แผนที่ เป็นเครื่องมือที่สำคัญทางภูมิศาสตร์การจัดทำแผนที่ในปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ มีการนำเอารูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่ ทำให้สามารถสร้างแผนที่ได้รวดเร็วมีความถูกต้องและทันสมัยกว่าในอดีต
ความสำคัญของแผนที่ เนื่องจากแผนที่เป็นที่รวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริงหรือหากจะใช้แผนที่เพื่อการเดินทางก็จะสะดวกและถึงที่หมายได้ถูกต้อง
ในการสร้างแผนที่ที่มีความสมบูรณ์ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบต่างๆ เพื่อทำให้แผนที่นั้นสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้น ประกอบด้วย
เส้นโครงแผนที่ เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐาน
โดยทั่วไปแบ่งแผนที่ได้เป็น 3 ชนิด ตามการใช้งาน ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) แผนที่เล่ม (Atlas )
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลก เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิวโลกมากน้อยเพียงใด
คือตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ รูปแบบชื่อภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไป
และคำอธิบาย สัญลักษณ์ (legend)เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
แสดงเพื่อจำแนกประเภทของลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ป่า ถนนทางหลวง เมือง ภูเขา เป็นต้น
พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน
ในการดูแผนที่นั้นสีมีส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถรู้ได้ว่าสถานที่นั้นมีลักษณะทางภูมิศาสตร์อย่างไร เพราะฉะนั้นในการสร้างแผนที่ทุกครั้ง สีในแผนที่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะจะทำให้แผนที่นั้น ๆ เป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์และไม่สามารถบอกถึงลักษณะของพื้นที่ได้ แม้แต่ในแผนที่ GPS ก็ยังมีการนำสีมาบอกถึงลักษณะของพื้นที่ เส้นทาง และสภาพการจราจร เช่น สีฟ้า แสดงน้ำ สีแดง สามารถบอกสภาพการจราจร ณ ขณะนั้นว่าหนาแน่นมาน้อยเท่าใด เป็นต้น
จากองค์ประกอบด้านบนในการสร้างแผนที่ สี (Color) เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาใช้บ่งบอกถึงความสำคัญในเรื่องส่วนต่าง ๆ ของแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐานในแผนที่มีทั้งหมด 5 สี คือ
นอกจากสีที่ใช้ในแผนที่แล้วยังมีการใช้แถบสี (Layer Tinting) คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่ของภูมิประเทศ มีดังนี้
กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศ ไว้ดังนี้
1. สีเขียว แสดงพื้นที่ราบต่ำ
2. สีเหลือง แสดงเนินเขาหรือที่สูง
3. สีเหลืองแก่ แสดงภูเขาสูง
4. สีน้ำตาล แสดงภูเขาสูงมาก
5. สีขาว แสดงภูเขาที่มีหิมะปกคลุม
สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้
1. สีฟ้าอ่อน แสดงไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น
2. สีฟ้าแก่ แสดงทะเลลึก
3. สีน้ำเงิน แสดงทะเลหรือมหาสมุทรลึก
4. สีน้ำเงินแก่ แสดงน่านน้ำที่มีความลึกมาก
นอกจากสีในแผนที่แล้วยังมีการนำสีมาใช้ในแผนที่ผังเมืองโดยแบ่งสีมาแบ่งตามประเภทของเขตที่ดินในแผนที่ผังเมืองอีกด้วย แบ่งได้ดังนี้
คุณสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับแผนที่ได้เพิ่มเติมที่ : องค์ประกอบของแผนที่ที่คุณควรทราบ
สิ่งสำคัญที่เราควรจะต้องรู้ในการดูแผนที่คือ สีในแผนที่ เป็นส่วนที่จะบอกรายละเอียดที่เราควรจะทราบในเบื้องต้นเช่น ส่วนเเม่น้ำ ทะเล แผ่นดิน