ดูแลแบตเตอรี่ยังไงจะได้ไม่ต้องมา จั๊มแบต กันบ่อย ๆ
สิ่งแรกหากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์จนต้องมาศึกษาวิธีจั๊มแบตก็ต้องรู้จักการดูแลรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและมีประสิทธิภาพสูงสุดตามความเหมาะสมของอุปกรณ์
- เปิดกระโปรงหน้ารถเพื่อตรวจสอบแบตเตอรี่เป็นประจำ อย่าให้เกิดรอยแตกร้าวเนื่องจากรอยดังกล่าวจะส่งผลต่อเรื่องการกักเก็บประจุไฟฟ้าภายในแบตที่อาจลดลงเร็วกว่าปกติ
- สำหรับแบตเตอรี่รุ่นที่ใช้น้ำกลั่นให้ตรวจสอบระดับของน้ำกลั่นเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเติมตามระดับที่กำหนดไม่มากหรือน้อยเกินไป
- เปิดดูขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้วต้องสะอาด กรณีเปิดดูแล้วพบคราบสกปรกให้รีบทำความสะอาดทันที
- ให้ดูการชาร์จไฟของอัลเตอร์เนเตอร์ว่าสูงหรือต่ำเกินไป เพราะถ้าสูงไปจะทำให้น้ำกลั่นกับน้ำกรดเดือดและระเหยเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าต่ำไปส่งผลให้กำลังไฟไม่เพียงพอขณะสตาร์ทรถ ดังนั้นระดับการชาร์จไฟต้องพอดี
- ใช้งานระบบไฟฟ้าภายในรถอย่างเหมาะสมกับตัวแบตเตอรี่และไดชาร์จเพื่อไม่ให้แบตหมดเร็วเกินไป
วิธีสังเกตง่าย ๆ เพื่อให้รู้ตนเองว่าต้องเตรียม จั๊มแบต แน่ ๆ
เวลาเราขับรถไปตามต่างจังหวัดหรือสถานที่ห่างไกลจากผู้คนแม้ก่อนออกเดินทางเราจะตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของรถดีอยู่แล้ว ทว่าพอขับไปเรื่อย ๆ หากรถมีอาการแบบเดียวกับที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้บอกได้เลยว่าสิ่งที่ต้องทำคือ หากไม่หาร้านแบตเตอรี่ก็ต้องเตรียมจั๊มแบตด้วยตนเอง
- ขับไปในช่วงเวลากลางคืนแล้วรู้สึกว่าไฟหน้าไม่สว่างเหมือนที่เคยขับมาก่อนหน้านี้
- พอจอดพักรถแล้วจะสตาร์ทเพื่อขับไปต่อปรากฏว่ารถสตาร์ทไม่ค่อยติดหรือติดยากกว่าเดิม
- ระบบไฟภายในรถทำงานผิดปกติ เช่น ไฟหน้าจอวิทยุดูมัวกว่าเดิม, ไฟภายในรถติด ๆ ดับ ๆ , ใช้เวลานานกว่าวิทยุจะติด หรือไฟเลี้ยวกระพริบช้ากว่าเดิมมาก ฯลฯ
- กรณีรถเป็นระบบกระจกไฟฟ้า (ซึ่งรถสมัยใหม่ก็เป็นแบบนี้หมด) เมื่อกดเปิด – ปิดกระจกจะพบว่าเลื่อนช้ากว่าปกติ
อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องเกิดทันทีหรือครบทุกอาการ บางครั้งเวลาใช้รถประจำวัน หากเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวไป ก็ควรรีบให้ช่างตรวจสอบแบตเตอรี่ทันที
วิธีจั๊มแบตด้วยตนเองที่ใคร ๆ ก็ทำได้
คราวนี้ก็มาถึงเรื่องหลักที่อยากจะให้ทุกคนได้รู้วิธีจั๊มแบตหรือการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์อย่างถูกต้อง ขอบอกเลยว่าขั้นตอนที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นการตอนการพ่วงแบตที่สามารถทำด้วยตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาช่างให้เสียเงินเพียงแค่ต้องระวังให้มากเท่านั้นเอง
- ขั้นตอนแรกทำการปิดระบบอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในรถให้หมด อาทิ ไฟหน้า, ไฟท้าย, ที่ปัดน้ำฝน, วิทยุ ฯลฯ เนื่องจากหากยังเปิดไว้กระแสไฟที่วิ่งอยู่อาจทำให้เกิดประกายไฟหรือแบตระเบิดเอาง่าย ๆ
- ใช้รถอีกคันที่แบตยังเต็มอยู่ให้เข้ามาจอดใกล้กับตัวรถสำหรับการต่อสายพ่วง ทำการดับเครื่องยนต์พร้อมปิดระบบไฟฟ้าของรถคันที่มาพ่วงให้หมดด้วยเหมือนกัน
- นำสายจั๊มขั้วบวก (สีแดง) ต่อเข้ากับขั้วบวกของรถคันแบตหมดก่อน จากนั้นค่อยไปต่อที่ขั้วบวกของคันที่มาช่วย แล้วนำสายจั๊มขั้วลบ (สีดำ) ให้หนีบกับขั้วลบของคันที่มาช่วย แล้วไปหนีบกับตัวโครงรถหรือส่วนที่เป็นโลหะของคันที่แบตหมด เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับแบต สำคัญมาก ๆ คือขั้วลบห้ามหนีบกับฝั่งขั้วลบของคันที่แบตหมดเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระเบิดได้
- เมื่อพ่วงตามที่บอกเรียบร้อยให้สตาร์ทรถคันที่มาช่วยไว้ประมาณ 2-3 นาที เร่งเครื่องนิดหน่อยเพื่อให้ประจุไฟฟ้าเกิดการไหลเวียน
- สตาร์ทเครื่องคันที่แบตหมดแล้วเร่งเครื่องให้ถึงประมาณ 2,000 รอบ/นาที เพื่อทดสอบว่าไฟฟ้าเข้ามายังแบตหรือไม่
- เมื่อรถสตาร์ทติดมีกำลังไฟแล้วให้ถอดสายจั๊มออก โดยเริ่มถอดจากสายสีดำที่หนีบกับโครงรถของคันที่แบตหมดก่อนตามด้วยขั้วลบคันที่มาช่วย จากนั้นถอดขั้วบวกคันที่มาช่วยปิดท้ายด้วยการถอดขั้วบวกคันที่แบตหมดออกเท่านี้ก็เรียบร้อย
สิ่งที่ต้องระวังในการ จั๊มแบต
เมื่อรู้วิธีจั๊มอย่างถูกต้องแล้วอีกสิ่งทีต้องรู้ด้วยคือข้อควรระวังเกี่ยวกับการจั๊มแบตจะมีอะไรบ้างมาดูกัน
- อย่าจั๊มผิดขั้วเพราะจะทำให้ระบบไฟฟ้าเสียหายและแบตอาจระเบิด
- อย่าให้รถยนต์ 2 คันสัมผัสกัน รวมถึงตัวคนทำก็อย่าสัมผัสกับโลหะของรถ
- เช็คให้เรียบร้อยว่าระบบไฟทุกส่วนของรถทั้ง 2 คันปิดหมดแล้ว
- ระยะของรถยนต์ 2 คันต้องอยู่ในระดับที่สายพ่วงต่อถึงพอดีแต่ไม่ชนกัน
ต้องบอกว่าเรื่องการจั๊มแบตเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้ขับขี่ทุก ๆ คน ดังนั้นการศึกษาวิธีเอาไว้นับเป็นเรื่องดี หากเกิดขึ้นกับตนเองจริง ๆ จะได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง