Global Positioning System (GPS) หรือ จีพีเอส เทคโนโลยีการติดตามที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในยุคสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีพีเอสติดตาม ซึ่งเป็นรูปแบบจีพีเอสที่มีความสำคัญต่อการกู้คืนยานพาหนะที่ถูกขโมยให้กลับมาสู่เจ้าของได้ รวมถึงมีส่วนช่วยในการจัดการยานพาหนะที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจขนส่งต่าง ๆ
ในบทความนี้คาร์แทรคจะชวนมาดูกันว่า จีพีเอสติดตาม กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของได้อย่างไร มันน่าสนใจมากแค่ไหนที่เราจะได้รู้จักกับประวัติของเทคโนโลยีที่ทันสมัยชิ้นนี้
ผู้นำด้านการคิดค้นระบบจีพีเอสได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1960 ในช่วงยุคของ ดาวเทียมดวงแรกที่ชื่อว่า “สปุตนิค” เมื่อนักวิทยาศาสตร์พัฒนาความสามารถในการติดตามดาวเทียมด้วยการติดตามจากสัญญาณวิทยุ ที่เรียกว่า “Doppler Effect”
หลังจากนั้นกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ทำการทดลองการนำทางด้วยดาวเทียมในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 เพื่อติดตามเรือดำน้ำของสหรัฐฯ ที่บรรจุขีปนาวุธนิวเคลียร์ไว้ ด้วยดาวเทียมหกดวงที่โคจรรอบชั้นบรรยากาศ เรือดำน้ำสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงจาก Doppler และทราบถึงตำแหน่งของเรือดำน้ำได้ภายในไม่กี่นาที
ต่อจากนั้นโครงการจีพีเอส ได้รับการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DoD) ในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของประเทศในการเอาชนะข้อจำกัดของระบบนำทางที่ล้าสมัยจากรุ่นก่อน ๆ หลังจากนั้นกระทรวงก็ได้ปรับปรุงและได้เปิดตัวระบบนำทางระบบแรก ที่มีทั้งเวลาและระยะ ด้วยดาวเทียมที่ชื่อว่า NAVSTAR ในปี 1978 และต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ระบบดาวเทียม 24 ดวง ก็สามารถเปิดใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
แม้ว่าจุดเริ่มต้นการใช้งานจีพีเอสติดตาม จะเริ่มมาจากการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านทางทหารมาก่อน แต่ในปี ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมายอมรับว่าสามารถใช้งานระบบจีพีเอสที่จะเป็นประโยชน์สำหรับพลเรือน และได้ออกคำสั่งจัดตั้งคณะกรรมการที่จะดูแลระบบจีพีเอสนี้ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติ ตั้งแต่นั้นมาแอปพลิเคชันระบบจีพีเอสได้แพร่หลายไปทั่วทุกหนแห่ง และตอนนี้มันยากที่จะจินตนาการถึงโลกที่ไม่มีการติดตามด้วยระบบจีพีเอสแล้ว
การใช้งานจีพีเอสเป็นที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่าง ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักดังนี้:
1. ที่ตั้ง – เป็นรูปแบบจีพีเอสที่กำหนดตำแหน่งของบุคคลหรือวัตถุ
2. การนำทาง – จีพีเอสนำทางจะทำหน้าที่รับเส้นทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เช่น GPS ของ Google ที่ใช้นำทาง
3. ติดตาม – จีพีเอสติดตามจะใช้ในการตรวจสอบวัตถุ เช่น รถ ยานพาหนะต่าง ๆ หรือสิ่งของ ไปจนถึงการเคลื่อนไหวส่วนบุคคล เช่น จีพีเอสติดตามรถขนส่งสินค้า จีพีเอสรถบรรทุก
4. การทำแผนที่ – เป็นรูปแบบของจีพีเอสที่ใช้ในการสร้างแผนที่ตามสถานที่ต่าง ๆ ของโลก
5. เวลา – จีพีเอสรูปแบบนี้จะส่งเวลาที่แม่นยำลงมาสู่โลก มักใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามแบบเรียลไทม์ หรือใช้ในการโทรคมนาคม เป็นต้น
ในแง่ของตัวอย่างการใช้จีพีเอสและจีพีเอสติดตามในชีวิตประจำวันนั้น พบว่าจีพีเอสทั้ง 2 รูปแบบ ถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในแอปพลิเคชันมือถือเช่น Google Maps หรือในอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนรถยนต์ และอีกหลาย ๆ อย่างที่สามารถช่วยเรื่องความปลอดภัย โดยโทรศัพท์มือถือของเรานั้นก็สามารถเปิดใช้งานจีพีเอสได้เช่นกัน หมายความว่าสามารถติดตามตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของเราได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้จีพีเอสติดตาม ยังใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น สำหรับจุดประสงค์ทางทหาร อินเทอร์เน็ต ตรวจจับสัญญาณยานพาหนะและระบบโลจิสติกส์
ในฐานะที่คาร์แทรค (Cartrack) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ให้บริการจีพีเอสติดตามและระบบจัดการยานพาหนะ เราที่มีทีมพร้อมให้ความช่วยเหลือในการกู้คืนยานพาหนะที่ถูกขโมย และสายด่วนที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อไปยังที่เกิดเหตุได้ทันที ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการของเรา อีกทั้งคาร์แทรคยังมีเทคโนโลยีระบบจีพีเอสติดตามที่อยู่ในอันดับต้น ๆ อีกด้วย
ขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ทันที ที่เบอร์ 021362920, 021362921 ในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.30 น. หรือคลิกทักไลน์ที่นี่เพื่อแจ้งชื่อ จำนวนรถที่ต้องการติดตั้ง และหมายเลขติดต่อกลับ หรือกรอกข้อมูลที่แบบฟอร์มด้านบน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบของเราติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหนก็ตาม รถบรรทุก รถขนส่งแช่เย็น รถส่งของ รถที่ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ หรือรถขนาดเล็ก เช่น รถตู้ รถเช่า รถยนต์ ฯลฯ GPS ติดรถ Cartrack ก็พร้อมดูแล สามารถติดตามสถานะของรถผ่านระบบ GPS ได้ง่าย ๆ ที่แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
ให้คุณสามารถสัมผัสกับโซลูชันทั้งการติดตามกู้คืน หรือการจัดการยานพาหนะระดับเวิลด์คลาส เพียงแค่ปลายนิ้วคุณ!
จีพีเอสติดตาม หรือ GPS ที่เรารู้จักกัน มีความเป็นมา และมีความสำคัญอย่างไร ทำไมระบบจีพีเอสติดตามจึงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต