4g lte คือ สัญญาณโทรศัพท์ตัวเดียวกันหรือเปล่า? เรามาดูกันว่ากูรูทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้เฉลยว่า 4g lte คือ อะไรกันแน่?
โลกยุคการสื่อสารในปัจจุบัน จะหันไปทางไหนใคร ๆ ก็ต้องใช้มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารทางเทคโนโลยีอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น สำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์ การขายสินค้าทาง INTERNET ส่งข้อมูลทางอีเมล์ แชทคุย หรือการเก็บข้อมูลบน “เมฆ” หรือ “Cloud” ซึ่งล้วนจำเป็นต้องอาศัยความรวดเร็วฉับไวจากระบบที่รองรับขั้นเทพ
ซึ่งปัจจุบัน หลายคนได้ยินคำว่าสัญญาณไวด้วยระบบ 4G หรือ ระบบ LTE กันมาบ้างจากสื่อโฆษณาต่าง ๆ แต่ก็อาจยังไม่ทราบว่าที่จริงแล้วคำทั้งสองนี้ มีความหมายสื่อถึงอะไร ทั้งยังมีหลายคนที่ข้องใจอยู่ว่า 4G LTE คือ สัญญาณโทรศัพท์ตัวเดียวกันหรือเปล่า? เรามาดูกันว่ากูรูทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้เฉลยว่า 4G LTE คือ อะไรกันแน่?
4G LTE คือ เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ ที่เกิดจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี IT ที่นับได้ว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อเทียบกับเมื่อประมาณ 15 – 20 ปีที่แล้ว ซึ่งนับว่า ขณะนั้นเป็นยุคการสื่อสารแบบ “ตำนาน” คือระบบ 1G หรือ ระบบ GPRS ที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า General Packet Radio Service ซึ่งมีความเร็วสูงสุด หรือ Max Speed ที่ 53.6 kbits ต่อวินาที ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ระยะ 2G หรือ เทคโนโลยี EDGE หรือ Enhanced Data Rated for GSM Evolution
ที่มีการขยับความเร็วขึ้นเป็น 4 เท่าของ 1G คือ มาเป็นที่ความเร็วสูงสุด 217.6 kbits ต่อวินาที ต่อมาก็ก้าวเข้าสู่ระยะที่สาม หรือ 3G (the third generation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า UMTS หรือ Universal Mobile Telecommunications System ที่อัพเกรดความแรงขึ้นมาเป็น 384 kbits ต่อวินาที
จนกระทั่งก้าวเข้ามาสู่ยุค 4G ที่เราคุ้นหูกันในปัจจุบัน ซึ่งหากเราสังเกตที่มุมจอด้านบนของโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารในมุมล่าง จะเห็นเป็นรูปเครื่องหมายโค้ง ๆ รับสัญญาณ พร้อมกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น H หรือ H+ นั่นก็แปลว่ากำลังรับสัญญาณเทคโนโลยี 4G อยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ ระบบ 4G ที่ปรากฏเป็น H หรือ H+ นั้น หากเป็นอีกชื่อหนึ่งที่เป็นภาษาเทคนิค ก็คือ ระบบเทคโนโลยี HSPA และ HSPA+ ตามลำดับ โดยย่อมาจากคำว่า High-Speed Packet Access ซึ่งปัจจุบันมีความเร็วในการส่งข้อมูล Download ข่าวสารได้ราว ๆ 42.2 Mbits ต่อวินาที ซึ่งเรียกได้ว่าสูงมาก และเพียงพอต่อการใช้ Internet ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป
สำหรับคนที่มีการเดินทางบ่อยข้ามประเทศ อาจสังเกตได้ว่าสัญญาณในไทย จะใช้คำที่ต่างจากต่างประเทศได้ เช่น ขึ้นว่า 4G ที่ไทย แต่ที่ต่างประเทศจะขึ้นว่า LTE แทน สาเหตุที่เป็นชั้นนั้น กูรูทาง Computer กล่าวว่าเป็นผลจากการตั้งชื่อ หรือ Setting ในระบบการสื่อสาร จึงไม่มีผลต่อการใช้งานเครื่องมือสื่อสารแต่อย่างใด
