการขนส่งทางบก หรือ ขบ. และหน่วยงานระดับชั้นต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม ได้พยายามทำการยกระดับกฎหมายไทยให้เข้าสู่การเป็นสากล ทั้งยังใส่ใจที่ความทันสมัย ทันยุคและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ดังเห็นได้จากการเข้มงวดใช้กฎหมาย ควบคุมทางการจราจร กฎหมายรถบรรทุก และอื่น ๆ อีกหลายฉบับในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคล รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล หรือ ผู้เป็นเจ้าของรถที่นำไปประกอบอาชีพ “รับจ้างสาธารณะ” เช่น รถมอเตอร์ไซค์วินรับจ้าง รถแท็กซี่ รถตู้ รถมินิบัส รถเมล์เอกชน รวมถึง บริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้รถบรรทุก รถสิบล้อ รถพ่วง รถเครน รถผสมปูน ฯลฯ และโดยเฉพาะ “ผู้ขับขี่มือใหม่” ที่เรียกว่าเป็น “น้องใหม่” ในฐานะผู้ขับขี่ใช้รถใช้ถนน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญในการติดตามข่าวสารจากการปรับปรุง พรบ ขนส่งทางบกฉบับใหม่ และกฎหมายฉบับเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกหลายฉบับในช่วง 1 – 2 ปีนี้ ไม่ให้คลาดสายตา
ในส่วนของกฎหมายฯ ที่เกี่ยวกับ “ป้ายแดง” ในช่วงปีนี้ ทางการฯ ก็ได้กำชับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานขึ้นทะเบียนรถใหม่ให้เข้มงวดมากขึ้นในกระบวนการตรวจสอบและการจดทะเบียนรถป้ายแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับใช้กฎหมาย พรบ ขนส่งทางบก ซึ่งเริ่มปฏิบัติแล้วประมาณ 10 เดือน (เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา)
กรมการขนส่งทางบก จึงได้แจ้งผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ ในการเน้นย้ำว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถใหม่หรือรถป้ายแดง ต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ทางการฯ ระบุไปแจ้งจดทะเบียนฯ ที่ถูกต้องภายใน 1 เดือน หรือ 30 วัน ซึ่งกรมการขนส่งทางบก ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการทุกท่านว่า การจดทะเบียนรถป้ายแดงในปัจจุบันใช้เวลาน้อยลงมาก ยืนยันว่าสามารถทำกระบวนการต่าง ๆ จนเสร็จสิ้นภายใน 1 วันที่ติดต่อได้จริง
ในส่วนของการลงโทษ หากผู้ขับขี่รถป้ายแดง ไม่นำรถส่วนบุคคลไปขึ้นทะเบียนฯ ให้ถูกต้องครบกระบวนการภายใน 30 วัน จะต้องโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ในฐานที่ว่า นำรถที่ยังไม่จดทะเบียนมาใช้งานบนท้องถนน ซึ่งในส่วนของโทษปรับหรือจำคุกนี้ ในพรบ ขนส่งทางบก ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายฉบับเดิมหลายประเด็น ได้แก่
ทั้งนี้ การเพิ่มระเบียบบังคับ การเพิ่มโทษค่าปรับและการจำคุก ก็เป็นไปเพื่อกระตุ้นให้ทุกคน โดยเฉพาะผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น และต้องการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยบนท้องถนนให้มากขึ้นด้วย
หากประชาชนคนไทยที่เห็นว่าจะมีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางจราจรและการขนส่งทางท้องถนน ก็สามารถเสนอข้อคิดเห็นผ่านแบบสำรวจหรือช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงปฏิบัติ เพื่อลดอุบัติภัยบนท้องถนนได้อย่างยั่งยืน
จากข่าวสารในปัจจุบัน มีปัญหาการโจรกรรมรถยนต์กันมากขึ้น โดยเฉพาะรถป้ายแดงหรือรถใหม่ที่ยังไม่จดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกอย่างเป็นทางการ