ในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมามีการพูดถึง SMART CITY กันบ่อยครั้งผ่านทางสื่อต่าง ๆ ว่าเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหลายจังหวัดในประเทศไทย ให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ” โดยมีกระทรวง ICT หรือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เป็น “แม่งาน” ในการศึกษาจากเมือง SMART CITY ต้นแบบในประเทศต่าง ๆ
ทั้งนี้ ได้มีการคัดเลือก 7 จังหวัดในไทยที่จะเข้าสู่การเป็น “ต้นแบบ” หรือ “โครงการนำร่อง” สำหรับ SMART CITY นี้ ได้แก่ จังหวัดระยอง ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว ชลบุรี และกทม. ซึ่งความหมายที่แท้จริงของ SMART CITY ที่ทางการฯ ต้องการพัฒนาให้เป็นนั้น ต้องประกอบด้วยหลายส่วน คือ
1.การปรับโครงสร้างผังเมืองให้สอดรับกับการเป็นเมืองอัจฉริยะ
2.การให้ความสำคัญอย่างยิ่งในพลังงานสะอาด เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และคงทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ดีและยาวนานที่สุด
3.การใช้ระบบ IT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเมือง ได้แก่ การใช้ระบบ SMART GRID สำหรับเป็นเครือข่ายพลังงานแบบอัจฉริยะ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด และการดูแลความปลอดภัยในระบบการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ รวมถึงระบบการตรวจวัดสารพิษในสิ่งแวดล้อม และการกำกับควบคุมอาคารแบบอัจฉริยะเช่นกัน
ทั้งนี้ เรามีตัวอย่าง SMART CITY ในต่างประเทศที่โดดเด่น ได้แก่
เป็นเมืองที่มีความโดดเด่นในศูนย์ข้อมูล หรือ Data Hub ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสำหรับเปิดให้สาธารณะเข้าใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ได้ รวมถึงมีการใช้ระบบ MOTIONMAP สำหรับติดตามการเคลื่อนไหวคล้าย ระบบ GPS แต่ล้ำหน้ากว่ามาก เพราะมีความเป็นเรียลไทม์สูง สามารถดูตำแหน่งการเคลื่อนไหวทั้งของประชาชนและยานยนต์ได้ทันทีที่ต้องการ
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ Quick chat ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาการใช้บริการสาธารณะในชีวิตประจำวันด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาแก้ไขอย่างรวดเร็วที่สุด
เป็นเมืองที่เข้าโครงการ SMART CITY มาตั้งแต่ปี 2009 โดยภายในอัดแน่นคุณภาพความเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้วยมากกว่า 170 ชิ้นงาน/โครงการ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาที่มักพบในเมืองใหญ่ เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด การใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง ปัญหาด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้ มีโปรเจกต์ของอัมสเตอร์ดัมที่โด่งดังมาก คือ City-Zen ซึ่งมาจากไอเดียที่ต้องการให้สามารถใช้พลังงานจากแหล่งธรรมชาติได้เต็มศักยภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้ระดับพื้นดินลงไปหรือความร้อนใต้พิภพ ทั้งยังเน้นการจัดเก็บ Green Energy เหล่านั้น ให้คงอยู่หรือสำรองไว้ได้อีกยาวนาน สำหรับประชาชนเนเธอร์แลนด์ทุกคนในเมืองอัมสเตอร์ดัม
นอกจากนี้ ยังมีโปรเจกต์ Circle Amsterdam ที่สื่อถึงการรีไซเคิลสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของชาวเมือง ให้กลับมาเป็นประโยชน์อีกครั้งในรูปแบบที่ไม่เสียชื่อเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ การเปลี่ยนน้ำฝนธรรมชาติให้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ชาวเนเธอร์แลนด์นิยมอันดับต้น ๆ คือ เบียร์ หรือการออกแบบวัสดุของใช้ด้วยกราฟิกทันสมัย และนำสู่การปฏิบัติเป็นผลิตภัณฑ์รูปทรงใหม่แปลกตาที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ หรือ แปรประโยชน์เป็นสิ่งอื่น ๆ ง่ายขึ้น
