BLOGS

ทางการเอาจริง! อัพเดต กฎหมายรถบรรทุก ข้อบังคับและบทลงโทษ

คุณต้องการให้ คาร์แทรค ช่วยเหลือเรื่องอะไร?

ฉันเป็น / ...
จำนวนยานพาหนะของคุณ
ขอบคุณค่ะ เจ้าหน้าที่คาร์แทรคจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
Oops! Something went wrong while submitting the form.

เก็บความรู้ กฎหมายรถบรรทุก สิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และโทษปรับ ที่ธุรกิจและคนใช้รถบรรทุก ไม่ควรพลาดจริงๆ

ตั้งแต่ช่วงปี 2561 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบก ที่ควบคุมดูแลกฎหมายขนส่งโดยตรง ได้ออกกฎหมายการขนส่งที่เข้มงวดกับการเดินรถมากขึ้น สำหรับ กฎหมายรถบรรทุก ก็มีมากมายหลายเรื่อง ซึ่ง คาร์แทรค ได้รวบรวมและสรุปเป็นหมวดหมู่ให้เข้าใจง่ายขึ้น

ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ

กระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงเรื่องส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เมื่่อปี พ.ศ. 2551 ที่ใช้มาถึงปัจจุบันไว้ดังนี้

  1. โครงสร้างและตัวถัง ที่แข็งแรง ปลอดภัย รองรับการทำงานขณะที่รถมีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก
  2. เครื่องกำเนิดพลังงาน ที่ขับเคลื่อนรถได้ขณะที่รถมีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก
  3. ระบบส่งกำลัง ส่งกำลังรถได้ขณะที่รถมีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก
  4. ระบบบังคับเลี้ยว
  5. ระบบห้ามล้อ ทั้งห้ามล้อหลัก และห้ามล้อขณะจอดแช่
  6. คันเร่ง
  7. ระบบรองรับน้ำหนัก
  8. ระบบเชื้อเพลิงหรือระบบพลังงานอื่น เช่น รถระบบแบตเตอรี่ไฟฟ้า
  9. ระบบไฟฟ้า
  10. ระบบไอเสีย
  11. กันชน
  12. ยาง
  13. กงล้อ
  14. บังโคลน
  15. ประตู
  16. กระจกกันลมหน้าและกระจกตรงตัวถังที่ต้องเป็นกระจกนิรภัย
  17. อุปกรณ์ลากจูง
  18. อุปกรณ์ต่อพ่วง (เฉพาะรถที่ใช้ลากจูงรถพ่วง)
  19. อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้า
  20. อุปกรณ์มองภาพ
  21. ที่บังแดดสำหรับผู้ขับรถ
  22. แตร
  23. มาตรวัดความเร็ว
  24. เข็มขัดนิรภัยและจุดยึด
  25. สัญญาณแสดงการทำงานของส่วนควบหรือระบบการทำงานของรถ
  26. ที่นั่งภายในห้องโดยสาร
  27. พนักพิง
  28. อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์สะท้อนแสงสัญญาณ

น้ำหนักรถบรรทุก

การกำหนดน้ำหนักรถบรรทุก กำหนดขึ้นเพื่อดูแลเส้นทางการจราจรใหญ่เล็กต่างๆ ตั้งแต่ถนนใหญ่ไปจนถึงตรอกซอกซอย ไม่ให้ผุพังหรือทรุดโทรมก่อนกำหนดจากการใช้รถ และช่วยควบคุมการใช้รถให้เหมาะสมเส้นทาง

ประเภทของรถบรรทุก กับ น้ำหนักบรรทุกรวม มีดังต่อไปนี้

รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ น้ำหนักบรรทุก 10 ล้อ รวมต้องไม่เกิน 25 ตัน หรือ 25,000 กิโลกรัม

รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ น้ำหนักบรรทุก 4 ล้อ รวมต้องไม่เกิน 9.5 ตัน หรือ 9,500 กิโลกรัม

รถบรรทุก 6 ล้อ น้ำหนักบรรทุก 6 ล้อ รวมต้องไม่เกิน 15 ตัน หรือ 15,000 กิโลกรัม

รถบรรทุก 12 ล้อ น้ำหนักบรรทุก 12 ล้อ รวมต้องไม่เกิน 30 ตัน หรือ 30,000 กิโลกรัม

กฎหมายรถบรรทุก ยังครอบคลุมไปถึงรถบรรทุกพ่วง หรือที่เราเรียกว่า รถพ่วงด้วย เช่น

รถพ่วง 24, 22, 20 ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 50.5 ตัน หรือ 50,500 กิโลกรัม รถพ่วงกลุ่มนี้บรรทุกได้มากกว่า 50.5 ตัน แต่เพดานน้ำหนักจำกัดให้ได้แค่สูงสุด 50.5 ตัน

รถพ่วง 18 ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 47 ตัน หรือ 47,000 กิโลกรัม

นอกจากนี้ยังมีรถกึ่งพ่วงด้วย

รถกึ่งพ่วงบรรทุก22ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวม ไม่เกิน 50.5 ตัน หรือ 50,500 กิโลกรัม

รถกึ่งพ่วงบรรทุก18ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวม ไม่เกิน 45 ตัน หรือ 45,000 กิโลกรัม

รถกึ่งพ่วงบรรทุก14ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวม ไม่เกิน 35 ตัน หรือ 35,000 กิโลกรัม

รถกึ่งพ่วงบรรทุก10ล้อ น้ำหนักบรรทุกรวม ไม่เกิน 26 ตัน หรือ 26,000 กิโลกรัม

สำหรับโทษของการฝ่าฝืนกฎหมายรถบรรทุก จะคิดในลักษณะอัตราทบทวี คือ จะเริ่มต้นการปรับที่ 1 หมื่นบาท จากนั้นจะทบเพิ่มเป็น 3 หมื่น และกำหนดโทษขั้นสูงสุด ที่ 1 แสนบาท

บทลงโทษนี้ครอบคลุมทุกห่วงโซ่ด้วย เพราะหากพบการฝ่าฝืนแอบลักลอบขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

นอกจากบริษัทที่รับผิดชอบการขนส่ง ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่ค้าของบริษัทขนส่ง ผู้ใช้บริการขนส่ง บริษัทที่เป็นปลายทางที่รถบรรทุกไปส่งสินค้าให้ ฯลฯ จะถูกเรียกปรับไปด้วย

เรียกได้ว่าโดนกันตั้งแต่ ผู้จ้าง ผู้บริการขนส่งรถบรรทุก และผู้รับปลายทาง เลยทีเดียว

อุปกรณ์ล็อกรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย

การล็อกรถคอนเทนเนอร์หรือตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยไม่ให้สิ่งของร่วงหล่น หรือรั่วไหลในกรณีที่เป็นของเหลว

เพราะการไม่ล็อกคอนเทนเนอร์ มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงการขับขี่ต่อตัวรถคอนเทนเนอร์เอง และผู้ขับขี่ร่วมเส้นทางคนอื่น เป็นปัญหาที่ทำให้ตัวเลขสถิติอุบัติภัยบนท้องถนนเพิ่มขึ้นในทุกปี

สำหรับบทลงโทษการไม่ใช้สลักตู้คอนเทนเนอร์ หรือทวิสล็อก (Twist-lock) ผู้ขับขี่มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท ขณะที่ผู้ประกอบการเจ้าของรถบรรทุก มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

คอนเทนเนอร์ล็อก-ไม่ล็อก ดูยังไง?

บริเวณอุปกรณ์สลักตู้คอนเทนเนอร์ หรือทวิสล็อก จะมีแผ่นสะท้อนแสงที่แสดงสถานะล็อก-ไม่ล็อก เพื่อให้ผู้ใช้รถร่วมเส้นทางได้สังเกตและระมัดระวังตัวเอง

หากอุปกรณ์สลักอยู่ในสถานะล็อก แผ่นสะท้อนแสงจะเป็นสีเหลืองหรือขาวตามแนวยาวของตัวรถ

แต่หากอุปกรณ์สลักอยู่ในสถานะไม่ล็อก แผ่นสะท้อนแสงจะเป็นสีแดงตามแนวยาวของตัวรถเช่นกัน

อุปกรณ์สะท้อนแสง แผ่นสะท้อนแสง

อุปกรณ์สะท้อนแสงและแผ่นสะท้อนแสง เป็นอุปกรณ์แสดงยานพาหนะบนท้องถนนในยามค่ำคืนที่สำคัญมาก

เนื่องจากสถิติตัวเลขจากอุบัติเหตุรถชนระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลกับรถบรรทุกสิ่งของขนาดใหญ่ พบว่า ระยะความยาวและความกว้างของรถบดบังวิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่หรือผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นๆ โดยเฉพาะการขับขี่ในเวลากลางคืน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หลายครั้งร้ายแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิต

ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงริเริ่มตั้งแต่ปี 2561 กำหนดให้ รถโดยสารและรถบรรทุก ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นตำแหน่งของรถในช่วงเวลากลางคืนหรือในสภาพที่มีแสงน้อย หรืออุปกรณ์สะท้อนแสงนั่นเอง

อุปกรณ์สะท้อนแสง แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  1. อุปกรณ์สะท้อนแสง มีสีแดงและสีเหลืองอำพัน ต้องมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืนในระยะไม่ต่ำกว่า 150 เมตร และติดตั้งที่ยานพาหนะโดยวัดความสูง 25-90 เซนติเมตรจากพื้น
    โดยอุปกรณ์สีแดงจะติดที่ท้ายรถ ส่วนสีเหลืองจะติดที่ด้านข้าง
  2. แผ่นสะท้อนแสง มีลักษณะเป็นแผ่นแถบยาวที่มีความกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร มีสีแดง เหลือง และขาว
    การติดตั้งต้องติดที่ยานพาหนะโดยวัดความสูง 25-150 เซนติเมตรจากพื้น
    โดยมีวิธีการติดพิเศษกว่าคือ การติดที่ท้ายรถจะติดสีแดงหรือเหลือง แต่ต้องติดเป็นแนวยาวรอบขอบทุกด้าน ส่วนการติดที่ด้านข้างติดสีเหลืองหรือขาว จะติดเป็นแนวยาวรอบขอบทุกด้านก็ได้ หรือติดเป็นแนวยาวเฉพาะขอบด้านล่าง อาจจะติดเพิ่มที่มุมด้านบนเพื่อแสดงระนะความสูงของรถก็ได้

ส่วนประเภทรถกับการติดตั้ง สำหรับรถโดยสารขนส่งบุคคล ให้ติดตั้งเฉพาะอุปกรณ์สะท้อนแสง

ส่วนรถบรรทุกทุกลักษณะต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสง และรถบรรทุกตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป ที่มีความกว้าง 2.1 เมตร หรือยาว 6 เมตรขึ้นไป จึงจะต้องติดแผ่นสะท้อนแสงเพิ่ม

ทั้งนี้ หากเป็นรถเก่าที่ยังไม่ได้ติดตั้งให้ถูกต้อง ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 มกราคม 2562

หรือหากติดตั้งแล้ว แต่สีสันของแถบป้ายฯ ยังไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขภายใน 1 มกราคม 2563 มิเช่นนั้นจะถูกโทษปรับโดยอ้างอิงกฎหมายรถบรรทุกส่วนพรบ. ขนส่งทางบก ปี พ.ศ. 2522 คือ โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

ติดตั้ง GPS รถบรรทุก

กรมการขนส่งทางบก กำหนดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ให้ รถโดยสาร รถลากจูง และรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไปต้องติดตั้ง GPS หรือระบบ GPS Tracking ติดตามรถ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการขับรถและการใช้ยานพาหนะกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมขนส่งฯ ได้แบบเรียลไทม์

ทั้งนี้ GPS รถบรรทุก จะช่วยเรื่องการติดตามพฤติกรรมการขับรถได้แบบละเอียดและแม่นยำ ซึ่งผู้ใช้รถและเจ้าของรถสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงการใช้รถ ซึ่งช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

โดยจากสถิติการร้องเรียนเหตุบนท้องถนนที่อุปกรณ์ GPS บันทึกได้ในเดือน พ.ค. 2565 พบครึ่งหนึ่งของการร้องเรียนเป็นเรื่องพฤติกรรมการขับขี่ที่เสียง

เช่น พนักงานขับรถใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีอาการมึนเมา ขับรถเร็ว ขับรถบนทางเท้า ออกนอกเส้นทาง ฯลฯ ที่นำมาซึ่งความเสียหาย ทั้งที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เหตุยังไม่เกิด

ดังนั้น การติด GPS รถบรรทุก จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่มีรถบรรทุก เพราะนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สินเเละสามารถติดตามการขนส่งของรถเเต่ละคัน

รวมถึงควบคุมและติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับได้เเล้ว ยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจมีข้อมูลการใช้รถไว้ควบคุมค่าใช้จ่ายการขนส่งหรือต้นทุนธุรกิจได้อีกด้วย

รับรองโดยกรมขนส่งฯ ต่อภาษีง่ายและสะดวก ต้อง GPS + DLT ของ CARTRACK ติดตั้งฟรี รับประกันตลอดอายุการใช้งาน เปลี่ยนคันรถได้ไม่ต้องทำสัญญาใหม่

โทรคุยกับเจ้าหน้าที่ 02-136-2929 หรือคลิกปุ่ม “ติดต่อเราฟรีที่นี่” เพื่อกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

เก็บความรู้ กฎหมายรถบรรทุก ข้อบังคับสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และลทลงโทษหรือโทษปรับ ที่เจ้าของธุรกิจและคนใช้รถบรรทุก ไม่ควรพลาดจริงๆ