ดังนั้น สำหรับคนทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะคนไทยเราเกิดการจดจำจากการโฆษณาและได้ฟังตามสื่อต่าง ๆ จนติดปากชินหู ว่าระบบ 4G จึงเรียกได้ว่า 4G LTE คือ เทคโนโลยีตัวเดียวกัน ความเร็วในการใช้งานเครื่องมือสื่อสารทางเทคโนโลยีไม่มีความต่างกัน แต่หากให้ตอบตามหลักวิชาการเชิงลึกทางทฤษฎีแล้ว LTE จะเป็นเทคโนโลยีที่ “ล้ำเหนือกว่า” 4G ขึ้นไปเล็กน้อย โดย LTE ย่อมาจากคำว่า Long-Term Evolution ซึ่งแยกย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ เทคโนโลยี LTE-A และ เทคโนโลยี WiMAX
ซึ่งเทคโนโลยี LTE-A มีอีกชื่อว่า LTE-Advanced เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลที่ช่วง 100 – 1000 Mbps ต่อวินาที (ซึ่งสูงกว่า 4G แต่การใช้งานทั่วไป ใช้ความเร็วสูงสุดส่วนใหญ่ที่ 3G ก็เพียงพอแล้ว) โดยเครือข่ายโทรศัพท์ของไทยแบรนด์ AIS เป็นเจ้าแรกที่เปิดให้บริการด้วย การใช้คำว่า 4G Advanced นั่นเอง
ทั้งนี้ กูรูหลายท่านให้ทัศนะว่า 4G Advanced หรือ LTE-Advanced เทียบได้กับ 4.5G ยังไม่เข้าขั้นเป็น 5G ที่ต้องมีควรเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ไม่น้อยกว่า 450 Mbps ต่อวินาที ซึ่งหากเป็นคนที่ทำงานคลุกคลีในวงการทาง IT ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเป็นประจำของระบบ 5G หรือ 6G อย่างองค์การนาซ่า NASA (ระบบเทคโนโลยี 6G ต้องมีความเร็วในการดาวน์โหลดดาต้า ไม่ต่ำกว่า 10 Gbps ต่อวินาที) ก็จะบอกได้ถึงความแตกต่างและความจำเป็นที่ต้องใช้คลื่นความแรงขนาดที่มากกว่า การฉายรังสี X-ray ถึง 3,500 เท่า!
จึงกล่าวได้ว่า แม้ว่า 4G LTE คือ เทคโนโลยีตัวเดียวกันในทางปฏิบัติ (ของคนทั่วไป) แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันร้อยเปอร์เซ็นต์ในทางทฤษฎี!!! แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไปว่าสำหรับคนวัยเรียน-วัยทำงานที่ต้องใช้ INTERNET ในการดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลส่งอาจารย์ หรือสืบค้นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ การแชท การดาวน์โหลดหนังภาพยนตร์ หรือแม้แต่เล่นหุ้นผ่านระบบ Streaming ก็ไม่จำเป็นต้องเน้นความเร็วที่สูงมากถึงขั้น 5G อย่างแน่นอน!!
อย่างไรก็ตาม มีความกังวลใจอยู่บ้าง สำหรับคนทั่วไปที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสื่อสารที่มีความเร็วสูง ๆ ว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่? ประเด็นนี้ มีการเคลียร์ข้อสงสัยด้วยการเปรียบเทียบความแรงของรังสีในระบบ 6G ที่องค์การนาซ่าใช้ ว่าจะปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นหมันอย่างถาวรได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยเทียบตัวเลขความแรงไว้ว่าสำหรับผู้ชายจะอยู่ที่ 3.5 – 6 Gy ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ 2.5 -6 Gy ซึ่งเทียบได้กับการฉายรังสีเอ็กซ์เรย์ ที่จะได้รับรังสีที่ 0.0007 Gy
ส่วนการใช้เครื่องมือสื่อสารทั่วไปในระบบที่ต่ำกว่า 6G ยังไม่พบข้อมูลเด่นชัดนัก ว่าทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหมันหรือป่วยด้วยตัวคลื่นรังสี แต่พบว่ามักเกิดปัญหาโรคทางกล้ามเนื้ออักเสบ ตาแห้ง และการได้รับความร้อน จากการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ยาวนานเกินไปนั่นเอง
อย่าพลาดโอกาสในการทดลองใช้งาน GPS ฟรี กับ คาร์เเทรค : ทดลองใช้ฟรี !
4g lte คือ สัญญาณโทรศัพท์ตัวเดียวกันหรือเปล่า? เรามาดูกันว่ากูรูทางคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้เฉลยว่า 4g lte คือ อะไรกันแน่?