จากตัวเลขสถิติที่พบการทุจริตในการซื้อขายรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะรถมือสอง ที่มีการซื้อขายกันเอง โดยไม่ผ่านเต็นท์รถ และนิยมซื้อขายกันด้วยวิธีที่เรียกกันติดปากว่า ซื้อขายแบบโอนลอยโดยไม่ได้ตรวจสอบป้ายทะเบียนรถที่กรมการขนส่งฯ ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ทำให้พบว่ามีผู้รับซื้อรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ต่อจากผู้อื่น ได้รถมือสองมาแบบไม่มีป้ายทะเบียนรถที่ถูกต้อง หรือเป็นเจ้าของรถที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านโทษและการถูกปรับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ได้รับผลกระทบทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย
ดังนั้นกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม จึงได้ออกสื่อประชาสัมพันธ์กันอย่างมากในระยะหลัง ไม่ให้ทำการซื้อแบบโอนลอย เพื่อป้องกันปัญหาการไม่ได้ตรวจสอบป้ายทะเบียนรถ
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขับขี่รถยนต์-รถมอเตอร์ไซค์เอง อาจจะสงสัยความหมายของคำว่าโอนลอยว่า คืออะไร มีข้อเสียอย่างนี้ แล้วทำไมจึงนิยม? มาติดตามไปกับคาร์แทรค (Cartrack) ผู้ให้บริการรับติด GPS รถ สำหรับดูแลและติดตามความปลอดภัยให้รถกันเลย
การซื้อรถมือสองแบบโอนลอย เป็นการซื้อขายรถกันเอง โดยไม่ได้ผ่านการรองรับของสถาบันทางการจราจรหรือคมนาคม ส่วนใหญ่จ่ายกันเงินสด เพราะให้ความสะดวก คือ ผู้ขายรถก็ได้รับเงินจากผู้ซื้อเต็มจำนวนที่ตกลงกัน และผู้ซื้อก็ได้รับรถยนต์-รถมอเตอร์ไซค์มือสองไปให้
โดยที่ผู้ขาย จะเซ็นเอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นการมอบฉันทะต่าง ๆ ให้ผู้ซื้อรถมือสองไปดำเนินการทางกฎหมายด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเป็นภาระต่อผู้ขายอีก
ดังนั้นก็จะไม่มีการตรวจสอบป้ายทะเบียนรถที่ถูกต้องทางกฎหมาย จนกว่าผู้ที่ซื้อรถมือสองไปจะนำเอกสารในมือทั้งหมดไปขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งฯ ในภายหลัง
ดังที่เป็นข่าวดังพาดหัวตามสื่อต่าง ๆ เช่น กรณีศึกษาหนึ่ง เริ่มจาก นาย ก. ได้ขับรถไปจอดในปั๊มแก๊สแห่งหนึ่ง หลังจากเข้าไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อบริเวณปั๊ม ก็ได้ออกมาพบรถอีกคันหนึ่งจอดไม่ไกลกัน มีลักษณะภายนอก เช่น รุ่นรถ สีรถ และที่สำคัญคือ ป้ายทะเบียนรถ เหมือนกับรถของ นาย ก.
ซึ่งนาย ก. ได้จอดรถอยู่หน้ารถคันที่ดูคล้ายรถตัวเอง พบว่า น.ส. ข. เป็นผู้ขับขี่ ทั้งสองคนเมื่อได้คุยกันและได้เห็นรถยนต์ของอีกฝ่ายก็ตกใจ และตกลงใจที่จะให้กรมการขนส่งทางบกตรวจสอบข้อมูลให้
เพื่อตรวจสอบป้ายทะเบียนรถว่าคันไหนเป็นทะเบียนปลอม ซึ่งผลปรากฏว่า รถของ น.ส. ข. เป็นรถที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์การเสียภาษีรถยนต์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
โดย น.ส. ข. ยอมรับว่าเป็นไปได้ เพราะตนได้ซื้อรถผ่านทางคนรู้จักบอกต่อกันมา โดยไม่ทราบว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาสวมทะเบียนปลอม รวมถึงเอกสารต่าง ๆ จากผู้ที่ขายรถให้น.ส. ข. ก็มาจากการตั้งใจปลอมแปลงเอกสารทั้งหมด
ซึ่งกรณีเช่นนี้ ในส่วนที่ต้องดำเนินการต่อไป คือมอบให้กลายเป็นคดีที่ต้องมีการติดตามหาผู้กระทำความผิดทั้งโจรกรรมรถ (เพื่อมาจำหน่าย-ขายต่อ) ปลอมแปลงเอกสาร และตั้งใจสวมทะเบียนปลอมเพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อรถ (น.ส. ข.) เข้าใจว่าเป็นทะเบียนรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เกิดการเสียทรัพย์และเกิดผลเสียหายต่อจิตใจผู้ถูกกระทำ
จึงไม่น่าแปลกใจที่กรมการขนส่งทางบกจะมาแจ้งเตือนประชาชนให้ตัดสินใจให้ดี ถึงวิธีการเลือกซื้อรถมือสอง และควรตรวจสอบป้ายทะเบียนรถ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ ก่อนทำการตกลงซื้อขาย เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่โตที่ต้องแก้ไขภายหลัง ที่สำคัญเป็นปัญหาที่มีโทษทางกฎหมาย และทำให้ผู้ซื้อรถมือสองมานั้นเกิด “ทุกขลาภ” ตามมา
ทั้งนี้ การตรวจสอบป้ายทะเบียนรถของกรมการขนส่งฯ กระทรวงคมนาคมในปัจจุบัน ได้ผ่านการปรับปรุงระบบข้อมูล (DATA) และเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน หรือที่เรียกว่า ระบบ MDM ภายในกิจการงานขนส่ง ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันแบบเรียลไทม์ซึ่งเป็นการทำงานที่นิยมทั่วโลก สำหรับองค์กรของรัฐที่มุ่งเน้นการให้บริการด้วยความรวดเร็วทันสมัย
การตรวจสอบป้ายทะเบียนรถจึงเป็นสิ่งที่ทางการฯ ยืนยันว่าสามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว การซื้อรถมือสองจึงไม่ควรใช้วิธีโอนลอยอีกต่อไป
ขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบสภาพรถก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์-รถมอเตอร์ไซค์มือสองอย่างเป็น “มืออาชีพ” และแนะนำให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายมาติดต่อดำเนินการพร้อมกันที่กรมการขนส่งทางบก จะเป็นการป้องกันปัญหาจากการซื้อรถมือสองที่มีเลขทะเบียนไม่ถูกต้อง หรือทะเบียนปลอมได้
ทั้งนี้ อาจมีผู้สงสัยตั้งคำถามว่า ระบบ MDM ที่เป็น Real-Time ของกรมการขนส่งทางบก ในปัจจุบันมีความสมบูรณ์สำหรับการเช็กป้ายทะเบียนที่สงสัยว่ามีการจดทะเบียนรถไปแล้วหรือยัง ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ออกมายืนยันแล้วว่า
ในระบบฐานข้อมูลดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลทั่วประเทศที่มีการจดทะเบียนรถยนต์-รถมอเตอร์ไซค์ไปแล้วเรียบร้อย ยังมีการลงโปรแกรมเพื่อป้องกันไม่ให้มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ Log-In ใช้งานของฐานข้อมูล ทำการจดทะเบียนรถซ้ำซ้อนได้อีก
ดังนั้น หากตัดสินใจซื้อรถมือสองแล้วเลือกการโอนลอย จะทำให้ข้ามขั้นตอนการตรวจสอบป้ายทะเบียนรถด้วยวิธีล่าสุดของกรมการขนส่งฯ นี้ ดังนั้น ควร “จูงมือกัน” ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายมาติดต่อยังกรมการขนส่งด้วยตัวเอง เพื่อตรวจสอบป้ายทะเบียนรถ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจมีรถ รถมือสอง เต็นท์รถ รถเช่า ฯลฯ หากรถที่คุณมีการใช้งานยังไม่ได้ติดตั้ง GPS ติดรถ คาร์แทรค (Cartrack) ขอแนะนำให้คุณติดกันให้ไว เพื่อความปลอดภัยของรถในระยะยาว ดีกว่ารอเกิดเหตุกับรถแล้วค่อยป้องกัน เพราะการแก้ไขซ่อมแซมมักจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการป้องกันอย่างแน่นอน
ปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับโปรโมชัน GPS กรมการขนส่งทางบกให้การรับรองอย่าง Cartrack ได้ที่หมายเลข 02-136-2920 , 02-136-2921 หรือคลิก “ทดลองใช้ฟรี ” เพื่อกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด
ติดตาม Cartrack (คาร์แทรค) เพิ่มเติมได้ที่
Facebook: Cartrack Thailand
Instagram: @cartrack.thailand
LINE: https://page.line.me/udi4517q?openQrModal=true หรือเข้าแอปฯ LINE เลือกเพิ่มเพื่อน เลือกค้นหา พิมพ์ @udi4517q ที่ ID และแอดเพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ทันที
สิ่งที่ต้องทำก่อนซื้อรถมือสอง คือการตรวจสอบป้ายทะเบียนรถ กับกรมการขนส่งฯ แนะนำวิธี ซื้อรถมือสองอย่างไรไม่ให้โดนหลอก และ 1 ในสิ่งที่ควรต้องทำคือการติด GPS รถ