สิ่งที่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งในบ้านเราเวลานี้คือ มีรถยนต์จำนวนมากอยู่บนท้องถนนเต็มไปหมด ครอบครัวหนึ่งบางทีมีรถกันคนละคัน คราวนี้ปัญหามันไม่ใช่แค่เรื่องของการจราจรติดขัดอย่างเดียวสำหรับการมีรถเยอะ ๆ แต่มันมีปัญหาเรื่องของที่จอดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรามักเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการจอดรถไปขวางหน้าบ้านคนอื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะข่าวสุดโด่งดังที่มีป้าเอาขวานมาทุบรถเพราะมีผู้ไป จอดรถขวางหน้าบ้าน แกเข้า ดังนั้นมาเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กันเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ขับขี่เองรวมถึงจะได้ไม่เป็นการสร้างศัตรูหรือการสร้างปัญหากับคนรอบข้างด้วย
ประเทศไทยของเราได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการจอดรถเอาไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หมวด 4 เป็นเรื่องของการหยุดรถและการจอดรถซึ่งจริง ๆ แล้วมันมีด้วยกันอยู่หลายข้อแต่จะหยิบข้อที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถขวางหน้าบ้าน มาพูดถึงกันเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น โดยตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 55 (6) ห้ามมิได้ผู้ขับขี่หยุดตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ และมาตร 57 (10) เว้นแต่ว่าจะมีการออกบทบัญญัติ กฎ ข้อบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ถูกกำหนดให้เป็นอย่างอื่น โดยห้ามไม่ให้ผู้ขับขี่จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
เมื่อเรารู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายอย่างชัดเจนเรื่องของการจอดรถไปขวางหน้าบ้านคนอื่นแล้ว คราวนี้มาพูดกันถึงบทลงโทษทางกฎหมายบ้าง หากผู้ขับขี่ท่านไหนยังฝ่าฝืนจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น จะต้องมีความผิดทางกฎหมายฐานสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ดังนั้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรค 2 ระบุเอาไว้ว่าต้องมีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีนี้ สามารถเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำได้ทันที
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ หากมีเหตุฉุกเฉินจำเป็นแล้วไม่สามารถติดต่อเพื่อทำการขอความช่วยเหลือจากบรรดาหน่วยงานรัฐ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถเคลื่อนย้ายรถด้วยกำลังได้ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นข้อยกเว้นนิรโทษกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 450
บางกรณีพอเข้าใจได้ว่ามันเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องจอดรถขวางหน้าบ้าน คนอื่น กระนั้นผู้ขับขี่เองที่รู้ตัวว่าต้องกระทำการดังกล่าวจำเป็นต้องรู้จักแก้ไขสถานการณ์จากหนักให้เป็นเบาได้ด้วย โดยวิธีที่จะทำให้ท่านสามารถจอดได้อย่างเบาใจสามารถเลือกกระทำได้โดย
วิธีเหล่านี่สามารถช่วยลดสถานการณ์หรือโอกาสที่จะทำให้เรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ผู้ขับขี่เองก็ควรมองหาที่จอดรถจุดอื่น ๆ ไว้ก่อนหากหาไม่ได้จริง ๆ และจำเป็นต้องจอดขวางหน้าบ้านจงเลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่ได้บอกไว้
กรณีนี้มีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าหากเป็นเพื่อนบ้านกันแล้วมาขอ จอดรถขวางหน้าบ้าน จะได้หรือไม่ ก็จำเป็นต้องดูตามความเหมาะสม เช่น เพื่อนบ้านมีญาติพี่น้องมาเยี่ยมแล้วเดินมาขอกันตรง ๆ และทางเจ้าของบ้านเองไม่ได้มีกิจธุระอะไรมากเห็นสมควรก็ให้จอดได้ แต่ในทางกลับกันเพื่อนบ้านต้องรู้จักเกรงใจเจ้าของบ้านด้วยไม่ใช่คิดอยากมาจอดตอนไหนก็จอดเพราะแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายตามที่ได้ระบุไว้ตั้งแต่แรก ดังนั้นการจอดรถของเพื่อนบ้านคือต้องบอกกับทางเจ้าของบ้านให้รับรู้ไว้ก่อนและควรเลือกจอดเฉพาะช่วงเวลาจำเป็นเท่านั้น
สิ่งที่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนคือ การจอดรถขวางหน้าบ้าน นับเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ดังนั้นไม่ว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะไม่มีที่จอดรถ ก็ไม่ควรไปจอดขวางหน้าบ้านคนอื่นเขา นอกจากคิดว่าจำเป็นจริง ๆ ก็ให้ทำตามวิธีที่บอกเอาไว้ อย่างน้อยจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ก็ยังดี คิดในทางกลับกันหากเป็นบ้านของเราที่มีคนมาจอดขวางเป็นประจำ เราก็คงไม่ชอบเหมือนกัน เมื่อเอาใจเขามาใส่ใจเราจะทำให้รู้ว่าสิ่งไหนควรและไม่ควรทำ
ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเรื่องของการจอดรถเอาไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หมวด 4 โดยบทความนี้จะหยิบข้อที่เกี่ยวข้องมาพูดถึงกัน