BLOGS

สิ่งที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

ภาษีรถยนต์คือสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องชำระให้กับรัฐบาลเป็นสิ่งที่จะต้องทำอย่างน้อยปีละครั้ง ไม่สามารถขาดได้เพราะจะมีระวางค่าปรับเพิ่มเติมให้ต้องชำระได้ และหากขาดการต่อภาษีติดต่อกันนาน 3 ปี เจ้าของรถก็จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกยกเลิกตามไปด้วย ซึ่งการขอทะเบียนรถยนต์ใหม่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกด้วย

ภาษีของรถยนต์จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่สามารถละเลยได้เลย โดยอัตราภาษีมีการกำหนดเอาไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกำหนดอัตราภาษีของรถยนต์จะพิจารณาตามความจุของกระบอกสูบ คิดเป็นหน่วยลูกบาศก์เมตร, ซีซี โดยมีอัตราภาษีตามขนาดของเครื่องยนต์ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คนดังต่อไปนี้

ความจุกระบอกสูบที่ 600 ซีซีแรก อัตราภาษีอยู่ที่ซีซีละ 0.50 บาท

ความจุของกระบอกสูบ 601 – 1,800 ซีซี อัตราภาษีคิดที่ซีซีละ 1.50 บาท

ความจุของกระบอกสูบมากกว่า 1,800 ซีซีขึ้นไป อัตราภาษีคำนวณที่ซีซีละ 4.00 บาท แต่หากเป็นรถยนต์ที่ซื้อในนามของนิติบุคคลจะจัดเก็บในอัตราที่กำหนดนี้เพิ่มเป็นสองเท่า

กรณีที่รถจดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีของรถยนต์ กรณีปีที่ 6 ได้รับการลดหย่อนภาษี 10% ปีที่ 7 จะได้รับการลดหย่อนภาษี 20% ปีที่ 8 ได้รับการลดหย่อนภาษี 30% ปีที่ 9 ได้รับการลดหย่อนภาษี 40% ส่วนทะเบียนรถยนต์ปีที่ 10 ขึ้นไป ได้รับการลดหย่อนภาษี 50% เงินภาษีที่จ่ายไปทางรัฐบาลจะนำไปสร้างและปรับปรุงถนนหนทางต่าง ๆ ต่อไป และในกรณีที่รถยนต์อายุมากกว่า 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนจะต้องนำรถไปตรวจสภาพด้วยหน่วยงานที่ทางรัฐให้การรับรอง

การยื่นเรื่องภาษีรถยนต์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก เจ้าของรถยนต์สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ โดยใช้เวลาไม่นาน แต่ก็จำเป็นต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่จำเป็นตามทางกรมขนส่งกำหนดเอาไว้ดังนี้

หนังสือแสดงทะเบียนรถยนต์

หรือหากไม่มีสามารถใช้ใบแทนได้ ทะเบียนรถยนต์เป็นเอกสารสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่ารถมีการขึ้นทะเบียนตั้งแต่เมื่อใด และจะมีการแสดงหลักฐานตรงตามป้ายทะเบียนรถยนต์ด้วยตัวเลขของถังรถยนต์ รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนจะต้องมีการขึ้นทะเบียน เพื่อแสดงว่าเป็นรถที่มีสิทธิ์วิ่งตามที่กฎหมายกำหนด

และหากรถมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างการติดตั้งระบบพลังงานเชื้อเพลิงเป็นแก๊สธรรมชาติ เจ้าของรถจะต้องมีการจดแจ้งในเอกสารทะเบียนด้วย หรือในกรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือเจ้าของจะต้องมีการระบุแก้ไขชื่อในทะเบียนรถทุกครั้ง ถือเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของรถต้องใช้แสดงสิทธิตามกฎหมายทุกประการเลยทีเดียว

หลักฐานการทำประกันภัยรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือประกันภัยภาคสมัครใจ และประกันภัยภาคบังคับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเอกสารหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการจ่ายภาษีของรถยนต์นั้นก็คือประกันภัยตาม พ.ร.บ. เจ้าของรถจึงควรต่อประกันตาม พ.ร.บ.อยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในเวลาที่เสียภาษีรถยนต์

ใบรับรองการตรวจสภาพรถ

เป็นหลักฐานการเสียภาษีของรถยนต์ที่จำเป็นต้องใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งเกิน 7 ที่นั่ง และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่ขึ้นทะเบียนรถยนต์มาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป รวมถึงรถจักรยานยนต์ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การตรวจสภาพรถยนต์นั้นจะต้องดำเนินการโดยกรมขนส่งหรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับการรับรองโดยกรมขนส่งซึ่งมีกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยในทุก ๆ ภูมิภาค

สามารถสังเกตได้จากป้าย ตรอ. ใช้เวลาในการตรวจสอบครั้งละประมาณ 1 – 2 นาที เมื่อตรวจสอบสภาพรถยนต์แล้วเสร็จยังสามารถขอจ่ายภาษีรถกับ ตรอ.ได้เลย แต่อาจมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม การตรวจสอบสภาพรถยนต์จำเป็นต้องใช้เอกสารทะเบียนรถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสภาพรถยนต์ดังนี้รถยนต์ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) ค่าบริการคันละ 200 บาท

กรณีรถยนต์ที่น้ำหนักเกิน 2 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) ค่าบริการคันละ 300 บาท และกรณีรถจักรยานยนต์ คิดค่าบริการคันละ 60 บาท
และในกรณีที่การตรวจสภาพรถไม่ผ่านมาตรฐานของกรมขนส่ง เจ้าของรถต้องนำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อยก่อนกลับมาตรวจสภาพรถยนต์ใหม่ และหากสามารถนำรถกลับมาตรวจสอบสภาพใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน จะคิดค่าบริการการตรวจสภาพรถเพียง 50% ของราคาค่าตรวจสภาพรถตามปกติ

แต่ไม่สามารถนำรถมาตรวจสภาพซ้ำใหม่ได้ภายใน 15 วัน จะคิดอัตราค่าบริการการตรวจสภาพรถตามอัตราปกติ แต่ในกรณีที่เป็นรถยนต์ที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพเชื้อเพลิงแล้วจะต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ควบที่ใช้ในการติดตั้งแก๊สธรรมชาติไปพร้อม ๆ กันด้วย

เมื่อเอกสารต่าง ๆ ถูกเตรียมการไว้พร้อมแล้ว เจ้าของรถก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ได้เลยทันที ซึ่งในปัจจุบันหากเจ้าของรถไม่สะดวกที่จะไปจ่ายภาษีกับกรมขนส่งก็สามารถยื่นเรืองผ่านที่ทำการไปรษณีย์ หรือห้างสรรพสินค้าที่อยู่ภายใต้โครงการ “ช็อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) ที่ให้บริการในวันเสาร์อาทิตย์ได้ หรือจะต่อภาษีผ่านระบบออนไลน์ของกรมขนส่ง (https://eservice.dlt.go.th) ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สะดวกและรวดเร็วเหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

ภาษีรถ รถยนต์คือสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องชำระให้กับรัฐบาลปีละครั้ง ไม่สามารถขาดได้เพราะจะมีระวางค่าปรับเพิ่มเติมให้ต้องชำระได้