เรียกว่าเป็นเมืองในฝันของหลาย ๆ คนเพราะอยู่ในทำเลภูมิประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียที่คนทั่วโลกชื่นชอบในธรรมชาติและอากาศที่บริสุทธิ์ โดย SMART CITY ที่กรุง Stockholm ทำเป็นต้นแบบนั้น โดดเด่นอย่างยิ่งในด้านระบบเครือข่ายไอทีที่มีชื่อว่า กรีน ไอที (Green IT) เนื่องจากใช้นวัตกรรมความรู้ทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรมในการออกแบบอาคาร เพื่อการปรับอุณหภูมิอัจฉริยะ
รวมถึงเน้นการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต ในการทำภาษีเพื่อให้เป็นสังคมใช้กระดาษน้อยหรือ paperless และแก้ปัญหาช่วยลดเวลายาวนานจากรถติดบนท้องถนน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี Stockholm’s E-service ที่เป็นบริการสำหรับยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทุกคนในเมืองสต็อกโฮล์ม เช่น การดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นพลเมืองกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก การสำรองที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคล และการออกใบอนุญาตต่าง ๆ จากทางการด้วยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีความล้ำสมัยกว่าที่อื่น ๆ
เป็นเมืองที่นอกจากจะมีนักเตะฟุตบอลสุดแกร่งฝีเท้าดีแล้ว ยังมี SMART CITY ที่เป็นต้นแบบที่ก้าวล้ำกว่าที่ใด โดยเฉพาะเมื่อ Barcelona ประกาศเป้าหมายจะเป็น Digital City เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนชาวเมืองได้รับบริการสาธารณะ และสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐฯ ได้อย่างโปร่งใสยิ่งขึ้น ด้วยระบบ Digital Transformation
ทั้งนี้ยังมีรองรับ ด้วยระบบ Ethical Mailbox เพื่อแก้ปัญหาอย่างครบวงจร คือ หลังการพบจุดน่าสงสัย หรือมีหลักฐานการทำทุจรติของเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือไม่ว่าประเด็นทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจ-สังคม ก็สามารถแจ้งทางช่องทางนี้ได้ โดยได้รับความคุ้มครองด้านความปลอดภัยอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ Barcelona ยังพัฒนา Digital Innovation เพื่อการควบคุมระบบการใช้น้ำภายในปาร์คสาธารณะต่าง ๆ เช่น เช็คว่าพืชที่ปลูกอยู่นั้นโซนใดต้องการปริมาณน้ำที่รดมากน้อยแค่ไหน ระดับความชื้น ความร้อนของสิ่งแวดล้อมขณะนั้นเป็นเช่นไร เป็นต้น
ที่สำคัญ ยังใช้นวัตกรรม IT ในการแก้ปัญหาจราจรอย่างมีศักยภาพ เช่น การเปลี่ยนสีสัญญาณไฟจราจรจากสีแดงให้เป็นไฟเขียวอย่างอัตโนมัติ กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนนที่จะมีการใช้ รถ Ambulance ขนส่งผู้บาดเจ็บผ่านตามสี่แยก-สามแยกต่าง ๆ ทำให้ลดอัตราการเสียจากชีวิตและความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดจากการนำส่งผู้ป่วยไม่ทันโรงพยาบาลได้อย่างมาก
SMART CITY ทั้งสี่เมือง เป็นต้นแบบที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ สำหรับคุณแล้วอยากเห็นเมือง smart city ทั้ง 7 แห่งในไทยเป็นสไตล์ไหนบ้าง? อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า SMART CITY จะเป็นแนวทางนำร่องที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการจัดการข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
ในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมามีการพูดถึง SMART CITY กันบ่อยครั้งว่าเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหลายจังหวัดในประเทศไทย ให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ”