ถึงแม้จะรับสมัครคนขับรถที่มีประสบการณ์เข้ามาทำงาน แต่คนขับรถแต่ละคนก็มีความรู้และทักษะการขับรถที่ไม่เท่ากัน การฝึกอบรมการขับรถ จึงเป็นหนึ่งในงานสำคัญที่บริษัทจะต้องทำ เพื่อสร้างมาตรฐานกติกาการขับขี่ให้เข้าใจตรงกัน และอบรมขับขี่ปลอดภัย
สำหรับบางบริษัท อาจมีพนักงานขับรถไม่กี่คน ทำให้การอบรมทำได้ง่ายและเสร็จอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับบางบริษัทที่มีคนขับรถจำนวนมาก หรือเป็นธุรกิจขนส่งเลย การฝึกอบรมพนักงานขับรถอาจเป็นงานใหญ่ หากไม่มีระบบหรือเครื่องมือที่ช่วยดูแลคนขับรถโดยตรง เช่น ระบบจัดการพาหนะ หรือ GPS ติดรถ
บทความคาร์แทรคตอนนี้ จะมาแนะนำเคล็ดลับหรือทริค ฝึกอบรมการขับรถ และปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่ ที่ไม่ว่าจะมีคนขับไม่กี่คนหรือเป็นพันคน ก็สามารถจัดการได้ง่ายในระดับที่ด้วยผู้จัดการหรือพนักงานคนเดียวก็ทำได้
พฤติกรรมการขับขี่ ตัวชี้วัดพนักงานขับรถที่สำคัญอันดับ 1
พฤติกรรมการขับขี่ที่เกิดขึ้นหลังพวงมาลัยของคนขับ มีทั้งลักษณะการขับขี่และพฤติกรรมส่วนตัวของคนขับ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเจตนาและธรรมชาติของคนคนนั้น หลายบริษัทใช้เรื่องนี้เป็น KPI พนักงานขับรถในการขับรถขนส่งอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้
ข้อมูลพฤติกรรมคนขับ เป็นข้อมูลที่บริษัทหรือผู้จัดการเรื่องรถควรเข้าใจอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลแสดงถึงความเสี่ยงการขับขี่และการใช้ยานพาหนะบนท้องถนนในแต่ละวัน รวมถึงปัจจัยการเกิดพฤติกรรมแต่ละอย่างได้ชัดเจนที่สุด
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่
ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อพฤติกรรมการขับรถที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคน มีดังนี้
- สิ่งรบกวน สิ่งภายนอกที่เข้ามาดึงความสนใจจากคนขับรถ สิ่งรบกวนที่มีผลและเกิดขึ้นมากที่สุดทุกวันนี้ คือ การใช้โทรศัพท์มือถือ
- ขับขี่ประมาท เช่น ใช้ความเร็วเกินกำหนด ขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง เปลี่ยนเลนถนนโดยไม่เปิดไฟสัญญาณ ฯลฯ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า นอกจากการหลับใน อาจทำให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์บนท้องถนนช้าลง นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้
- อายุและประสบการณ์ ผลการศึกษาจากหอสมุดการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ พบว่าอายุและประสบการณ์ของผู้ขับขี่มีผลต่อความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
โดยผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่าเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุรถชนมากกว่าผู้ขับขี่ที่อายุมากกว่า ซึ่งผู้ขับขี่ที่อายุมากกว่าในผลการศึกษา คือ มากกว่า 25 ปีขึ้นไป - อาการมึนเมา การเมาแล้วขับ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งคิดเป็น 50% ของสาเหตุทั้งหมด
แบบประเมินพนักงานขับรถ.. จุดคัดกรองที่ช่วยได้มาก
อย่างไรก็ดี การประเมินคนขับรถก่อนรับเข้าทำงานหรือเริ่มการทำงาน ช่วยให้บริษัทคัดกรองบุคลากรได้มากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
หรือแม้แต่เข้ามาทำแล้ว ก่อนจะเริ่มทำงานในแต่ละครั้งก็ยังสามารถใช้การประเมิน หรือกำหนด KPI พนักงานขับรถ เพื่อยืนยันความสามารถและความพร้อมของผู้ขับขี่ได้ โดยรูปแบบของแบบประเมินพนักงานขับรถที่สามารถนำมาวัดผลได้ เช่น
- แบบสอบถามพฤติกรรม เช่น ลักษณะการขับขี่ในแต่ละวัน จัดว่าดีหรือไม่ ให้คะแนนจาก 0 - 5 เป็นต้น
- ความคิดเห็นต่อกฎจราจรเพื่อความปลอดภัย เทคนิคในการขับรถให้ปลอดภัยมีหลักการอยู่กี่ข้อ เป็นต้น
- แบบทดสอบวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ขับขี่ ช่วยให้รู้พฤติกรรมของผู้ขับขี่เวลาเจอสถานการณ์คับขัน ลักษณะการทำงาน การจัดสรรงานและเวลา รวมถึงการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน
6 เคล็ดลับ ยกระดับการขับขี่และความปลอดภัย ที่ผู้จัดการคนเดียวเอาอยู่
- สร้างกติกาการขับขี่ปลอดภัย
การกำหนดทั้งมาตรฐานและเป้าหมายความปลอดภัยในการขับขี่ที่สูงขึ้น สิ่งนี้ควรเป็นข้อตกลงที่บริษัท ผู้จัดการ และคนขับรถ เข้าใจร่วมกันและทบทวนสม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน
- ตรวจสอบประวัติการขับขี่
ตรวจสอบประวัติการขับขี่ก่อนรับคนขับรถใหม่เข้าทำงาน เพราะประวัติการขับขี่ที่ผ่านมามีส่วนสะท้อนถึงพฤติกรรมการขับขี่ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
- ฝึกอบรมพนักงานขับรถ
วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย คือ การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการขับขี่ปลอดภัย รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงผลการขับขี่เสี่ยงอันตราย การใช้ความเร็วเกินกำหนด การสนใจสิ่งรบกวนเวลาขับขี่
- คอยกระตุ้นผู้ขับขี่
การฝึกอบรมการขับรถช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้คนขับขับขี่ปลอดภัยอยู่เสมอ แต่บริษัทยังสามารถใช้วิธีอื่นได้เช่นกัน เช่น การให้รางวัลผู้ขับขี่ที่ได้คะแนนการขับขี่ที่ดี
โดยคะแนนเหล่านี้สามารถให้ได้จากข้อมูลการขับขี่ที่บันทึกจากการขับขี่โดยตรง ผ่านระบบซอฟต์แวร์ หรือ ระบบจัดการยานพาหนะ (Fleet Management System)
ข้อมูลที่น่าสนใจและน่าแก้ไขเพื่อปรับปรุงต้นทุนธุรกิจได้ เช่น คนขับที่จอดแช่นานที่สุด คนขับขี่ที่ใช้ความเร็วเกินกำหนดมากที่สุด เป็นต้น
- บำรุงรักษาเครื่องยนต์
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์อาจไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับรถโดยตรง แต่สภาพเครื่องยนต์ที่พร้อมทำงานมากที่สุดดีต่อการขับขี่แน่นอน และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่ได้ด้วย
โดยบริษัทจะใช้วิธีตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์เองสม่ำเสมอก็ได้ แต่วิธีที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่สุด คือ การใช้ระบบจัดการยานพาหนะ ที่ตรวจสอบและบันทึกสภาพเครื่องยนต์แบบปัจจุบันหรือเรียลไทม์ (Real-Time)
ระบบนี้สามารถแจ้งเตือนหากเครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่ต้องส่งซ่อม หรือสามารถตั้งแจ้งเตือนระยะเวลาส่งซ่อมตามสภาพการใช้งานจริงหรือระยะเวลาที่ต้องการล่วงหน้า โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายตรวจสอบแบบสุ่มอยู่บ่อย ๆ
- ใช้ระบบจัดการยานพาหนะแบบเทเลเมติกส์ และกล่อง GPS ติดรถ
ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ระบบจัดการยานพาหนะแบบเทเลเมติกส์ และอุปกรณ์ GPS ติดตั้งที่ตัวรถ (ระบบเทเลเมติกส์ คืออะไร ต่างจาก GPS อย่างไร อ่านได้ที่นี่) ที่จะตรวจสอบสภาพรถ ณ ปัจจุบัน เก็บข้อมูลและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
ให้ผู้จัดการรถสามารถเรียกดู เพื่อใช้ปรับปรุงการใช้รถเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสียหาย และลดต้นทุนธุรกิจที่ช่วยเพิ่มกำไรต่อได้อีกด้วย
ระบบจัดการยานพาหนะแบบเทเลเมติกส์ ช่วยปรับปรุงการขับขี่ได้อย่างไร?
- มีรายงานพฤติกรรมผู้ขับขี่ เช่น การจอดแช่ การออกตัวกระชาก การใช้ความเร็วเกิน ประวัติการเดินทาง ฯลฯ
โดยรายงานเหล่านี้ส่งผลต่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิต สภาพรถ และที่สำคัญต้นทุนธุรกิจและการควบคุมต้นทุนด้วย
- แจ้งเตือนพฤติกรรมการขับขี่ให้ผู้ขับขี่รู้ทันทีและบันทึกเข้าสู่ระบบด้วย ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และใช้เป็นหลักฐานการขับขี่ปกป้องผู้ขับขี่และธุรกิจได้
- เพิ่มกล้องช่วยเตือนและบันทึกเหตุการณ์พร้อมข้อมูล เพื่อประโยชน์ของคนขับและธุรกิจได้ ขณะที่ระบบติดตามรถทั่วไปไม่รองรับกล้องที่ช่วยเตือนคนขับไว้ทำงานร่วมกัน
แต่ระบบจัดการยานพาหนะแบบเทเลเมติกส์ ทำได้ทั้งติดตาม บันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมถึงเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ เช่น กล้อง เซนเซอร์น้ำมัน เซนเซอร์อุณหภูมิ และเซนเซอร์ตรวจจับข้อมูลการใช้รถต่าง ๆ เป็นต้น
ขับขี่ปลอดภัย ไปกับระบบจัดการยานพาหนะและ GPS ติดรถ Cartrack
การยกระดับการขับขี่ปลอดภัยด้วยการปรับปรุงคนขับรถ เป็นงานสำคัญที่สามารถใช้เครื่องมือช่วยจัดการได้ ซึ่งเครื่องมือนั้นคือ ระบบจัดการยานพาหนะ นั่นเอง
ซึ่งระบบจัดการยานพาหนะประสิทธิภาพสูงของ Cartrack ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากในผู้ใช้งานจริงตั้งแต่เดือนแรก เพราะเรามีฟังก์ชันรองรับการใช้งานและติดตามยานพาหนะที่ครบ จบ ดูแลได้ในที่เดียว
- ลดต้นทุนค่าขนส่งจากการตรวจจับการขับขี่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ มาปรับปรุงได้ทันท่วงที
- ช่วยให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรได้ง่ายขึ้น
- ปกป้องคนขับด้วยระบบแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ เช่น การใช้ความเร็วเกินกำหนด การเข้าโค้งรุนแรง การจอดแช่ ฯลฯ
- มีรายงานสรุปตามระยะเวลาที่ต้องการ พร้อมคำแนะนำการขับขี่ที่เหมาะสมตามสภาพการขับขี่จริง 100%
อยากทราบข้อมูลระบบจัดการยานพาหนะ Cartrack หรือสนใจติด GPS รถ เพื่อใช้กับยานพาหนะในธุรกิจของคุณ ติดต่อได้ที่ 02-136-2920 , 02-136-2921 ในเวลาทำการช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30 - 17.30 น. หรือกรอกฟอร์มแสดงความประสงค์ทดลองใช้ฟรี พร้อมแจ้งชื่อ เบอร์ติดต่อ และจำนวนรถที่ต้องการติดตั้ง
สิทธิพิเศษเฉพาะสำหรับผู้อ่านบทความ Cartrack รับเลย!! โปรโมชันจ่าย 10 เดือน ใช้งานได้นาน 12 เดือน* ฟรีค่าอุปกรณ์และค่าติดตั้ง (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)
ติดตาม Cartrack (คาร์แทรค) เพิ่มเติมได้ที่
Facebook: Cartrack Thailand
Instagram: @cartrack.thailand
LINE: https://page.line.me/udi4517q?openQrModal=true หรือเข้าแอปฯ LINE เลือกเพิ่มเพื่อน เลือกค้นหา พิมพ์ @udi4517q ที่ ID และแอดเพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ทันที